https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/issue/feed วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2023-12-27T00:00:00+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสริน ดิษฐบรรจง [email protected] Open Journal Systems <p> วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี รับตีพิมพ์บทความใน<strong>สาขาวิชามนุษยศาสตร์</strong> ภาษาและวรรณคดี ศิลปกรรม นาฏศิลป์และการแสดง และ<strong>สาขาวิชาสังคมศาสตร์</strong> นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการชุมชน</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/266400 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี โดยเน้นความร่วมมือของชุมชน 2023-11-08T09:38:45+07:00 สุระพงษ์ สีหมอก [email protected] <p>บทความวิชาการนี้ต้องการที่จะนำเสนอให้เห็นว่าการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี โดยเน้นความร่วมมือของชุมชนเป็นไปได้อย่างไร แหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นที่สามารถเป็นองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ควรได้รับความร่วมมือจากชุมชน อาทิ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชน และเยาวชนในชุมชน ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของตนเอง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศาสนาและประเพณี เป็นด้านที่มีความสำคัญกับชุมชนอย่างมาก ซึ่งเป็นการประยุกต์หลักธรรมคำสอน ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี แบบแผนในการดำเนินชีวิตที่จะก่อให้เกิดความสันติสุขแก่ชุมชน ที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจากบรรพบุรุษ ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อชุมชนมีการปรับประยุกต์วัฒนธรรม ผสมกลมกลืนกับภูมิปัญญาท้องถิ่นย่อมจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและยังคงดำรงอยู่ซึ่งความถูกต้องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาและประเพณี จึงต้องมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีการบันทึกลำดับขั้นตอนในศาสนพิธีที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาให้ความถูกต้อง บันทึกเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชุมชน และมีการบริหารจัดการภายในชุมชนอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้มีความยั่งยืนแก่ชุมชนสืบไป</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/264441 กลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามภาษาจีนเป็นภาษาไทย ในนวนิยายแปล เรื่อง สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย 2023-09-25T16:51:37+07:00 สุธัญญา ปานทอง [email protected] ชุติกาญจน์ เหมสุวิมล [email protected] ประกายกานต์ นกน้อย [email protected] กมลชนก สิทธิโชคสถิต [email protected] <p>งานวิจัยเรื่องกลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามภาษาจีนเป็นภาษาไทยในนวนิยายแปลเรื่อง สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามภาษาจีนจากนวนิยายต้นฉบับภาษาจีน เรื่อง 三生三世, 枕上书 (上) ซึ่งแต่งโดย ถังชีกงจื่อ (唐七公子) และฉบับแปลภาษาไทยเรื่อง สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย แปลโดย หลินโหม่ว จำนวน 24 คำ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) การแปลตรงโดยถ่ายทอดเสียงหรือทับศัพท์ 2) การแปลตรงโดยถ่ายทอดความหมาย 3) การแปลโดยใช้คำอื่นทดแทนเพื่อขยายความหรือสื่อความหมายที่ชัดเจน และ 4) การแปลแบบละทิ้งความหมายของคำ โดยกลวิธีการแปลที่พบมากที่สุด คือ การแปลตรงโดยถ่ายทอดความหมาย ซึ่งการแปลตรงโดยการถ่ายทอดความหมาย จำเป็นต้องเลือกใช้คำแปลภาษาไทยให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสถานะของผู้สนทนา เนื่องจากภาษาไทยมีคำบุรุษสรรพนามให้เลือกใช้มากกว่าภาษาจีน และการเลือกใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยมีความแตกต่างกันตามสถานะของคู่สนทนา หากเลือกใช้คำแปลที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้การสื่อความหมายผิดพลาดได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีคำบุรุษสรรพนามจำนวนหนึ่งที่สามารถใช้กลวิธีการแปลมากกว่า 1 ประเภทได้ เพื่อให้บริบทมีความชัดเจน โดยไม่ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/265205 ตัวตลก ในละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน พลายบัวลักนางแว่นแก้ว 2023-09-07T14:53:21+07:00 พิษณุ กันภัย [email protected] ธีรภัทร์ ทองนิ่ม [email protected] จุลชาติ อรัณยะนาค ืี[email protected] <p>บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการแสดง และกระบวนท่ารำของ ป่อง-เป๋อ ในละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน พลายบัวลักนางแว่นแก้ว ผลการศึกษาพบว่า การแสดงตลกมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและได้รับการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน โดยปรากฏเด่นชัดอยู่ในการแสดงโขนและในการสวดคฤหัสถ์ ต่อมาได้นำการแสดงทั้งสองประเภทมารวมกัน และเรียกการแสดงนี้ว่า จำอวด ต่อมาคำว่าจำอวดกับการแสดงตลกได้ปะปนกัน อาจจะเรียกการแสดงจำอวด หรือการแสดงตลกก็ได้ ภายหลังการแสดงจำอวดหรือตลกได้สอดแทรกอยู่ในการแสดงละครเพื่อสร้างความขบขันให้กับผู้ชม ตลกที่ปรากฏในการแสดงละครที่เด่นชัดจะอยู่ในละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ด้วยเนื้อเรื่องมีความยาวและสามารถตัดตอนเป็นตอนสั้น ๆ ได้ สำหรับละครเสภาที่ปรากฏตัวตลกที่มีเอกลักษณ์เด่นชัดนั้น คือตอน พลายบัวลักนางแว่นแก้ว เนื่องด้วยในการแสดงตลกในตอนนี้จะมีลักษณะที่มีบทร้องและกระบวนท่ารำกำกับเฉพาะเอาไว้ โดยจะไม่เล่นแบบ “ลอยดอก”หมายถึง การด้นสดไม่กำหนดไว้ตายตัว เปลี่ยนไปได้ในการแสดงแต่ละครั้ง จึงทำให้ตัวตลกในละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/265721 คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2023-10-03T13:37:46+07:00 กิตติ กอบัวแก้ว [email protected] ประสิทธิ์ ภูสมมา [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตการทำงานมาเป็นข้อมูลในการสร้างแบบสอบถามและแนวคำถามเพื่อสนทนากลุ่ม มีความเชื่อมั่นที่ 0.96 นำไปใช้กับแรงงานเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบระดับมาก ใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2) การทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 3) ความเป็นประโยชน์ต่อสังคม 4) จังหวะชีวิต 5) ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน 6) โอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง 7) สิทธิส่วนบุคคล และ 8) สภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ พบว่า แรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต่างกันได้รับผลกระทบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ปัจจัยที่ใช้ในการพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงาน คือ ปัจจัยตัวบุคคล ปัจจัยพฤติกรรมองค์การ ปัจจัยการทำงานกลุ่มและปัจจัยด้านกฎหมาย และมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์อยู่ที่ร้อยละ 41.30</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/265707 การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์สักขาลาย กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ 2023-10-02T09:45:01+07:00 กมลวรรณ พงษ์กุล [email protected] ปณต นวลใส [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์สักขาลาย และออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ที่สะท้อนอัตลักษณ์สักขาลาย กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม จากการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์สักขาลาย กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ที่พบในตำบลโพน อำเภอคําม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถจำแนกอัตลักษณ์ได้ 2 ด้าน ได้แก่ อัตลักษณ์ปัจเจก และอัตลักษณ์ร่วม โดยอัตลักษณ์ปัจเจก คือ ลักษณะของลวดลายในการสักของแต่ละบุคคลมีความคล้ายและใกล้เคียงกัน มี 10 ลวดลาย ได้แก่ ลายมอ, ลายก้อนหิน ลายกรอบ ลายดอกบัว ลายดอกบัวเครือ ลายแข่วหมาตาย ลายใบมะขาม ลายคีมตัดหมาก ลายกากบาท และลายขีด ส่วนอัตลักษณ์ร่วม คือ มีรูปแบบและความเชื่อที่มีร่วมกันของผู้ถูกสัก คือ 1) รูปแบบของสักขาลาย เป็นการสักรอบต้นขาจนถึงหัวเข่า มีลักษณะคล้ายกางเกง 2) ความเชื่อในการสัก ได้แก่ การสักขาลายเป็นประเพณีนิยม การสักขาลายเป็นการแสดงถึงความเป็นกลุ่มเดียวกัน การสักขาลายเป็นการแสดงถึงความเป็นลูกผู้ชาย และการสักขาลายมีผลต่อการเลือกคูครอง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผู้บริโภค พบว่า ลวดลายที่นิยมนำมาประยุกต์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกมากที่สุด คือ 1) ลายมอม 2) ลายแข่วหมาตาย 3) ลายกรอบ 4) ลายก้อนหิน และ 5) ลายใบไม้ นอกจากนี้ผลความพึงพอใจโดยรวมของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ที่มีต่อเครื่องประดับที่ออกแบบ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.87)</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/266352 การเปรียบเทียบสำนวนไทยและสำนวนจีน ที่มีความหมายเหมือนกัน 2023-10-31T13:39:55+07:00 YING CHENG [email protected] <p>การศึกษาสำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำของสำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกัน 2) ศึกษาภาพสะท้อนสังคมทั้งสองประเทศจากสำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกัน ผู้วิจัยได้รวบรวมสำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกันรวม 103 คู่สำนวน ได้แก่ สำนวนไทย 103 สำนวน สำนวนจีน 103 สำนวน ผลการวิจัยพบว่า 1) สำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สำนวนที่ใช้คำเหมือนกัน และสำนวนที่ใช้คำแตกต่างกัน สำนวนที่ใช้คำแตกต่างกันแบ่งเป็น 15 ประเภท ได้แก่ สำนวนที่ใช้สัตว์ต่างชนิดกัน สำนวนไทยใช้สัตว์แต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนไทยใช้พืชแต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนที่ใช้อวัยวะต่างกัน สำนวนไทยใช้อวัยวะ แต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนที่ใช้คำเกี่ยวกับร่างกาย สำนวนไทยใช้คำเกี่ยวกับร่างกาย แต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนที่ใช้คู่คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน สำนวนที่ใช้สิ่งของเปรียบเทียบต่างกัน สำนวนที่ใช้คำเกี่ยวกับธรรมชาติต่างกัน สำนวนไทยใช้คำเกี่ยวกับธรรมชาติแต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนไทยใช้ผีแต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนที่ใช้กริยาและจำนวนต่างกัน สำนวนไทยใช้อาหาร แต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนอื่น ๆ 2) สำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกันดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงภาพสะท้อนสังคมในด้านสัตว์ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และศาสนา</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/265948 ปัญหาการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุ 2023-10-20T16:13:56+07:00 วระเดช ภาวัตเวติน [email protected] เด่นคุณ ธรรมนิตย์ชยุต [email protected] กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว [email protected] เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย [email protected] <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย เพื่อศึกษาบทบาทและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาและเสริมสร้างรูปแบบในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุ ผลการวิจัย พบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม รวมถึงกฎหมายลำดับรอง คือ พระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับกระทรวง ทบวง กรม และแผนงานในระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น หน่วยงานที่มีบทบาทในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ได้แก่ ส่วนกลาง คือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ส่วนท้องถิ่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากการศึกษาภาคทฤษฎีและการวิเคราะห์แบบสอบถามผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุ ดังนั้น รูปแบบที่เหมาะสมในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุนั้น ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับประชาชน (ผู้สูงอายุ) มากที่สุด ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าไปมีส่วนร่วมและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้สูงอายุ โดยมีการเจาะกลุ่มเป้าหมายตามเขตที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ รับผิดชอบ หรือให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เป็นรายบุคคลยิ่งเป็นการดี</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/265872 โครงการวิจัยศิลปะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มเกษตรกรบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ 2023-10-11T09:46:43+07:00 พัณณ์ภัสสร ภัทธภาสิทธิ์ [email protected] <p>การวิจัยนี้เป็นงานวิจัย พัฒนาและสร้างสรรค์ศิลปะสาธารณะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลชุมชนกลุ่มเกษตรกรบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะสาธารณะในพื้นที่ชุมชนกลุ่มเกษตรกรบางบ่อจากอัตลักษณ์ของชุมชนกลุ่มเกษตรกรบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเป็นแลนด์มาร์คส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของกลุ่มเกษตรกรบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อประเมินความพึงพอใจในศิลปะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มเกษตรกรบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจในศิลปะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผู้ให้ข้อมูลคือตัวแทนสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางบ่อ จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ลงรหัสข้อมูล บันทึกภาพ บันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยได้สรุปแนวคิดและรูปแบบในการสร้างสรรค์ศิลปะสาธารณะเป็นจิตรกรรมบนผนังแบบเหมือนจริง มีแนวความคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตกลุ่มเกษตรกรบางบ่อ การทำเกษตรประมงน้ำจืด ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูป และภาพร้านค้าจากเกษตรกรบางบ่อ สร้างสรรค์จิตรกรรมบนผนังบริเวณหน้าอาคารสำนักงานสหกรณ์การเกษตรบางบ่อจำนวน 3 ภาพ ผลการประเมินความพึงพอใจในศิลปะสาธารณะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จากตัวแทน 10 คน คือมีระดับความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด และพบว่ามีบุคคลทั่วไปได้มาถ่ายรูป สอบถาม และชื่นชมว่าสวยงาม สอดคล้องกับแนวทางการทำงานของศิลปะสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อสื่อสารให้กับประชาชนมีรูปแบบการติดตั้งแบบโต้ตอบเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและผู้รับชม ศิลปะสาธารณะภาพจิตรกรรมบนผนังแนวความคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตกลุ่มเกษตรกรบางบ่อนี้จึงสามารถเป็นจุดเช็คอิน และเป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/266672 การจัดการความรู้การแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยดินดำของวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2023-12-01T15:35:02+07:00 จันทนา อินทฉิม [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ ประสบการณ์การจัดการความรู้ของประชาชน เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้การแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยดินดำของวิสาหกิจชุมชน และ 3) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ในการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยดินดำของวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ รูปแบบของการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 436 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน รวมทั้งสิ้น 451 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน t-test, One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของประชาชน เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ของวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ คน กระบวนการจัดการ ผู้นำ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านผู้นำ อยู่ในระดับมาก และ 3) กระบวนการจัดการความรู้ในการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยดินดำของวิสาหกิจชุมชน เริ่มจาก การกำหนดความรู้ การแสวงหาหรือยึดกุมความรู้ การสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยน การจัดเก็บความรู้ การถ่ายทอดความรู้ และการนำความรู้ไปใช้</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/265757 รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนที่เน้นการมีส่วนร่วมในชุมชนกับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลปากคลองบางปลากด จังหวัดสมุทรปราการ 2023-10-20T16:03:52+07:00 ยุทธศักดิ์ ดีอร่าม [email protected] <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลปากคลองบางปลากด จังหวัดสมุทรปราการ ผลจากการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในชุมชนของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มีการกำหนดรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยไว้ชัดเจน 2) มีกระบวนการพูดคุยกันรับฟังเหตุผลของทั้งสองฝ่าย มีกระบวนการดำเนินการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร ผู้นำแบบทางการและไม่เป็นทางการ เข้ามามีส่วนร่วมให้มีการใช้ศักยภาพของชุมชนผ่านทางคณะกรรมการของศูนย์ไกล่เกลี่ยที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นคนกลางในการทำหน้าที่ในการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ และ 3) ตัวแทนของชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งผ่านการคัดเลือกเข้าไปเป็นตัวแทน เพราะการมีจิตสาธารณะ ความเสียสละ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน ข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้ 1) ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมทักษะให้ผู้นำชุมชนหรือผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้มีความรู้ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือภาครัฐส่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้ 2) ควรมีการศึกษาดูงานหน่วยงานด้านการไกล่เกลี่ย เช่น ศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาล สภาทนายความ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ประสบความสำเร็จเพื่อจะได้เทคนิคและองค์ความรู้ใหม่ ๆ นำมาใช้ 3) ควรให้ประชาชนทุกภาคส่วนของชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท เช่น เด็กและเยาวชนที่อยู่ในชุมชน และ 4) ภาครัฐควรส่งเสริมการจัดตั้งกฎระเบียบธรรมนูญหมู่บ้านโดยออกเป็นกฎหมายมารองรับ</p> 2023-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี