Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal
th-TH
ajberm@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจาย์ก่อเกียรติ ขวัญสกุล)
journal.etc.edu.msu@gmail.com (กองบรรณาธิการวารสาร)
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน 4 MAT วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง รัฐโบราณในดินแดนไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/275337
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน-หลังเรียน หลังการใช้รูปแบบ การสอน 4 MAT และ 2) ศึกษาความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการสอน 4 MAT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 15 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t แบบ Dependent </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า <br />1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=20.55, S.D.=0.67) สูงกว่าก่อนเรียน (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=17.50, S.D.=0.55) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 </p> <p>2) ผลการศึกษาความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการสอน 4 MAT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.71, S.D.=0.57)</p>
วีรวิชญ์ บุญส่ง, ชมพูนุช กำบังภัย
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/275337
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/275412
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถด้านการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ หลังจากได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัล (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนหลังจากผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัล (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านยางกะเดา อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 14 คนได้มาโดยเลือกแบบสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน สื่อดิจิทัลประเภทคลิปวิดีโอ 14 คลิป แบบวัดความสามารถด้านการสื่อสารและสื่อความหมายเป็นอัตนัย จำนวน 4 ฉบับ ฉบับละ 1 ข้อ โดยมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.65 - 0.72 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.37 - 0.56 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.69 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เป็นปรนัย 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ ค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.48-0.70 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.48 - 0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ ผลการประเมินแบบวัดความพึงพอใจ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80–1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1) ความสามารถด้านการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ หลังจากได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อดิจิทัล อยู่ในระดับ ดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.50</p> <p>2) คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <p>3) ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับ พึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ย 4.48 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.65</p>
พรนภา วงศ์สายตา, ปริญา ปริพุฒ, พีรญา ทองเฉลิม
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/275412
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
การวิเคราะห์และเปรียบเทียบอัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการตรวจจับภัยคุกคามแบบ Zero-Day ในระบบเครือข่าย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/274844
<div>การวิจัยนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบอัลกอริธึม Machine Learning สำหรับการตรวจจับภัยคุกคามแบบ Zero-Day ในระบบเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาความสามารถของอัลกอริธึม Machine Learning ในการตรวจจับการโจมตีแบบ Zero-Day 2) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ อัลกอริธึม Machine Learning ในการแยกแยะและจำแนกพฤติกรรมที่มีแนวโน้มเป็นการโจมตี Zero-Day และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการนำผลการวิเคราะห์ไปปรับใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคาม Zero-Day ข้อมูลที่ใช้รวบรวมจาก Threat Intelligence และข้อมูลจริงจากระบบป้องกันเครือข่าย</div> <div> </div> <div>ผลการวิจัยพบว่า Neural Networks (NN) มีความแม่นยำ (Accuracy) สูงถึง 95.2% และอัตราการแจ้งเตือนผิดพลาด (False Positive Rate: FPR) ต่ำเพียง 2.5% ความสามารถนี้สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน และการตอบสนองต่อภัยคุกคาม Zero-Day ได้อย่างแม่นยำ โดยช่วยลดภาระในการจัดการแจ้งเตือนผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันระบบเครือข่าย RF และ SVM ซึ่งมีความแม่นยำ 90.5% และ 88.7% ตามลำดับ แม้จะให้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ยังด้อยกว่า NN ในการลด FPR การใช้เทคนิค Anomaly Detection และ Ensemble Models ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการตรวจจับภัยคุกคามที่ซับซ้อนและรองรับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถบล็อก IP ที่เคยโจมตีซ้ำและตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติได้รวดเร็ว เพิ่มความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่ระบบเดิมไม่สามารถจัดการได้ การวิจัยนี้เสนอแนวทางพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้มีความแม่นยำและยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยี Machine Learning ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์ </div> <p> </p>
อมร เจือตี๋
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/274844
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
ผลการทดลองใช้บทเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษบนพื้นที่เสมือนจริง เพื่อพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/274390
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการบทเรียนส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษฯ 2) เพื่อออกแบบบทเรียนส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษฯ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษฯ และ 4) ความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง ประชากรในการศึกษา คือ (1) นักศึกษาฯ จำนวน 270 คน (2) บุคลากรทำงานในระดับปฏิบัติการในวงการภาพยนตร์ จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสำรวจความต้องการ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ และ 3) แบบประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษด้าน คำศัพท์ ไวยากรณ์และการอ่าน และการพูด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. นักศึกษาและบุคลากรฯ พบว่า มีปัญหาเรื่องทักษะการสื่อสารและการฟัง และมีความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะและการพัฒนาทักษะการพูด ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่</p> <p>2. การออกแบบเนื้อหาบทเรียนส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษฯ มีจำนวน 10 บทเรียน ประกอบด้วย แนะนำอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ บทบาทหน้าที่ สตอรี่บอร์ด สถานที่ แคสติ้ง ฟิตติ้ง กระบวนการถ่ายทำภาพยนตร์เชคฟุตเทจและซิงค์เสียง กระบวนการตัดต่อภาพและเสียง และการใส่เอฟเฟกต์ภาพ</p> <p>3. ผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 เท่ากับ 73.33 และ (μ=47.78, σ=10.14) ประชากรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 26.67 และ (μ=29.53, σ=3.79) ส่วนกลุ่มบุคลากรฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ เท่ากับ 70.18 และ (μ=50.00, σ=6.15) ประชากรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 29.82 และ (μ=26.15, σ=6.28)</p> <p>4. ความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (μ 4.73, σ=0.67)</p>
อรทัย เพียยุระ, ธิดารัตน์ บุญมาศ, นิยม วงศ์พงษ์คำ, พงศ์ธนัช แซ่จู, วณิชชา ณรงค์ชัย, ฮาวา วงศ์พงษ์คำ, บัวพันธ์ พรหมพักพิง
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/274390
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
ผลการใช้กิจกรรมนาโนเลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดสุรินทร์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/275701
<p>การวิจัยผลการใช้กิจกรรมนาโนเลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดสุรินทร์ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิง 2.เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิง 3.เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานหลังเรียนของนักเรียน ด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิงกับกิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิง ตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสิรินธร จำนวน 59 คน ซึ่งได้มาได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมนาโนเลิร์นนิง (Nano Learning) 2 แบบ ได้แก่ 1) กิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิง มีนักเรียนตัวอย่าง จำนวน 27 คน 2) กิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิง มีนักเรียนตัวอย่าง จำนวน 32 คน ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ความรู้เชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน 2)เหตุผลเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน 3) พฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน2)คลิปประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบวัดคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ x̅, S.D., t-test, one-way MANCOVA</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิง มีคะแนนความรู้ และเหตุผลเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <p>2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิง ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <p>3) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิงก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนความรู้ และพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <p>4) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิง ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเหตุผล เชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <p>5) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิป และการสร้างคลิปมีคะแนนความรู้ การมีเหตุผล การมีพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p>
พระครูวินัยธรโกมินทร์ สุโกวิโท (เตียแอก), นุชจรี บุญเกต, ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/275701
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
การใช้งานระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง สำหรับนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/275998
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง และเพื่อศึกษาระดับความสำคัญและเปรียบเทียบข้อดีข้อจำกัดผลการใช้งานระบบคลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยตัวแปรต้นจำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน อายุการทำงาน และปัจจัยด้านคุณลักษณะข้อดีและข้อจำกัดของระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ส่วนตัวแปรตามการยอมรับระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง แบ่งปัจจัยศึกษา 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นรับรู้ ขั้นสนใจ ขั้นตัดสินใจ ขั้นทดลองใช้ และขั้นยอมรับ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 200 ชุด จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนักศึกษาสถาบันสารสาสน์เทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis Variance : ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่น้อยที่สุด (Least Significant Differrent : LSD)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีผลต่อการใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยข้อดีที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ มีความสามารถในการแบ่งปันข้อมูล (x̄=4.36, S.D.=0.82) มีทางเลือก ในการเข้าถึงที่หลากหลาย ระบบคลาวด์สามารถเข้าถึงจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ (x̄=4.27, S.D.=0.69) ข้อจำกัดที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ ไม่สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์ได้เมื่อไม่มีอินเตอร์เน็ต (x̄=4.21, S.D.=0.97) ต้องมีระบบแบนด์วิธที่ดีในการรับส่งข้อมูล (x̄=4.03, S.D.=0.92)</p> <p>2. ระดับความสำคัญและการเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของการใช้งานระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ระดับการยอมรับของปัจจัยที่ส่งผลต่อข้อดีทั้ง 8 ข้อของระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งขัดแย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่แรก เมื่อพิจารณาตัวแปรกลุ่ม เช่น ระดับความคิดเห็นของผู้ใช้ ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแปรต้น ผลวิจัยระบุว่า กลุ่มผู้ใช้ที่มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันไม่ได้มีผลต่อการยอมรับข้อดีของระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง อย่างมีนัยสำคัญดังนั้น สมมติฐานที่ตั้งไว้จึงได้รับการยอมรับเฉพาะใน ขั้นทดลองและขั้นยอมรับ เท่านั้น และระดับ การยอมรับของปัจจัยที่ส่งผลต่อข้อจำกัด ทั้ง 8 ข้อ ของระบบคลาวด์คอมพิวติ้งไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p>
อุดมลักษณ์ วรรธนะไพสิฐ, ปุญญรัตน์ รังสูงเนิน, สกุลรัตน์ สุทธิประภา, นันทิรา วรกาญจนบุญ, พรทิพย์ ว่องสรรพการ
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/275998
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการเล่าเรื่องดิจิทัลร่วมกับเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมความสามารถการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาครู
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/276141
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความสามารถการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาครู ในสองด้าน ได้แก่ 1.1) ความสามารถการสร้างนวัตกรรมสื่อการสอน และ 1.2) ความสามารถการจัดการเรียนรู้สร้างสรรค์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรที่ลงทะเบียนวิชา 451302-162 การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา (Mathematics Learning Management for Primary Education) ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสามารถการสร้างนวัตกรรมสื่อการสอน 2) แบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้สร้างสรรค์ของนักศึกษา และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กระบวนการจัดการเรียนรู้พัฒนาขึ้นมี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นวิเคราะห์เป้าหมาย 2) ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ 3) ขั้นออกแบบและพัฒนา 4) ขั้นประยุกต์ใช้ และ 5) ขั้นแบ่งปันเรื่องราวสะท้อนคิด</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ความสามารถการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาครู 1.1 ความสามารถการสร้างนวัตกรรมสื่อการสอนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅= 2.71,S.D.= 0.36) 1.2 ความสามารถการจัดการเรียนรู้สร้างสรรค์ของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (𝑥̅= 3.21,S.D.= 0.52)</p> <p>2. ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม (𝑥̅= 4.67,S.D.= 0.49)</p>
เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ, อรรฆพร วงษ์ประดิษฐ์
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/276141
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/276514
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 2) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการปฏิบัติงานของนักศึกษา หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาทีมีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ 2) แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติงาน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (One sample t-test) และค่าที (Dependent Samples)</p> <div> </div> <div>ผลการวิจัยพบว่า</div> <div> </div> <div>1) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้วิธีการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 95.47/87.27 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด</div> <div> </div> <div>2) ความสามารถในการปฏิบัติงานของนักศึกษาหลังเรียนคิดเป็น 95.76 สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</div> <div> </div> <div>3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 87.27 คะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ</div> <div> </div> <div>4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.58 </div> <p> </p>
อังศิมา งามดี, เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/276514
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/276417
<p>การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเหมาะสมของการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่น มิตรภาพที่ 5 2) ประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่น มิตรภาพที่ 5 และ3) เพื่อศึกษาแนวทางของการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่น มิตรภาพที่ ๕ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายใช้ตารางของ Krejcie & Morgan จำนวน 152 คน และผู้ปกครองของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 152 คน (ตามจำนวนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการประเมิน พบว่า การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\mu&space;" alt="equation" />=4.47, <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\sigma&space;" alt="equation" />=.160) การประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา จากนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?&space;x\bar{" alt="equation" />=4.15, S.D.=.250) จากผู้ปกครองของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าโดยรวมผ่านเกณฑ์ การประเมินอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?&space;x\bar{" alt="equation" />=4.12, S.D.=.271) และการศึกษาแนวทางของการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา พบว่า ควรมีแผนการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี มีการเตรียมความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษา วิทยากรผู้ให้ความรู้ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ให้พร้อม กำหนดบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบวางแผนการดำเนินงานมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล หลังสิ้นสุดการดำเนินกิจกรรมและรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้นำข้อค้นพบในปรับปรุงแก้ไข เผยแพร่และขยายผลสู่ชุมชน โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านความกตัญญูกตเวที มีวินัยที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต พอเพียง และจิตอาสามากขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีและส่งผลต่อความรู้แก่เพื่อน ครอบครัวและคนชุมชนได้ และควรติดตามผลการดำเนินงานและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรมของการดำเนินโครงการที่ประสบผลสำเร็จไปใช้ปีถัดไป</p>
ฐิติมาภรณ์ โชคสัมฤทธิ์ผล
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/276417
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมปรากฏการณ์เป็นฐาน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/276753
<p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปรากฏการณ์เป็นฐาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 18 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านดูนบักตู้โนนตาแสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 2 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมปรากฏการณ์เป็นฐาน จำนวน 3 ปรากฏการณ์ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และ แบบทดสอบความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของเด็กปฐมวัย จำนวน 6 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75, 0.74, 0.78, 0.77, 0.77 และ 0.79 ตามลำดับ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แบบแผน Repeated Measure Design ระยะเวลาใช้ในการวิจัยจำนวน 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Friedman Test และ Wilcoxon Signed Rank Test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปรากฏการณ์เป็นฐานมีความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p>
วิไลวรรณ จันทรบุตร, จิตรา ชนะกุล, ญาณภัทร สีหะมงคล, กิตติศักดิ์ เกตุนุติ, วัชรีย์ ร่วมคิด
Copyright (c) 2025 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/276753
Wed, 26 Mar 2025 00:00:00 +0700