วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru <p> วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี รับตีพิมพ์บทความใน<strong>สาขาวิชามนุษยศาสตร์</strong> ภาษาและวรรณคดี ศิลปกรรม นาฏศิลป์และการแสดง และ<strong>สาขาวิชาสังคมศาสตร์</strong> นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการชุมชน</p> คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี th-TH วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2822-1249 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี</p> <p>- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี</p> <p>- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา</p> <p>- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)</p> การขยายตัวของรายได้และการเข้าสู่การบริโภคสินเชื่อในยุคดอกเบี้ยสูงของข้าราชการครูก่อนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/270200 <p>บทความนี้ต้องการอธิบายเงื่อนไขที่นำมาสู่ปัญหาหนี้สินกลุ่มข้าราชการครูในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของหนี้สินครัวเรือนที่ก่อปัญหาและดำเนินมาอย่างยาวนาน แต่ครูเป็นอาชีพที่ได้การเอาใจใส่สนับสนุนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและโครงการสินค้าสวัสดิการต่าง ๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนี้สินกลุ่มครูเป็นหนี้สินอันเกิดจากพฤติกรรมของครู แต่ไม่อาจมองข้ามได้ว่าหนี้สินเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากกลไกภายในระบบอาชีพที่สนับสนุนให้ครูมีโอกาสและความได้เปรียบในการบริโภคสินเชื่อของสถาบันการเงินได้สะดวก เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงและมีรายได้ที่แน่นอน ทำให้ข้าราชการครูเป็นอาชีพในฝันสำคัญสำหรับผู้ต้องการความมั่นคงจากการประกอบอาชีพ เพื่อรายได้ สวัสดิการ และโครงการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งอาชีพครูที่มีจำนวนอัตรามากและกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศ จึงได้รับการดูแลจากภาครัฐเมื่อเกิดปัญหาอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาหนี้สินครูจึงกลายเป็นสิ่งที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงเพื่อหาช่องทางการแก้ไขอยู่เสมอ การเข้าใจปฐมเหตุของที่มาของการก่อตัวของปัญหาหนี้สินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องศึกษา เพื่อนำมาสู่ความเข้าใจต่อปัญหาหนี้สินครูที่ไม่เคยจางหายไปจากการรับรู้ของสังคม</p> วัชรพล ยงวณิชย์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 B1 B15 การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล: แนวทางและความท้าทาย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/274357 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์ในการวิเคราะห์แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่การใช้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย สำรวจบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารที่เหมาะสมและมีคุณภาพในการนำเสนอคำสอนในสภาพแวดล้อมดิจิทัล รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนออนไลน์ เพื่อให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาดำเนินไปอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่าการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมการบริโภคข้อมูลที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน การใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล เช่น โซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน สามารถช่วยให้คำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าถึงได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจและมีคุณค่าก็มีผลในการดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย และเสริมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการปรับตัวสู่สภาพแวดล้อมดิจิทัลไม่เพียงเพิ่มความรู้จักในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความหมายและความสำคัญพระพุทธศาสนาต่อสังคมในยุคดิจิทัลอีกด้วย</p> มาโนชญ์ บุญมานิตย์ พระครูธรรมธร ไพบูลย์ พิศาลวชิโรภาส พระครูสมุทรวชิรานุวัตร ถิ่นกำเหนิด Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 B16 B27 นางชฎา: วรรณกรรมประชานิยมสู่การดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/273463 <p>นวนิยายประชานิยมแนวสยองขวัญ เป็นวรรณกรรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อสร้างความบันเทิงและมีจุดประสงค์หลัก คือ การเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากวรรณกรรมชั้นสูงที่มุ่งเน้นในการใช้ภาษาและโครงสร้างที่ซับซ้อน ส่งผลให้วรรณกรรมประชานิยมนั้นเป็นที่นิยมในกลุ่มสังคม จนก่อให้เกิดการผลิตซ้ำและดัดแปลงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ หากแต่ยังคงไว้ซึ่งชุดข้อมูลเดิม วรรณกรรมประชานิยมของ ภาคินัย เรื่อง “นางชฎา” ได้รับความนิยมจนได้มีการนำมาทำเป็นละครโทรทัศน์เรื่อง “นางชฎา” ซึ่งมีกระบวนการที่นำข้อมูลชุดเก่าและโครงสร้างจากวรรณกรรม มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอผ่านละครโทรทัศน์ มีสิ่งที่น่าสนใจในการนำศิลปะการแสดงในด้านนาฏศิลป์มาใช้ในการประกอบสร้างงานใหม่และตีความบริบทใหม่ โดยประเด็นศึกษา คือ 1) การดัดแปลงวรรณกรรมประชานิยมเรื่องนางชฎา สู่การแสดงนาฏศิลป์ในละครนางชฎา 2) การมอบอำนาจให้ผี โดยผ่านภาพลักษณ์ “นางรำ” ในวัฒนธรรมไทย นางรำเป็นตัวแทนของผู้หญิงที่มีความงดงามและอ่อนช้อย แต่เมื่อผีปรากฏในร่างนางรำ ความงดงามนั้นกลับมาพร้อมกับอำนาจที่ทรงพลัง การมอบอำนาจให้กับผีในร่างของนางรำเป็นการสะท้อนถึงอำนาจของเพศหญิงในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมไทย และ 3) คุณค่าของวรรณกรรมประชานิยมเรื่องนางชฎา สู่การดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าวรรณกรรมประชานิยมไม่ใช่เรื่องเล่าที่เน้นเฉพาะความบันเทิงเพื่อสร้างจินตนาการและอารมณ์สะเทือนใจ ขณะเดียวกันรูปแบบการแสดงออกทางนาฏศิลป์ยังคงอัตลักษณ์นั้นไว้ผ่านรูปแบบของผีนางรำ</p> สุริยา อินทจันท Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 B28 B40 การวิเคราะห์วัฒนธรรมภาพพิมพ์แกะไม้ของจีน เพื่อพัฒนาสู่ ตลาดศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/270053 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ของจีน เทคนิคการพิมพ์แบบดั้งเดิม และ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาพพิมพ์แกะไม้ของจีน เทคนิคการพิมพ์แบบดั้งเดิม และแนวโน้มของตลาดศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะภาพพิมพ์ไม้ของจีน เทคนิคดั้งเดิม คุณค่า และแนวโน้มของตลาดศิลปะ และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้ จำนวน 1 คน ช่างฝีมือแบบดั้งเดิม จำนวน 1 คน นักสะสมภาพพิมพ์แกะไม้ จำนวน 2 คน และผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาดของศิลปะภาพพิมพ์ไม้แบบดั้งเดิมของจีน จำนวน 7 คน โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาการสัมภาษณ์ ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ภาพพิมพ์แกะไม้ของจีนได้รวบรวมลักษณะรูปแบบทางศิลปะที่แตกต่างกัน ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นคุณลักษณะทางวัฒนธรรมของชาติ มีแนวโน้มทางการตลาดได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน ศิลปินจึงต้องผสมผสานความต้องการของการตลาดเข้ากับการสร้างสรรค์ของตนเองทั้งเนื้อหา และรูปแบบ และ 2) การผสมผสานระหว่างประเพณี และนวัตกรรม ในขณะที่ยังคงรักษาเทคนิคการพิมพ์ดั้งเดิมไว้ ศิลปินสามารถผสมผสานองค์ประกอบดั้งเดิมเข้ากับแนวคิดสุนทรียภาพสมัยใหม่ เพื่อการบูรณาการระหว่างประเพณีและความทันสมัย เทคนิคการพิมพ์แบบดั้งเดิม และแนวโน้มตลาดศิลปะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ขณะที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีไว้</p> หลิว ชูหยาง ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 A1 A13 การศึกษาลักษณะการใช้กลวิธีการแปลแบบเพิ่มเติม และการไม่แปลหรือละคำในการแปลคำ และกลุ่มคำทางวัฒนธรรมจีน ในหนังสือสีจิ้นผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/271992 <p>คำและกลุ่มคำทางวัฒนธรรมถือเป็นหนึ่งในความท้าทายของการแปล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้กลวิธีการแปลแบบเพิ่มเติม และการไม่แปลหรือละคำในการแปลคำ และกลุ่มคำทางวัฒนธรรมจีนในหนังสือ สีจิ้นผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 1 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมคำ และกลุ่มคำทางวัฒนธรรมจีนจำนวน 459 คำ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการใช้กลวิธีการแปลแบบเพิ่มเติมมี 38 คำ มีลักษณะดังนี้ 1) การเติมข้อมูลที่ถูกละไปของคำย่อในต้นฉบับ 2) การเติมองค์ประกอบตามไวยากรณ์ภาษาไทย และ 3) การเติมคำอธิบายเพิ่ม สำหรับกลวิธีการไม่แปลหรือละคำมี 32 คำ มีลักษณะดังนี้ 1) การตัดคำที่ใช้คู่กัน แต่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกันในภาษาไทย 2) การตัดคำอุปมาอุปไมย หรือคำแสดงอาการ และการกระทำของคำ และกลุ่มคำ 3) การตัดส่วนเสริม หรือคำที่แปลออกมาผิดไวยากรณ์ภาษาไทย และ 4) การตัดคำที่สามารถตีความหมายโดยการอ่านเนื้อความข้างหน้าได้ ทั้งนี้วัตถุประสงค์ปลายทางของผู้แปลในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่า เขาต้องการให้ผู้อ่านชาวไทยเข้าใจความหมายอย่างชัดเจน และรัดกุม รวมถึงช่วยให้ผู้อ่านชาวไทยเข้าใจภูมิหลังทางวัฒนธรรมจีนที่ผู้เขียนต้นฉบับต้องการสื่อให้ครบถ้วน</p> หลี่ ชุนลี่ จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 A14 A28 การออกแบบเครื่องเรือนจากเส้นพลาสติก โดยการประยุกต์ใช้ลวดลายหัตถกรรมจักสานพื้นบ้านอีสาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/270887 <p>การออกแบบเครื่องเรือนจากเส้นพลาสติก โดยการประยุกต์ใช้ลวดลายหัตถกรรมจักสานพื้นบ้านอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านอีสาน เพื่อออกแบบเครื่องเรือนจากเส้นพลาสติก โดยประยุกต์ใช้ลวดลายหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้านอีสาน และเพื่อประเมินความพึงพอใจจากการประยุกต์ใช้ลวดลายที่เหมาะสมในการออกแบบเครื่องเรือน พื้นที่ในการศึกษาลวดลายหัตถกรรมจักสาน คือ กลุ่มหัตถกรรมจักสานบ้านนาสะไมย์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร กลุ่มจักสานบ้านหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มจักสานเส้นพลาสติก ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมายด้านการออกแบบเครื่องเรือน ประกอบด้วยนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ 3 ท่าน ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง คือ ลวดลายจากหัตถกรรมเครื่องจักสานพื้นบ้าน จำนวน 9 ลวดลาย และรูปแบบเครื่องเรือนได้รับการออกแบบ จำนวน 6 รูปแบบ พบว่า ลวดลายที่เหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องเรือน จากค่าเฉลี่ยมากสุด คือ ลายดาวล้อมเดือน x̅=4.45 ลายหมากกระจับ x̅=4.39 และลายสามพัฒนา x̅=4.32 การออกแบบเครื่องเรือนจากการประยุกต์ใช้ลวดลายที่เหมาะสม ผลประเมินตามกรอบการวิจัย 4 ด้าน คือ ประโยชน์ใช้สอย โครงสร้างและความแข็งแรง รูปร่าง รูปทรง และลักษณะเฉพาะถิ่น มีค่าระดับความเหมาะสมมากที่สุด คือ รูปแบบที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวม x̅=4.53 และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านประโยชน์ใช้สอย x̅=4.48 ด้านโครงสร้างและความแข็งแรง x̅=4.46 ด้านรูปร่าง และรูปทรง x̅=4.40 ด้านลักษณะเฉพาะถิ่น x̅=4.45</p> ประทักษ์ คูณทอง Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 A29 A42 การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) ขององค์การภาครัฐไทย: การศึกษาผลกระทบต่อประสิทธิภาพ และความพึงพอใจในงาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/273036 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของการทำงานแบบผสมผสานขององค์การภาครัฐไทย และผลของการทำงานแบบผสมผสานมีผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากร และมีผลต่อประสิทธิภาพขององค์การ ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยกำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมพัฒนาที่ดิน สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรณีศึกษา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานทั้งสองรวมทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมอีกด้วย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัยและการสังเคราะห์ข้ามกรณีศึกษาผลการศึกษาพบว่า 1) การเตรียมความพร้อมของการทำงานแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 1.1) ผู้นำองค์การ 1.2) การปรับเปลี่ยนองค์การ 1.3) บุคลากรในทักษะการทำงาน 1.4) อุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัล และ 1.5) สถานที่ทำงาน 2) การทำงานแบบผสมผสานมีผลต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากร และ 3) การทำงานแบบผสมผสาน ทำให้ประหยัดงบประมาณ และเกิดความคุ้มค่าในทุกภารกิจ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพขององค์การ</p> พรรณวัสส์ โกศะโยดม กัญญาภัทร ปานหอมยา กาญจนพบู วุทธิเมธว์ เกื้อกอบ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 A43 A56 การตั้งชื่อวัดในพระพุทธศาสนากับความคิด ความเชื่อ และค่านิยม ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/273899 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและวิเคราะห์ความคิด ความเชื่อ และค่านิยม ที่ปรากฏในชื่อวัดในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 38 รายชื่อ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ที่มาของการตั้งชื่อวัดในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการแบ่งได้ 6 กลุ่ม คือ 1) การตั้งชื่อวัดตามชื่อตำบลหรือหมู่บ้าน พบมากที่สุด จำนวน 13 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 34.21 2) การตั้งชื่อวัดตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ พบจำนวน 9 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 23.68 3) การตั้งชื่อวัดตามบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวัด พบจำนวน 7 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 18.42 4) การตั้งชื่อวัดตามเหตุการณ์สำคัญ พบจำนวน 5 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 13.16 5) การตั้งชื่อวัดตามพืชพรรณธรรมชาติ พบจำนวน 3 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 7.90 และ 6) การตั้งชื่อวัดโดยเกี่ยวข้องกับชื่อภาษามอญ พบจำนวน 1 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.63 และชื่อวัดในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ยังแสดงให้เห็นความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของคนพระประแดง 5 ประการ ได้แก่ 1) การให้ความสำคัญกับสถานที่และสิ่งแวดล้อมโดยรอบวัด 2) ค่านิยมเรื่องการให้ความเคารพและให้เกียรติบุคคลสำคัญ 3) การให้ความสำคัญกับเหตุการณ์สำคัญของวัด 4) ความเชื่อ เรื่องพระพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องสวรรค์ และ 5) การให้ความสำคัญกับกลุ่มชาติพันธุ์มอญ</p> อนุสรา ศรีวิระ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 A57 A71 การศึกษาหลักการสร้างสรรค์รำคู่ของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/274049 <p>งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาหลักการสร้างสรรค์รำคู่ของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล และเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้การสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ไทยของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้หลักการสร้างสรรค์รำคู่ของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล ผลการวิจัยพบว่า หลักการสร้างสรรค์รำคู่ของรองศาสตราจารย์ผุสดี หลิมสกุล ได้ยึดหลักการสำคัญ 2 ประการ ในการสร้างสรรค์รำคู่ คือ การสืบทอดตามหลักจารีตนาฏศิลป์ไทยควบคู่กับการสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ไทย โดยมีแนวคิดพื้นฐานมาจากบทละครในวรรณกรรมที่มีบทการแสดงของ 2 ตัวละคร ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ โดยท่านได้นำทักษะประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการออกแบบทุกองค์ประกอบด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ ผสมผสานกับลักษณะพิเศษเฉพาะตนที่มีลีลาการรำตามแบบละครในที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จนเกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าในการรักษา สืบสานและต่อยอดสู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยบนพื้นฐานของหลักวิชาการ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยให้แก่นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นและส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่สร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ไทยที่อยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการทางด้านนาฏศิลป์ไทย</p> สุนันทา เกตุเหล็ก Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 A72 A85 สื่ออินโฟกราฟิกสำหรับการประชาสัมพันธ์วิถีเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสมุทรปราการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/272115 <p>หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบอินโฟกราฟิกจากการถอดบทเรียนเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสมุทรปราการ ประเด็น วิถีเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ โดยพัฒนาบทเรียนสู่การออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 8 หน้ายก 3 ยก (600x800 pixels) ลักษณะการออกแบบเป็นการ์ตูนเรื่องประกอบภาพ จากการทำงานแยกสวนโดยเรียบเรียงเนื้อเรื่อง แล้วจึงเขียนภาพประกอบ โดยมีคำบรรยายประกอบเนื้อเรื่องใช้การบรรยาย คาแรคเตอร์ตัวละครใช้แนวคิดจากตัวละครในการ์ตูนที่มีบทบาทเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ด ความพึงพอใจด้านการออกแบบของผู้ตอบแบบประเมินกลุ่มวัยทำงานยุค Millennial เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม Generation Y จำนวน 400 คน เป็นฐานผู้บริโภคสำคัญที่มีกำลังซื้อสูง ความสำคัญของตลาดกลุ่มนี้คือการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน และมีการบริโภคที่สะท้อนความเป็นท้องถิ่น ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 30 ปี จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 33 อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว จำนวน 148 คน คิดเป็น ร้อยละ 40.32 และมีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท จำนวน 177 คน คิดเป็นร้อยละ 48.22 ความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้านกราฟิก โดยรวมสีสันสวยงาม สะดุดตา พึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 4.02 สีง่ายต่อการจดจำ ค่าเฉลี่ย 3.98 สีเหมาะกับสื่อ ค่าเฉลี่ย 3.87 และสีตัดกันระหว่างภาพ และตัวอักษร ข้อความอ่านง่าย ค่าเฉลี่ย 3.85 อัตลักษณ์คาแรคเตอร์ พึงพอใจมาก ส่วนใหญ่เห็นว่าสื่อมีคาแรคเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ ค่าเฉลี่ย 4.08, คาแรคเตอร์จดจำง่าย ค่าเฉลี่ย 4.04 บ่งบอกความเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ ค่าเฉลี่ย 3.77 ข้อมูลในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำอธิบายชัดเจน เข้าใจง่าย ค่าเฉลี่ย 4.01 ข้อมูลรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจน ค่าเฉลี่ย 3.91 และความพึงพอใจภาพรวมต่อสื่อ ค่าเฉลี่ย 3.72</p> ณัฐกาญ ธีรบวรกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 7 3 A86 A100