@article{ยงวณิชย์_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={มนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์และองค์การ: วัฒนธรรมและสมดุลของการอยู่ร่วมกัน}, volume={5}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/258526}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมภายในองค์การ และนำเสนอแนวทางการพิจารณาของผู้บริหารและเจ้าของกิจการ เพื่อพิจารณาสมดุลของการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ภายในองค์การและการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์การ ผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงสภาพของความรู้สึกไม่มั่นคงของคนภายในองค์การ อันเนื่องมาจากข้อกังวลเกี่ยวกับสถานะของมนุษย์อันได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อทำหน้าที่ทดแทนมนุษย์ในการทำงาน แม้ว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านแรงงานและส่งเสริมความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนการทำงานของมนุษย์ ได้สร้างมุมมองให้กับผู้บริหารและเจ้าของกิจการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เพื่อทดแทนและลดจำนวนคนในองค์การลง เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันและลดต้นทุนต่อการใช้ทรัพยากรบุคคลลง หากแนวคิดลักษณะนี้ขยายตัวออกไปสู่สังคมมากขึ้น สุดท้ายย่อมนำมาสู่ปัญหาความไม่สมดุลของข้อถกเถียงระหว่างการใช้มนุษย์กับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในองค์การ อันจะนำมาสู่การพิจารณาที่ว่าองค์การยังจำเป็นต้องมีมนุษย์อยู่หรือไม่ มนุษย์จะดำรงอยู่ในองค์การบนสถานะอย่างไร เมื่อคุณค่าของมนุษย์ถูกแทนที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ทางออกสำคัญคือนำเสนอจุดสมดุลของทั้งสองส่วนร่วมกันเพื่อหาจุดร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมการดำรงอยู่ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย</p>}, number={3}, journal={วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี}, author={ยงวณิชย์ วัชรพล}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={133–146} }