ตัวแบบพยากรณ์ความเร็วลม ตามแนวชายฝั่ง จังหวัดสงขลา
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างตัวแบบพยากรณ์ทางสถิติของความเร็วลมด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการแยกส่วนประกอบของอนุกรมเวลา ข้อมูลความเร็วลมได้ถูกเก็บรวบรวมโดยหน่วยวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์-ลม มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ระดับความสูง 20 เมตร ตามแนวชายฝั่งของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2553 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 ราย 3 ชั่วโมง จำนวน 488 ค่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์ความเร็วลมวันที่ 1 ถึง 31 สิงหาคม 2553 ราย 3 ชั่วโมง จำนวน 248 ค่า การเปรียบเทียบความแม่นยำของ 2 วิธีการพยากรณ์ด้วยเกณฑ์ของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (MSE) ที่ต่ำที่สุด พบว่า วิธีการแยกส่วนประกอบของอนุกรมเวลาในรูปแบบบวกให้ความแม่นยำในการพยากรณ์สูงกว่าวิธีบอกซ์-เจนกินส์
Forecasting Model of Wind Speed along the Coast of Songkhla Province
This study constructs the statistical forecasting models of wind speed by the Box-Jenkins and decomposition methods. The wind speed data were collected by Solar and Wind Energy Research Unit,ThaksinUniversity. Wind speed series at an altitude of 20 meters along the coast of Chana,Songkhla,Thailandduring June 1, 2010 until July 31, 2010 for 3-hours period of 488 observations are used to create the forecasting models of wind speed in August 1–31, 2010 for 3-hours period of 248 observations. Comparison of the accuracy of two forecasting methods with the criterion of minimum mean squared error (MSE) found that, the additive decomposition method gives a higher accuracy in forecasting than the Box-Jenkins method.