https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/issue/feed วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2025-03-25T15:25:23+07:00 Mr.Apichet Samerjai apichet.sa@ksu.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์<br /></strong>ISSN 2821-9635 (Online)</p> <div class="html-div xdj266r x11i5rnm xat24cr x1mh8g0r xexx8yu x4uap5 x18d9i69 xkhd6sd x6ikm8r x10wlt62"> <div class="html-div xdj266r x11i5rnm xat24cr x1mh8g0r x14ctfv x1okitfd x6ikm8r x10wlt62 xerhiuh x1pn3fxy x12xxe5f x1szedp3 x1n2onr6 x1vjfegm x1k4qllp x1mzt3pk x13faqbe x1xr0vuk x1jm4cbz x1lmq8lz xrrpcnn x1xtl47e x13fuv20 xu3j5b3 x1q0q8m5 x26u7qi x19livfd x2t687o x3p3xfz x5od304 xp5s12f x11ucwad xgtuqic x155c047" role="presentation"> <div class="html-div xexx8yu x4uap5 x18d9i69 xkhd6sd x1gslohp x11i5rnm x12nagc x1mh8g0r x1yc453h x126k92a x18lvrbx" dir="auto"><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong> <br /> (1) เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการศึกษาค้นคว้าและวิจัยที่แสดงทัศนะทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <br /> (2) เพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ให้กับสังคม</div> </div> </div> <p><strong>ขอบเขตวารสาร<br /></strong> เนื้อหาของบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องเกี่ยวข้องกับด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้แก่ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญาและศาสนา ภาษาศาสตร์และวรรณกรรม วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ บริหารศาสตร์ กฎหมาย การเมืองการปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ พัฒนาสังคม ประวัติศาสตร์และโบราณคดีอาณาบริเวณศึกษา ภูมิศาสตร์ สื่อสารสนเทศและการสื่อสาร และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่<br /></strong> วารสารเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ตีพิมพ์รูปแบบระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์<br /> ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทบทความ</strong><br /> บทความ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย ทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>นโยบายการตีพิมพ์บทความ</strong><br /> (1) บทความวิจัยจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น<br /> (2) บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 คน มาจากต่างสถาบันกัน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ<br /> (3) ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขบทความเพื่อความสมบูรณ์ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ<br /></strong> บทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ดังนี้<br /> (1) กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบทาง E-mail หรือช่องทางอื่น เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว<br /> (2) กองบรรณาธิการจะตรวจสอบบทความว่าอยู่ในขอบเขตเนื้อหาวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ<br /> (3) ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อกลั่นกรองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 คน ประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองนี้ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review)<br /> (4) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ บทความนั้นๆ ควรนำลงตีพิมพ์ หรือควรส่งให้ผู้เขียนแก้ไขก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอีกครั้ง หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ และจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนรับทราบโดยเร็ว โดยผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด<br /> (5) กองบรรณาธิการจะไม่คืนต้นฉบับให้เจ้าของบทความ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ<br /></strong> (ก) กรณีผู้เขียนบทความเป็นบุคลากรภายใน ให้ชำระอัตราค่าธรรมเนียม จำนวน 2,000 บาท ต่อบทความ<br /> (ข) กรณีผู้เขียนบทความเป็นบุคคลภายนอก ให้ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 3,000 บาท ต่อบทความ</p> <p> ท่านสามารถดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ไปยังหมายเลขบัญชี</p> <p> ชื่อธนาคาร: ธนาคารกรุงไทย สาขากาฬสินธุ์<br /> ชื่อบัญชี: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เงินนอกงบประมาณ <br /> เลขบัญชี: 404-3-19565-6</p> <p><strong>เงื่อนไขการเก็บเงินค่าธรรมเนียมวารสารวิชาการ</strong> <br /> 1) จะเริ่มบังคับใช้เมื่อวารสารเข้าสู่ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เป็นต้นไป<br /> 2) การเก็บเงินค่าธรรมเนียมจะเก็บหลังจากที่บทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นเท่านั้น <br /> 3) หากบทความไหนไม่ผ่านการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ ทางวารสารจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมใดๆ</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/277840 Development of an Instructional Model to Enhance Systematic thinking skills for Mathayom 2 Students at Waritchaphum Secondary School, under the Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office 2025-03-25T15:25:23+07:00 Suphaphit Udonsan Yatawee@snru.ac.th Vijittra Vonganusith vijittra.v@snru.ac.th Yatawee Chaiyamat Yatawee@snru.ac.th <p>This study aimed to 1. develop an instructional model to enhance systematic thinking skills among Mathayom 2 students, 2. evaluate its effectiveness, and 3. compare students' systematic thinking skills before and after implementing the model. This study is a research and development (R&amp;D) study. The research instruments used in this study included 1) The instructional model for developing systematic thinking skills for Mathayom 2 students 2) Lesson plans 3) A questionnaire assessing the consistency and appropriateness of the model and 4) A systematic thinking skills assessment. Data were analyzed using mean, standard deviation, efficiency criteria, and t-test.</p> <p><strong>Research </strong><strong>Results</strong></p> <ol> <li>The developed teaching model for enhancing systematic thinking skills for Students consists of four components: 1) Introduction to the teaching model, 2) A six-step process for organizing learning activities: Step 1 - Presenting the situation, Step 2 - Developing thinking strategies, Step 3 - Analyzing the problem, Step 4 - Engaging in discussions and exchanges, Step 5 - Learning from group work, Step 6 - Concluding the findings, 3) Implementation of the teaching model, and 4) Evaluation of the outcomes from using the model.</li> <li>The model demonstrated an effectiveness rating of 94.16/95.15, exceeding the established criterion of 80/80.</li> <li>After using the teaching model, the students' systematic thinking skills showed significantly higher scores than before using the model, with statistical significance at the level of .05.</li> </ol> 2025-04-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/271494 โมเดลสมการโครงสร้างของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ตำบลหัวดง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 2024-06-21T14:45:38+07:00 ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์ mathed@hotmail.co.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน และ 2. เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนตำบลหัวดง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลหัวดงซึ่งกำหนดขนาดของตัวอย่างจากแนวคิดการใช้สถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้ตัวอย่างอย่างน้อย 10 – 20 หน่วยต่อ 1 พารามิเตอร์ที่ต้องการประมาณค่า ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวนพารามิเตอร์ที่ต้องการประมาณค่าทั้งหมด 15 พารามิเตอร์ ผู้วิจัยใช้ตัวอย่างจำนวน 20 หน่วยต่อ 1 พารามิเตอร์ ดังนั้น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมจึงมีจำนวน 300 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง และการวิเคราะห์ตัวแบบโครงสร้างเชิงเส้น เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ด้วยโปรแกรม Amos ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนตำบลหัวดงตามความคิดเห็นของประชาชน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผน (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.28, S.D = 0.76) ด้านผลิตภัณฑ์ (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.18, S.D = 0.77) และด้านรายได้ (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.17, S.D = 0.79) ตามลำดับ และ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนตำบลหัวดง โดยการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงเส้นโยงระหว่างตัวแปร (Path Analysis) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุสมการเชิงเส้นอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรด้านการวางแผน ตัวแปรด้านผลิตภัณฑ์ ตัวแปรด้านรายได้ และตัวแปรด้านการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าสถิติ Chi-square (x<sup>2</sup>) = 1.168, p-value = .105, df= 105, GFI= .965, AGFI = .902, CFI = .991, RMR = .032, RMSEA = .024</p> 2025-01-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/272626 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บ้านนาบอน หมู่ที่ 11 ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2024-10-24T09:04:28+07:00 นวมน นามลาพุทธา nawamon5341@gmail.com สิรินดา กมลเขต sirinda.ma@ksu.ac.th อธิพงษ์ ภูมีแสง athipong.po@ksu.ac.th <p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา บ้านนาบอน ประชากร คือประชาชนที่อาศัยอยู่บ้านนาบอน หมู่ที่ 11 จำนวน 666 คน กลุ่มตัวอย่างใช้หลักของ ทาโร่ ย่ามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 250 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง 134 คน คิดเป็นร้อยละ 53.6 มีช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี 59 คน คิดเป็นร้อยละ 23.6 มีอาชีพเกษตรกร 50 คน คิดเป็นร้อยละ 20.0 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 59 คน คิดเป็นร้อยละ 23.6 ภาพรวมระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.71) พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในด้านการปฏิเสธ คิดเป็นค่าเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.87) ด้านการหลีกเลี่ยง คิดเป็นค่าเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.84) ด้านการป้องกันตนเอง คิดเป็นค่าเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> <strong>= </strong>4.66) และ ด้านภูมิคุ้มกัน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.47) ปัญหาของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด คือด้านภูมิคุ้มกัน ข้อเสนอแนะผู้นำชุมชนและภาคส่วนอื่นๆ ควรมีการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังและคนในครอบครัวควรใช้เวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกันให้มากขึ้น</p> 2025-01-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/273831 การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2024-12-14T08:34:00+07:00 ธัญญารัตน์ นันจรัส stemnawarattanoimod@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคำปลาฝาโนนชัย 2) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะตามเกณฑ์ 80/80 ดัชนีประสิทธิผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ โดยที่กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบวัดความพึงพอใจ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและ t-test ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการอยู่ในระดับน้อย 2) แบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3) แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ 88.67/86.67 ดัชนีประสิทธิผล 0.71 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้การวิจัยชี้ให้เห็นว่า ควรพัฒนาแบบฝึกที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ปรับปรุงสื่อให้ดึงดูดใจ และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ยั่งยืน</p> 2025-01-12T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/273898 การประยุกต์ใช้หลักภาษาศาสตร์เชิงประสาทวิทยาในการจัดการเรียนรู้ภาษาจีน 2024-11-18T10:18:44+07:00 ธนัสนันท์ บ่อทอง prasart.n@msu.ac.th ประสาท เนืองเฉลิม prasart.n@msu.ac.th <p>การสื่อสารระหว่างประเทศมีความสำคัญมากขึ้น ภาษาจีนเป็นหนึ่งในภาษาที่มีบทบาทสำคัญในเวทีโลก การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการสื่อสารภาษาจีนจึงควรมีหลักการและแนวคิดร่วมสมัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักภาษาศาสตร์เชิงประสาทวิทยาในการจัดการเรียนรู้ภาษาจีน ผลการวิจัยพบว่า การสอนดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ โดยเฉพาะในด้านทักษะการฟังและการพูด อย่างไรก็ตาม งานวิจัยส่วนใหญ่ยังขาดการเน้นพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน ควรมีการศึกษาผลในระยะยาวของวิธีการสอนเหล่านี้และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นในการสอนภาษาจีน</p> 2025-01-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/276401 การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านโค้ดดิ้ง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2025-01-29T11:37:40+07:00 ธวัลรัตน์ กระดีแดง calamind009@gmail.com อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ unyaparn.si@ksu.ac.th สายหยุด ภูปุย Saiyut.ph@ksu.ac.th <p>การวิจัยนี้ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์และความต้องการของครูในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะโค้ดดิ้งสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะโค้ดดิ้ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณในโรงเรียนขยายโอกาส สพป.มหาสารคาม เขต 3 จำนวน 5 คน นักออกแบบนวัตกรรม 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินคุณภาพชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา, ค่าเฉลี่ย, และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) ครูส่วนใหญ่จบไม่ตรงสาย สอนตามหนังสือเรียน นักเรียนไม่เข้าใจและจำคำศัพท์โค้ดภาษาอังกฤษไม่ได้ และเบื่อหน่ายเมื่อเรียนแบบบรรยาย ครูจึงต้องการสื่อการสอนที่หลากหลาย เช่น สื่อออนไลน์ เกม และกิจกรรมอินเตอร์แอคทีฟ เพื่อกระตุ้นความสนใจ ลดความซับซ้อน และเน้นการปฏิบัติจริงผ่านการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน 2) ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย แผนการสอน บทเรียนออนไลน์ Google Site คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม ใบงานประเมินทักษะโค้ดดิ้ง และแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน โดยได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญในระดับ มากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /><em>=</em> 4.60, S.D. = 0.62)</p> 2025-02-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/275605 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 ของนิสิตหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด 2025-02-09T12:34:20+07:00 รัฐอัครธีร์ อัครธีรฐิติภูมิ rattasapa@g.swu.ac.th ประภากร วงศ์ใหญ่ Rattasapa@g.swu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิดในรายวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับการจัดการเรียรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ในรายวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 จำนวน 60 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (One-Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด (Mind Mapping) ทางการเรียนวิชากฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย แบบประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (𝑥̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent) และการประเมินประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) กำหนดเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions) ประกอบแผนผังความคิดในรายวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2 มีประสิทธิภาพสูงเมื่อวัดตามเกณฑ์ 80/80 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนิสิตที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแผนผังความคิด หลังจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-02-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/276465 การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนขั้นต้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2025-02-01T17:13:56+07:00 ตติยา ดวงแก้ว tatiya.du@ksu.ac.th ชุลิดา เหมตะศิลป์ chulida.he@ksu.ac.th วิศรุต พยุงเกียรติคุณ wisarut.pa@ksu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์และความต้องการของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนขั้นต้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ 3) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์และสำรวจ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียน แบบวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างผู้ใช้จำลอง ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนา โดยใช้แบบสังเคราะห์ข้อมูล การระดมสมอง การออกแบบร่วมกัน และแบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม ระยะที่ 3 การประเมินและสะท้อนคิด ผ่านแบบทดสอบสถานการณ์จำลองและแบบประเมินชุดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายคือครูสอนภาษาจีน 9 คน และกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จาก 2 โรงเรียน รวม 214 คนโดยเลือกมาจากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยวิธีสุ่มด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ครูต้องการให้นักเรียนมีทักษะการพูดภาษาจีนที่นำไปใช้ได้จริงแทนการท่องจำ นักเรียนต้องการสื่อการเรียนที่เป็นกิจกรรม เกม หรือสถานการณ์จำลอง ชุดกิจกรรมที่ออกแบบประกอบด้วยใบกิจกรรม แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน รวม 5 กิจกรรม ผลการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนขั้นต้น พบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มทดลองจากโรงเรียน ก. และ ข. มีคะแนนเฉลี่ย 35.92 และ 34.33 คะแนน ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย 24.94 และ 25.35 คะแนน ตามลำดับ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์สามารถช่วยเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาจีนขั้นต้นของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/276468 การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก 2025-02-23T18:56:09+07:00 ธนภรณ์ กั้วมาลา thanaporn.ku@ksu.ac.th อนุชา พิมศักดิ์ anucha.pi@ksu.ac.th อัญญปารย์ ศิลปะนิลมาลย์ unyaparn.si@ksu.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมีการดำเนินการวิจัย <strong>1</strong> ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์และสำรวจ ดำเนินการวิจัยตามหลักการวิจัยการออกแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 126 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 1,149 คน และกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 จำนวน 5 โรงเรียน ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จำนวน 5 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 59 คน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของครูผู้สอนวิชาภาษาไทยและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า ครูใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ครูต้องการบอร์ดเกมการศึกษา และ นักเรียนต้องการสื่อที่ส่งเสริมทักษะด้านการอ่านรูปแบบเกมการศึกษาหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีเกมเข้าไปอยู่ในเนื้อหา</p> 2025-03-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/272639 ภูมิปัญญาดิจิทัล: แนวคิด หลักการและการประยุกต์ใช้ในการพัฒนา 2024-09-21T20:15:23+07:00 ณวิญ เสริฐผล nawin_serth@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการที่และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาดิจิทัลในการพัฒนา เนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมากทุกด้านทั้งด้านการทำงานและการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ดังนั้น การเรียนรู้และการสร้างองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาดิจิทัล จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำให้เกิดเป็นภูมิปัญญาใหม่หรือภูมิปัญญาดิจิทัล ซึ่งเกิดจากการผสมผสานความรู้ของมนุษย์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จนกลายเป็นความรู้ ความสามารถและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม จากการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดสำคัญของภูมิปัญญาดิจิทัล คือ การใช้ความรู้และนวัตกรรมที่มาจากเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการจัดเก็บ การประมวลผล การสื่อสารข้อมูล เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 2) หลักการสำคัญของภูมิปัญญาดิจิทัล คือ ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล การคิดเชิงวิจารณญาณ การสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การเรียนรู้ตลอดชีวิต และจริยธรรมดิจิทัล 3) แนวทางการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาดิจิทัลในการพัฒนา คือ การศึกษา การทำงานและการบริหารองค์กร การพัฒนาสังคมและชุมชน การวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น "ภูมิปัญญาดิจิทัล" จึงเป็นความรู้ ความสามารถและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนและเป็นธรรมสำหรับทุกคน สู่การประยุกต์ใช้เชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2025-01-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/275551 แนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนอุทยานธรณีขอนแก่นสู่อุทยานธรณีโลก 2025-01-23T16:27:51+07:00 สรายุธ รัศมี sarayoot.r@kkumail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่สำหรับอุทยานธรณีขอนแก่น ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสู่อุทยานธรณีโลก การพัฒนาเชิงพื้นที่ในบริบทนี้เป็นการบูรณาการระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น และการส่งเสริมวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ โดยเน้นการอธิบายบทบาทและความสำคัญของอุทยานธรณีในฐานะพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยา ธรรมชาติ และวัฒนธรรม รวมถึงโอกาสและความท้าทายที่อุทยานธรณีขอนแก่นต้องเผชิญในกระบวนการพัฒนาสู่ระดับสากล ซึ่งครอบคลุมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยันที่สำคัญ ได้แก่ เป้าหมายที่ 15 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป้าหมายที่ 4 การพัฒนาการศึกษา และเป้าหมายที่ 8 การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น นำไปสู่แนวทางเชิงปฏิบัติในการพัฒนาเชิงพื้นที่ ประกอบด้วย การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น นอกจากนี้ การเรียนรู้บทเรียนจากอุทยานธรณีโลกอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาอุทยานธรณีให้ก้าวหน้าต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาเชิงบูรณาการที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่นจริงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาในอนาคต ทั้งในเชิงปฏิบัติการและเชิงนโยบาย เพื่อให้อุทยานธรณีขอนแก่นสามารถก้าวสู่การเป็นอุทยานธรณีโลกที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ</p> 2025-02-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/275571 การส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านบอนวิทยา 2025-01-24T13:07:33+07:00 จุฑามาศ ชำนาญ jutamas.ch@ksu.ac.th ณิชาภาท์ กันขุนทศ Nichaphakan27@gmail.com นาตยา หกพันนา nataya4888@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เกม และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เกม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดกลุ่มโรงเรียนเมืองสมเด็จ สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 347 คนและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านบอนวิทยา จำนวน 19 คน ซึ่งเลือกจากนักเรียนที่มีคะแนนการทดสอบการเขียนสะกดคำต่ำกว่าร้อยละ 50 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม จำนวน 8 แผน และแบบทดสอบทักษะการเขียนสะกดคำ 40 คำ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้เกมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการเขียนสะกดคำรวมสูงถึง 81.71 โดยด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือ การเขียนคำที่ประสมด้วยสระ -ะ (90.53%) รองลงมาคือสระ เ-ะ (89.47%) สระ โ-ะ (88.42%) สระเ-อ (78.42%) สระอัว (76.84) และสระออ (75.79) ในขณะที่สระ แ-ะ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด (74.74%) ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำก่อนและหลังการใช้เกมพบว่า นักเรียนมีทักษะการเขียนสะกดคำหลังการใช้เกมสูงกว่าก่อนการใช้เกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-02-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/hsi_01/article/view/275602 การพัฒนาทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก 2024-12-15T19:54:42+07:00 อัญมณี คำภูมี anyamanee.ka@ksu.ac.th ณิชาภาท์ กันขุนทศ Nichaphakan27@gmail.com นาตยา หกพันนา nataya4888@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านก้านเหลืองดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก และแบบทดสอบทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลาง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลาง ผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวกของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนภาพรวม 25.07 คิดเป็นร้อยละ 83.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุด เท่ากับ 95.71 และ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำที่สุด เท่ากับ 71.42 2) ผลเปรียบเทียบทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลางสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังผ่านเกมและการเสริมแรงทางบวก พบว่า หลังการใช้เกมและการเสริมแรงทางบวกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทักษะการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลาง สูงกว่าก่อนการใช้เกมและการเสริมแรงทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-02-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์