การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานควบคุม : TSIC 33, 36, 37 และ 38

Main Article Content

เป็นธิดา มณีโชติ
จันทนา จันทโร
ไชยะ แช่มช้อย

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยหาค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (specific energy consumption, SEC) ของโรงงานควบคุมตัวอย่างใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตไม้และเครื่องเรือน (TSIC 33) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ (TSIC 36) อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐาน (TSIC 37) และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ (TSIC 38) ด้วยการหาสมการถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย หรือแบบพหุของการใช้พลังงานและปริมาณผลผลิต และประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ด้วยกราฟค่าผลรวมสะสมของความแตกต่าง (cumulative sum of different, CUSUM) เพื่ออธิบายพฤติกรรมการใช้พลังงาน ทำให้เพิ่มความสามารถในการตรวจติดตามประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานของโรงงานต่อไป ส่งผลให้เกิดระบบการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ คือ ข้อมูลการใช้พลังงานของโรงงานควบคุมในกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐานนั้นมีความเสถียร แสดงถึงการจัดการพลังงานที่ดี ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ และอุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยังมีโรงงานที่ต้องเร่งพัฒนาการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ได้สมการตัวแทนการใช้พลังงานและค่า SEC ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถใช้เป็นค่าอ้างอิงสำหรับการใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิตในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานที่มีการผลิตใกล้เคียงกับโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น

 

Energy efficiency analysis of the designated factories : TSIC 33, 36, 37 and 38

The objective of this research is to analyze the energy efficiency by evaluating the specific energy consumption (SEC) of the designated factories for 4 industry sectors ; Wood and furniture (TSIC 33), Non-metallic mineral products (TSIC 36), Primary metal (TSIC 37) and Fabricated metal products, machinery and equipment (TSIC 38). By determined the simple or multiple linear regression equation of energy consumption and production, and also used application of cumulative sum of different (CUSUM) chart to explain the energy consumption behavior. So that it can improve the monitoring energy consumption performance in the past that being approaches to target the energy consumption in the future, lastly effective result in energy management system. The results of this research show the stability of the energy consumption data of the designated factories in Primary metal sectors, due to the good energy management. However, there are some factories in Non-metallic mineral products and Fabricated  metal products, machinery and equipment sectors instantly need to develop the energy management. Moreover, the results give the energy consumption model and SECof each industry sector. These SEC can be used as the reference value of energy consumption per one production unit for the similar production factories to evaluating the energy consumption efficiency.

Article Details

Section
บทความวิจัย