@article{คิดประเสริฐ_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การศึกษาความแตกต่างของคำพ้องความหมายภาษาจีนในการสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) ระดับ 5}, volume={5}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/253460}, abstractNote={<p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะความแตกต่างด้านความหมาย ไวยากรณ์และการนำไปใช้ของคำพ้องความหมายภาษาจีนในการสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) ระดับ 5 โดยศึกษาเฉพาะคำนามคำกริยาคำคุณศัพท์และคำวิเศษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างด้านความหมายของคำพ้องความหมายแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) การเน้นความหมายแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ (1) เน้นความหมายไปทางตรงข้าม (2) ความหมายเน้นของคำหนึ่งครอบคลุมอีกคำหนึ่ง (3) หน่วยคำต่างกันการเน้นความหมายต่างกัน 2) ระดับความหมายแตกต่างกัน 3) ขอบเขตของความหมายแตกต่างกัน 4) การประยุกต์ใช้ความหมายต่างกัน และ 5) รายการความหมายแตกต่างกันความแตกต่างด้านไวยากรณ์ สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) แตกต่างด้านคุณสมบัติทางไวยากรณ์ แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ (1) ชนิดและหน้าที่ของคำ (2) การซ้ำคำ 2) การรวมตัวและการกระจายตัวของคำในประโยค แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ (1) ส่วนหน้าและส่วนหลังของคำพ้องแตกต่างกัน (2) ตำแหน่งของคำพ้องในประโยคต่างกัน และ 3) รูปประโยคที่ปรากฏต่างกันความแตกต่างด้านการนำไปใช้สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) รูปแบบภาษาต่างกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ (1.1) ภาษาพูดหรือภาษาเขียน (1.2) โอกาสที่นำไปใช้แตกต่างกัน (2) สีสันด้านอารมณ์ความรู้สึกต่างกัน ได้แก่ ความหมายบวก ความหมายลบหรือแฝงความหมายที่แสดงความรู้สึกเคารพนับถือ ทั้งนี้คำพ้องแต่ละคำมีความแตกต่างหลายด้านรวมกัน ดังนั้น การวิเคราะห์ความแตกต่างของคำพ้องควรวิเคราะห์ด้านต่าง ๆ ร่วมกัน    </p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี}, author={คิดประเสริฐ ชนิชา}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={35–50} }