@article{เจริญราษฎร์_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={สถานการณ์การใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์ ในภาษามลายูถิ่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล}, volume={5}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/258673}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์ ในภาษามลายูถิ่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยพิจาณาจากการแปรศัพท์ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์ จำนวน 51 หน่วยอรรถ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ผู้บอกภาษา ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามระดับอายุ กลุ่มละ 10 คน รวมผู้บอกภาษา 30 คน ได้แก่ กลุ่มสูงอายุ กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มวัยเด็ก ผลการวิจัยพบว่า ผู้บอกภาษากลุ่มสูงอายุใช้ศัพท์เก่า คือ รูปแปรภาษามลายูถิ่นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การใช้ศัพท์เก่าร่วมกับศัพท์ใหม่ที่เป็นรูปแปรภาษาไทยถิ่นใต้ ผู้บอกภาษากลุ่มวัยกลางคนใช้ศัพท์เก่า คือ รูปแปรภาษามลายูถิ่นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การใช้ศัพท์เก่าร่วมกับศัพท์ใหม่ที่เป็นรูปแปรภาษาไทยถิ่นใต้ และผู้บอกภาษากลุ่มวัยเด็กใช้ศัพท์เก่า คือ รูปแปรภาษามลายูถิ่นมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การใช้ศัพท์เก่าร่วมกับศัพท์ใหม่ที่เป็นรูปแปรภาษาไทยมาตรฐาน กล่าวได้ว่าการใช้คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่ของมนุษย์ ในภาษามลายูถิ่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล เกิดการแปรศัพท์จากการสัมผัสภาษาถิ่น โดยความเข้มข้นของการสัมผัสภาษานี้มีปัจจัยทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง หากไม่มีนโยบายการธำรงภาษามลายูถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม อาจทำให้เกิดรูปแปรที่เป็นภาษาถิ่นในระหว่าง และภาษาถิ่นลูกผสมในพื้นที่พหุวัฒนธรรมขึ้นได้ในอนาคต</p>}, number={3}, journal={วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี}, author={เจริญราษฎร์ วาริด}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={82–94} }