https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/issue/feed Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) 2024-06-29T00:00:00+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจาย์ก่อเกียรติ ขวัญสกุล ajberm@gmail.com Open Journal Systems https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/268985 การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้มัลติมีเดียร่วมกับการแสดงบทบาทสมมติ เรื่อง ทักษะการขายแบบเชิงรุก สำหรับพนักงานขายสินค้าสังกัดองค์กรโทรคมนาคม 2024-03-21T15:12:27+07:00 ศุภักษร ธรรมศักดิ์ nottsup17@gmail.com บุญรัตน์ แผลงศร boonrat.p@ku.th สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล fedustt@ku.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้มัลติมีเดียร่วมกับการแสดงบทบาทสมมติเรื่องทักษะการขายแบบเชิงรุก สำหรับพนักงานขายสินค้าสังกัดองค์กรโทรคมนาคม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมของพนักงานขายสินค้า3)เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านทักษะการขายของพนักงานขายสินค้าและ4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานขายสินค้าโดยกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานขายสินค้าองค์กรโทรคมนาคม จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่1)แผนการจัดการฝึกอบรมรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ สำหรับพนักงานขายขององค์กรโทรคมนาคม 2) สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ทักษะการขายแบบเชิงรุก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมเรื่อง ทักษะการขายแบบเชิงรุกใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน2)แบบประเมินทักษะการขายโดยการสังเกต 3) แบบประเมินความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อรูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการขายของพนักงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) รูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการแสดงบทบาทสมมติเรื่องทักษะการขายแบบเชิงรุกสำหรับพนักงานขายสินค้าสังกัดองค์กรโทรคมนาคมมีประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 94.58/87.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80</p> <p>2) พนักงานขายสินค้าที่เข้าอบรมมีคะแนนทดสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>3) พนักงานขายสินค้าสังกัดองค์กรโทรคมนาคมมีทักษะด้านการขายโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (M=3.95, SD=0.72)</p> <p>4) ผลการประเมินความพึงพอใจของพนักงานสังกัดองค์กรโทรคมนาคมที่มีต่อรูปแบบการฝึกอบรมด้วยมัลติมีเดียร่วมกับการแสดงบทบาทสมมติโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.81, SD=0.40) </p> <p> </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/268808 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนแบบเอสเอสซีเอส 2024-03-21T12:22:17+07:00 สุชัญญา นาควัน Suchanyanakwan44@gmail.com ทศพล ศีลอาภรณ์ thitikhong81@gmail.com ภัทริณี คงชู thitikhong81@gmail.com ฐิติชญาน์ คงชู thitikhong81@gmail.com <div>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนแบบเอสเอสซีเอสกับเกณฑ์ร้อยละ702)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องลำดับและอนุกรมหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนแบบเอสเอสซีเอสกับเกณฑ์ร้อยละ703)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องลำดับและอนุกรมก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนแบบเอสเอสซีเอสกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนแบบเอสเอสซีเอส แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดย One sample t-test และ Dependent samples t-test </div> <div> </div> <div>ผลการวิจัยพบว่า</div> <div>1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนแบบเอสเอสซีเอส มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05</div> <div> </div> <div>2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนแบบเอสเอสซีเอสมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ลำดับและอนุกรม หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</div> <div> </div> <div>3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนแบบเอสเอสซีเอสมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ลำดับและอนุกรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</div> <p> </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/270374 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย ClassPoint เรื่องการแสดงอัลกอริทึมในการแก้ปัญหา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2024-05-15T11:46:33+07:00 นารา อ่ำศรี iamnnnaraaa@gmail.com ศรินย์พร ชัยวิศิษฏ์ fedusoc@ku.ac.th บุญรัตน์ แผลงศร boonrat.p@ku.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยClassPointเรื่องการแสดงอัลกอริทึมในการแก้ปัญหาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้เรื่องการแสดงอัลกอริทึมในการแก้ปัญหาบนโปรแกรม Microsoft PowerPoint ด้วย ClassPoint ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์การประเมินสื่อการเรียนรู้ระดับดีมาก 2) ศึกษาเจตคติ ของนักเรียนที่เรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชัน 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการแก้ปัญหา ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ประจำปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองตะโก จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) สื่อการเรียนรู้รูปแบบ เกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อ 3) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 4) แบบวัดเจตคติ ต่อการเรียนรู้รูปแบบเกมมิฟิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) คุณภาพสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก</p> <p>2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญที่ .05</p> <p>3) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันในแต่ละข้อคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยว่าสื่อการเรียนรู้รูปแบบเกมมิฟิเคชันสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนได้</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/269878 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2024-05-12T10:50:17+07:00 ธรรมรัตน์ เม่งพัฒน์ thammarat.me@northbkk.ac.th ประเสริฐ ประวัติรุ่งเรือง prasert.pr@northbkk.ac.th เฉลิมชัย วิโรจน์วรรณ nissara.pr@northbkk.ac.th ครุศิลป์ อวนศรี karusin.uw@northbkk.ac.th สุวรรณา ยุทธภิรัตน์ suwanna.yu@northbkk.ac.th นิษรา พรสุริวงษ์ nissara.pr@northbkk.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร2)เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา4)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต1จำนวน400คนโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในสถานศึกษา โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก</p> <p>2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสถานศึกษา โดยภาพรวม</p> <p>3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r XY = .567) กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 </p> <p>4. ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา เรียงลำดับตามความสำคัญ ดังนี้ ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ (X7) ด้านการควบคุมเวลาในการสอน (X6) ด้านการพัฒนาเพื่อนำไปสู่มาตรฐานทางวิชาการ(X11) ด้านการพัฒนาเพื่อนำไปสู่มาตรฐานทางวิชาการ (X10) ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน (X1) ด้านการประสานงานด้านหลักสูตร (X4) ด้านการนิทศและการประเมินผลด้านการสอน (X3) ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน (X5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทั้ง 8 ปัจจัย ดังกล่าว ได้ร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 97.40 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ <br />Y = .256+.443X7 +.290X6 + .201X11 -.178X10 +.133X1 + .027X4 + .192X3 - .174X5</p> <p>สมการในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน <br />ZY = .581X7 +.433X6 + .308X11 -.186X10 +.165X1 + .048X4 + .259X3 - .230X5</p> <p> </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/270556 การศึกษาผลการใช้บทเรียน e-learning ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ต่อความเข้าใจของผู้เรียน เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2024-05-30T13:58:37+07:00 นิติ ทองดีงามเลิศ niti.tho@ku.th ศรินย์พร ชัยวิศิษฏ์ fedusoc@ku.ac.th วัตสาตรี ดิถียนต์ niti.tho@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้บทเรียน e-learning ก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสืบเสาะหาความรู้ของผู้เรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน e-learning กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียน e-learning โดยการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบบันทึกพฤติกรรมผู้เรียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่ใช้บทเรียน e-learning สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และ การทดสอบค่าที (t-test Dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ผลการเปรียบเทียบความเข้าใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียน e-learning เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>2) พฤติกรรมการสืบเสาะหาความรู้ผ่านบทเรียนอยู่ในระดับดี (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=2.26, S.D.=0.10) และ</p> <p><br />3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน e-learning โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.21, S.D.=0.34)</p> <p> </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/270344 การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2024-05-14T11:39:32+07:00 สิชานนท์ ชิเนนทอน sichanon.ch@nsru.ac.th ภัทริณี คงชู thitikhong81@gmail.com ฐิติชญาน์ คงชู thitikhong81@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ75 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องสถิติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนไพศาลีพิทยา จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTADแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.25–0.71 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.32–0.74 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดย One sample t-test และ Dependent samples t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง สถิติ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง สถิติ ในระดับมากที่สุด</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/270792 การพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกการอ่านออกเสียง 2024-06-07T10:23:30+07:00 ปวิตรา ทิพย์เนตร pawitra6260thi@gmail.com มนตรี วงษ์สะพาน Montree.v@msu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกการอ่านออกเสียงให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 จำนวน 15 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัด มหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึก การอ่านออกเสียง จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถการอ่านออกเสียง มีทั้งหมด 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 อ่านออกเสียงคำมีทั้งหมดจำนวน 20 คำ มีจำนวน 2 ฉบับ และตอนที่ 2 เป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ มีจำนวน 2 ฉบับ 3) แบบประเมินความสามารถการอ่านออกเสียง 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR) แบ่งออกเป็น 2 วงรอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการอ่านออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกการอ่านออกเสียง เรื่อง การอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยมีรายละเอียดแต่ละวงรอบ ดังนี้ วงจรปฏิบัติการวงรอบที่ 1 นักเรียนมีความสามารถการอ่านออกเสียง โดยเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 71.05 มีนักเรียนจำนวน 6 คน ผ่านตามเกณฑ์ และมีนักเรียนจำนวน 9 คน ที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์ และวงจรปฏิบัติการวงรอบที่ 2 นักเรียนมีความสามารถการอ่านออกเสียงโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90.92 มีนักเรียนจำนวน 15 คน ผ่านตามเกณฑ์ตามที่ตั้งไว้ได้ทุกคน</p> <p> </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/270606 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อครูนวัตกร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2024-06-06T19:55:53+07:00 อนุพงษ์ กิคอม kicom@kkumail.com ประมุข ชูสอน pramookz@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อครูนวัตกร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 144 คน และครู จำนวน 2,335 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาอุดรธานี รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,479 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน และครู จำนวน 311 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาอุดรธานี รวมทั้งสิ้นจำนวน 331 คน โดยได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับครูนวัตกร สถิติที่ได้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อครูนวัตกร ได้แก่ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือดิจิทัล (X6), การบริหารจัดการองค์กรดิจิทัล (X4), การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (X2), การสื่อสารดิจิทัล (X5), วัฒนธรรมดิจิทัล (X3) และทักษะการเรียนรู้ดิจิทัล (X1) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (ค่าบ่งบอกความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและครูนวัตกร) เท่ากับ 0.915 ซึ่งหมายความว่าตัวแปร ทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน และมีค่าสัมประสิทธิ์อำนาจพยากรณ์ครูนวัตกร (ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อครูนวัตกร) ร้อยละ 83.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถสร้างสมการถดถอย ในรูบคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้</p> <p>สมการในรูปคะแนนดิบ</p> <p>Y = 0.409 + 0.564(X<sub>6</sub>) + 0.130(X<sub>4</sub>) + 0.102(X<sub>2</sub>) + 0.081(X<sub>5</sub>) + 0.070(X<sub>3</sub>) + 0.032(X<sub>1</sub>)</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Zy = 0.643(ZX<sub>6</sub>) + 0.163(ZX<sub>4</sub>) + 0.131(ZX<sub>2</sub>) + 0.105(ZX<sub>5</sub>) + 0.91(ZX<sub>3</sub>) + 0.055( ZX<sub>1</sub>)</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/270726 ตัวบ่งชี้และกลุ่มโปรไฟล์ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ 2024-05-26T09:10:45+07:00 กัญญ์รวี บ่อสุวรรณ 6380006027@student.chula.ac.th ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ duangkamol.t@chula.ac.th สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร choat.cu@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ และ2) เพื่อจัดกลุ่มครูตามระดับความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือน โดยวิธีการวิเคราะห์โปรไฟล์แฝง งานวิจัยนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 ท่าน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และระยะที่ 2 การวิเคราะห์ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ในเขตภาคกลาง จำนวน 144 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถาม ตรวจคุณภาพของเครื่องมือในด้านความตรงเชิงเนื้อหา และความเที่ยงแบบพหุมิติ (Omega=.971-.984) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โปรไฟล์แฝง (latent profile analysis) ด้วยโปรแกรม Mplus เวอร์ชั่น 7.3</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้</p> <p>1. ตัวบ่งชี้ความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ 1) สมรรถนะทางเทคโนโลยีตามโมเดล TPACK 2) ทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยี และ3) ทรัพยากรห้องปฏิบัติการเสมือน โดยสร้างเครื่องมือวัดความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบบลิเคิร์ท ตั้งแต่ 1 - 5 (ไม่เห็นด้วยน้อยที่สุดจนถึงเห็นด้วยมากที่สุด) จำนวน 42 ข้อ</p> <p>2. ผลการจัดกลุ่มครูตามโปรไฟล์ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขตภาคกลาง ตามความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือนของครูวิทยาศาสตร์ สามารถจำแนกครูได้เป็น 3 กลุ่ม (VLMR =219.881, p=0.0965) และ (AIC =2,628.07, BIC=2,740.923 , Adjusted BIC=2,620.681, และค่า Entropy = 0.931) จำแนกกลุ่มครูวิทยาศาสตร์ตามกลุ่มโปรไฟล์ ได้แก่ กลุ่ม 1 คือ กลุ่มครูที่ขาดความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือน (ร้อยละ 14.58) กลุ่ม 2 คือ กลุ่มครูที่ขาดความรู้ และทักษะในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือน (ร้อยละ 50.69) และ กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มครูที่มีความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการเสมือน (ร้อยละ 34.72) </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/270857 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่องการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 2024-06-13T15:28:07+07:00 ณัฐพร พรหมมาศ nutthaporn.prommas@gmail.com ศรินย์พร ชัยวิศิษฎ์ ชัยวิศิษฎ์ fedusoc@ku.ac.th บุญรัตน์ แผลงศร boonrat.p@ku.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือน เรื่องการแก้ปัญหา อย่างเป็นขั้นตอน 2) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีความจริงเสมือนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนสาธิต มศวประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือน เรื่องการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีความจริงเสมือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ dependent sample</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) สื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือน เรื่องการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก</p> <p>2) ผลคะแนนทดสอบวัดความสามารถในแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนมีค่าสูงกว่าคะแนนทดสอบ ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และผลจากความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า การเรียนผ่านสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสมือนทำให้นักเรียนมีความสามารถในการสำรวจและรวบรวมข้อมูล สามารถ ระบุปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดให้ ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนด และสามารถนำแนวทางวิธีการแก้ปัญหาไปใช้สถานการณ์อื่น ๆ ได้</p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/271023 การพัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2024-06-05T19:06:04+07:00 พิมพ์สุพร สุนทรินทร์ pimsuporn@go.buu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด(MOOCs) 2) พัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) และ 3) ศึกษาผลการใช้รายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรูแบบเปด (MOOCs) สำหรับกําลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การพัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) และระยะที่ 3 การทดลองใช้รายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) กลุ่มผู้เข้าร่วมใช้ฯ จำนวน 40 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) และแบบประเมินความพึงพอใจรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นด้านการเขียน (PNIModified = 0.47) มีความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 รองลงมา คือ ด้านการอ่าน (PNIModified = 0.37), ด้านความรู้เบื้องต้นภาษาไทย (PNIModified = 0.29),และด้านปัญหา อุปสรรคและการประยุกต์ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน (PNIModified = 0.16) มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด</p> <p>2.บทเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด(MOOCs) มีประสิทธิภาพเท่ากับ E<sub>1</sub>/ E<sub>2</sub> = 81.45/83.99 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด</p> <p>3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 8.15) (S.D=0.85) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด(MOOCs)ฯ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก. (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 3.93) (S.D=0.73) แสดงให้เห็นว่าการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด BUU MOOCs สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคดิจิทัล </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/271008 ผลของการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การป้องกันโรคติดต่อ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2024-06-10T18:49:54+07:00 พิเชษฐ์ บุ้งทอง pichet.bungthong@g.swu.ac.th ธัญมา หลายพัฒน์ thanma@swu.ac.th พงศธร สุกิจญาณ pongsatorns@swu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ จำนวน 40 คนและกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการจัด การเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัด การเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนกลุ่มทดลองเรียนรู้แบบอริยสัจสี่และกลุ่มควบคุมเรียนรู้แบบปกติด้วยตนเองมีการวัดความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1)กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>2)นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่มีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> 2024-06-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC)