@article{พรหมศิริ_กิ่งตระการ_ประศาสน์ศิลป์_2021, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่นชุมชนมอญบางเหี้ย เพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน}, volume={4}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/human_dru/article/view/252432}, abstractNote={<p>เรือนพื้นถิ่นถือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงรากเหง้าทางภูมิวัฒนธรรม บ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลา และบริบทที่แตกต่างกันนั้น สามารถสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องบันทึกเรื่องราวจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ่านงานช่างสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วยเหตุและหลักที่คำถึงการใช้สอยและการดำรงชีวิตของผู้อาศัยผนวกเข้ากับความเชื่อของท้องถิ่นที่ถูกผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เรือนพื้นถิ่นชุมชนมอญบางเหี้ย ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันคงเหลืออยู่จำนวนไม่มาก เพียง 3-4 หลังคาเรือน แต่กลับแสดงลักษณะแสดงเฉพาะตัวของเรือนได้ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยผู้วิจัย พบว่า เป็นเรือนไทยไม้ริมน้ำยกใต้ถุนสูง สร้างเป็นเรือนแฝด 2 หลัง ภายในประกอบไปด้วยวิถีที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมระหว่าง จีน ไทย มอญ ที่ทรงคุณค่าภายในอาคาร ภายนอกอาคารส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลา การซ่อมบำรุงใช้ทุนทรัพย์สูง นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป เรือนพื้นถิ่นแบบเดิมจึงไม่สามารถตอบสนองความเป็นอยู่แบบใหม่ได้ ทำให้ทายาทปัจจุบันต้องมีการปรับพื้นที่ให้ตอบสนองความต้องการที่มากขึ้น เรือนเดิมจึงถูกทิ้งไว้เป็นเพียงแค่มรดกตกทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมและภูมิปัญญา จึงนำไปสู่แนวคิดในการออกแบบเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม มอญ จีน ไทย ซึ่งแสดงความพหุวัฒนธรรมของท้องถิ่น และบูรณาการกับการมีส่วนร่วมของชุมชน</p>}, number={3}, journal={วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี}, author={พรหมศิริ อานนท์ and กิ่งตระการ ณัฐวุฒิ and ประศาสน์ศิลป์ ณภัทร}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={126–137} }