วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01 <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์</strong><br /><strong>ISSN 2821-9635 (Online)</strong></p> <p> </p> สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ th-TH วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2821-9635 <p>ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความในวารสารนี้ไปเพื่อการค้าหากำไร&nbsp;</p> ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกตั้งสมาชิกสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน ประจำปี พ.ศ. 2565 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/273188 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกตั้งสมาชิกสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน ประชากร คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 - ปีที่ 4 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พื้นที่นามน จำนวน 2,360 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่าง จำนวน 342 คน ใช้แบบสอบถามและเก็บข้อมูลโดยใช้ Google form สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็น เพศหญิง 231 คน คิดเป็นร้อยละ 66 มีอายุระหว่าง 18 - 24 ปี 312 คน คิดเป็นร้อยละ 89.14 กำลังศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ 143 คน คิดเป็นร้อยละ 40.86 และกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 48 ภาพรวมปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.16) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านนโยบาย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=3.17) นโยบายควรมีความน่าเชื่อถือและมีความชัดเจน มีประโยชน์ต่อนักศึกษาและสถาบัน ข้อเสนอแนะ ควรให้ความสำคัญกับวิธีการหาเสียง การประชาสัมพันธ์ในการเลือกตั้ง ใช้โซเชียลมีเดียในการหาเสียง ลงพื้นที่เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเสนอให้มีการเลือกตั้งแบบออนไลน์</p> กิตติยา คงชู สิรินดา กมลเขต อธิพงษ์ ภูมีแสง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-18 2024-11-18 3 2 179 190 การศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลก ออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/268859 <p>การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพผู้ให้ข้อมูลหลัก ครูสังกัดสำนักงานคณะกรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ด้านทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยเก็บข้อมูลในขอบเขต 5 มิติ ได้แก่ บทบาท (role) อารมณ์ความรู้สึก (emotion) การรับรู้ (perception) เจตคติ (attitude) และพฤติกรรม (behaviors) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา 1. ความต้องการจำเป็นของครูเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ด้านทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ พบว่า มีความต้องการสื่อออนไลน์เน้นให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ สถานการณ์จริง และเครื่องมือวัด ประเมินการรับรู้และรับมือการคุกคามทางโลกออนไลน์ของนักเรียน 2. ประสบการณ์ของผู้ใช้เกี่ยวกับการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล ด้านทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ ทั้ง 5 มิติ พบว่า 1) มิติบทบาท ครูจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือและสอดแทรกข่าวเหตุการณ์ และออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ตามเนื้อหาในหนังสือเรียน 2) มิติอารมณ์ความรู้สึก ครูรู้สึกว่าตนเองขาดความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่ถูกคุกคามทางโลกออนไลน์ที่ถูกต้องและถูกวิธี 3) มิติการรับรู้ ครูมีความเห็นว่าการประเมินทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ค่อนข้างมีความซับซ้อน ต้องการแบบประเมินทักษะที่วัดทักษะได้ง่าย 4) มิติเจตคติ ครูมีความคิดเห็นว่า การส่งเสริมทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความรู้แก่นักเรียน โดยใช้ประสบการณ์ของนักเรียน คนรู้จัก หรือจากข่าวมาเรียนรู้ร่วมกันรับมือและป้องกันภัยอย่างถูกวิธี และ 5) มิติพฤติกรรม ครูต้องการชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และนำไปใช้ได้จริงในชีวิต</p> อมรา ไกยฝ่าย อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ วิศรุต พยุงเกียรติคุณ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 3 2 1 11 10.14456/hsi.2024.13 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การออกแบบและแก้ไขปัญหาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/269293 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การออกแบบและแก้ไขปัญหาด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีหน่วยเลือกเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล <strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิงที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.96, SD = 0.21) 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 90.00/ 80.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 3) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 0.61 หรือร้อยละ 61 แสดงถึงความก้าวหน้า ในการเรียนรู้สูง และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.62, SD = 0.50)</p> อโนชา คนกล้า อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 3 2 12 23 10.14456/hsi.2024.14 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง ตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/269294 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง การแบ่งปันข้อมูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยหน่วยเลือกเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินชิ้นงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียน อีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 90.00/85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 0.63 หรือ ร้อยละ 63 ส่งผลต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้สูง และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> นัยนา สร้อยชมภู อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 3 2 24 34 10.14456/hsi.2024.15 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง ตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง อาชีพในยุคดิจิทัล สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/269292 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง อาชีพในยุคดิจิทัล สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนอีเลิร์นนิง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอีเลิร์นนิงตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง อาชีพในยุคดิจิทัล สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_jvn&amp;space;\bar{x}" />= 4.19, S.D. = 0.56) 2) ประสิทธิภาพของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 83.00/ 85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 3) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนอีเลิร์นนิง มีค่าเท่ากับ 0.73 หรือ ร้อยละ 73 โดยรวมอยู่ในระดับความก้าวหน้าในการเรียนรู้สูง และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\fn_jvn&amp;space;\bar{x}" />= 4.52, S.D. = 0.51)</p> ลลิตา มะละกา อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 3 2 35 47 10.14456/hsi.2024.16 การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการรับรู้ตนเองทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/261620 <p>การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ตนเอง ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 143 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่องสถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน แต่ละแผนใช้เวลา 50 นาที 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 15 ข้อ และ 3) แบบทดสอบแบบวัดการรับรู้ตนเอง ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบทดสอบอัตนัย 15 ข้อ วิเคราะห์แบบทดสอบโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test Dependent Sample Group) การวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 74.24/75.87 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สถิติพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ 5Es ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3) ความสามารถในการรับรู้ตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับกระบวนการ 5Es ภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 73.61 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการแก้ปัญหาพื้นฐานสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 82.98 รองลงมาคือ ด้านการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 76.46 และด้านการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน คิดเป็นร้อยละ 66.08 ตามลำดับ</p> อนุพงศ์ สิงห์อำ ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว ภูชิต ภูชำนิ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 3 2 48 59 10.14456/hsi.2024.17 การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/270542 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 386 คน ในการเก็บข้อมูลจะใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า 1) การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.84,S.D.=0.610) เมื่อพิจารณารายด้าน พบด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.03,S.D.= 0.863) รองลงมาคือ ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.92,S.D.= 0.612) และด้านแผนพัฒนาหมู่บ้านและสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.86,S.D.= 0.685) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.74,S.D.= 0.778) 2) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า ด้านเพศ และด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่าง ด้านกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 30-50 ปี แตกต่างกับกลุ่มที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน ด้านการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน ด้านส่งเสริม เศรษฐกิจ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุขไม่แตกต่างกับการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางส่งเสริมในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน มีดังนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการอบรมและพัฒนาบุคลากร คำปรึกษาในการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ และข้อบังคับจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจัดหากองทุนสนับสนุนในการประกอบอาชีพภายในหมู่บ้านแปรรูปสู่ตลาดสากล และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชมรมด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น</p> <p> </p> <p> </p> ดนัย ลามคำ ทินวุฒิ ท้าวเนาว์ วนิศักดิ์ ภูดีทิพย์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 3 2 60 74 10.14456/hsi.2024.18 แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/269453 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 44 คนและครูผู้สอนระดับปฐมวัยจำนวน 152 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 196 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านจำนวน 8 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวม เท่ากับ 0.064 โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ (1) ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ (2) ด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ และ (3) ด้านคุณภาพของเด็ก และ 3) แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ด้านคุณภาพของเด็ก จำนวน 21 แนวทาง ด้านการบริหารและการจัดการ จำนวน 6 แนวทาง และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จำนวน 5 แนวทาง</p> ทิพยรัตน์ อาสนาทิพย์ ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน สุพจน์ ดวงเนตร Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-02 2024-07-02 3 2 96 106 10.14456/hsi.2024.20 การวางแผนการตลาดดิจิทัลเพื่อการส่งเสริมการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/271038 <p>การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด - 19 ที่มีต่อผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย 2) วางแผนการตลาดดิจิทัลในการส่งเสริมการตลาดสำหรับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยพบว่า ผู้ประกอบการในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านวิถีชีวิต ด้านวัฒนธรรมและจารีตประเพณี ด้านชุมชนและความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการปรับตัวและการสร้างความเข้มแข็ง จากผลกระทบดังกล่าวผู้ประกอบการจึงได้มีการวางแผนการตลาดดิจิทัลในการส่งเสริมการตลาด โดยเน้นหลักการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งสามารถใช้การตลาดดิจิทัลในการส่งเสริมการตลาดได้ ดังนี้ 1) ขั้นตอนการรับรู้ ใช้ช่องทางดิจิทัล เช่น content marketing, online PR, social media และ influencer โดยสร้าง content และโฆษณาเพื่อเพิ่มการรับรู้ 2) ขั้นตอนการเปรียบเทียบและการประเมิน โดยใช้ content marketing, influencer, online PR, social media และ website และต้องสร้าง content ที่มีอิทธิพลทางบวกให้กับลูกค้า เพื่อช่วยในการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับคู่แข่งขันแต่ละรายได้ 3) ขั้นตอนการซื้อ โดยใช้ website, e-marketplace, super app และการชำระเงินผ่านระบบ payment gateway หรือมีการบริการชำระเงินออนไลน์ ผ่านบัตรเครดิต/เดบิต 4) การใช้ประสบการณ์ โดยใช้ social media เป็นพื้นที่ในการแชร์ประสบการณ์ต่าง ๆ ช่วยให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ 5) การสร้างความภักดี โดยใช้ e-mail marketing, social media และ influencer เพื่อสร้างความภักดีต่อสินค้าและบริการ ตลอดจนการใช้กลยุทธ์ 4 P’s และ 4 C’s เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าเกิดทัศนคติที่ดีต่อสินค้าหรือบริการและทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้</p> <p> </p> <p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1"></a></p> รัตติกาญจน์ ภูษิต Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-15 2024-07-15 3 2 107 122 10.14456/hsi.2024.21 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/268736 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ สืบเสาะหาความรู้ (5E) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านดงโทน จำนวน 5 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสสาร มีความเหมาะสมมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.83) 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 37.00) สูงกว่าก่อนเรียน (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=18.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.92)</p> เอกลักษณ์ ราชไรกิจ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-15 2024-07-15 3 2 123 134 10.14456/hsi.2024.22 บทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรปราการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/270789 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิบัติงานภายใต้บทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2563 จำนวน 383 คน ในการเก็บข้อมูลจะใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1) การปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ในการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรปราการ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =3.73, S.D.=0.76) 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานภายใต้บทบาทอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ =3.47, S.D.=1.04) 3) ความคิดเห็นต่อการพัฒนาบทบาทของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =3.58, S.D.=0.92)</p> อัจฉราพรรณ ลาภโพธิ์ชัย ระพีพรรณ คำหอม ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-19 2024-07-19 3 2 135 148 10.14456/hsi.2024.23 การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดบนฐานทุนวัฒนธรรม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/270908 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดตำบลหนองงูเหลือม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดบนฐานทุนวัฒนธรรมตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มตีมีด ผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ประเด็นการสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีการและด้านข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์โดยอุปนัย นำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย 1) ผลการศึกษาทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มีดตำบลหนองงูเหลือม พบว่า มีดังนี้ (1) ทุนด้านคุณภาพและเอกลักษณ์การผลิตมีด (2) ทุนวัฒนธรรมด้านความเชื่อและพิธีกรรม (3) ทุนด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาเดิม (4) ทุนด้านสถานที่ในการต่อยอดด้านการตลาด 2) แนวทางในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนชุมชนตำบลหนองงูเหลือม ที่ค้นพบคือแนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีการนำทุนวัฒนธรรมมาวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาเป็นผลิตใหม่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น</p> ภาสกร บัวศรี สักรินทร์ อินทรวงศ์ จันทร์เพ็ญ เกตุสำโรง สิริกร บุญสังข์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-22 2024-07-22 3 2 149 162 10.14456/hsi.2024.24 การบริหารภาครัฐและการบริการสาธารณะสู่การคลังสาธารณะ: กรณีศึกษา โครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/266917 <p>หลังจากการเลือกตั้งของประเทศไทยกลางปี พ.ศ. 2566 นั้น โจทย์ใหญ่สำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาล คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยให้กลับมาฟื้นตัว ภายใต้สถานการณ์หลังการฟื้นตัวจากแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด COVID-19 การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่ นำไปสู่ความท้าทายของรัฐบาลนี้ การแจกเงินดิจิตอลวอลเลต 10,000 บาท เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาล มีข้อสังเกตว่านโยบายดังกล่าว ได้รับทั้งเสียงสนับสนุน ข้อเสนอแนะ และวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง นโยบายดังกล่าวสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เป็นธรรมและทั่วถึงและเป็นไปตามที่รัฐบาลคาดหวังได้หรือไม่ ส่งผลให้รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและรายละเอียดของนโยบายตามสถานการณ์ บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ความเป็นมา รูปแบบ เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐ และการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ การบริการสาธารณะแนวใหม่ และการคลังสาธารณะภาครัฐของประเทศไทย และ 3) เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นเชิงนโยบายเกี่ยวกับการคลังสาธารณะของภาครัฐในอนาคต รวมถึงนำเสนอ ข้อดี ข้อเสีย การบริหารการคลังสาธารณะของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาไปสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้เข้ากับบริบทใหม่และความท้าทายใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของภาครัฐที่เป็นบริการสาธารณะ ได้แก่ การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทนั้น จะเกิดประสิทธิภาพอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างในอนาคต</p> จิณณ์ณิชา รอบคอบ อัครวิชช์ รอบคอบ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-01 2024-07-01 3 2 75 95 10.14456/hsi.2024.19 สุนทรียศาสตร์การท่องเที่ยวบ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/271192 <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุนทรียศาสตร์การท่องเที่ยวบ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใช้วิธีการศึกษาเอกสารและการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า บ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่เอกชน เพื่อการรวบรวมวัตถุทางวัฒนธรรมและเป็นพื้นที่การท่องเที่ยว มีการนำเสนอข้อมูลทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น เฮือนไทดำ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย พยัญชนะไทดำ หัตถกรรมผ้าทอ ตุ้มนกคุ้มหนู และข้อมูลวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ พิธีกรรม การละเล่นผ่านการเล่าเรื่องจากผู้สื่อความหมาย มีลักษณะพื้นที่การท่องเที่ยวแบบมีชีวิต เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดประสบการณ์เชิงคุณค่าที่หลากหลาย เช่น การสร้างบรรยากาศให้กับพื้นที่ภาพรวม ส่วนการจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรม กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบมีชีวิตที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทางการรับรู้จากการทดลองปฏิบัติ การฟังคำบรรยาย การเดินสัมผัสและรับรู้ด้วยตนเองโดยการใช้ปัญญาญาณสัมผัสและการคิด แยกแยะและวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์การท่องเที่ยวที่แฝงอยู่ในพื้นที่บ้านพิพิธภัณฑ์ พบว่ามี 2 ส่วน คือ เนื้อหาและรูปแบบ ที่มาจากการจำลองพื้นที่แบบมีชีวิตและมีองค์ประกอบการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ได้แก่ วัตถุทางวัฒนธรรม ผู้คน สถาปัตยกรรม บรรยากาศ ช่วงเวลาเสียง การเคลื่อนไหว การบริหารจัดการ และการบริการที่ส่งผลต่อการมีประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ</p> ไทยโรจน์ พวงมณี มาริษา ภิรมย์แทน เดอ เบลส์ คชสีห์ เจริญสุข อรทัย จิตไธสง พชรมณ ใจงามดี Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-24 2024-07-24 3 2 163 179 10.14456/hsi.2024.25