ศักยภาพการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เทคโนโลยี ECOARC ในอุตสาหกรรมเหล็กขั้นกลางในประเทศไทย

Main Article Content

ขนิษฐา เกิดพร
วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
อัจฉริยา สุริยะวงค์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีการผลิตเหล็กในด้านการใช้พลังงานของกระบวนการผลิตเหล็กขั้นกลางของประเทศไทย โดยประเมินภาพเหตุการณ์ในอนาคต พ.ศ. 2554-2573 แบ่งกรณีศึกษาเป็น 2 กรณี คือ 1) กรณีอ้างอิงอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีการหลอมด้วยเตาหลอมไฟฟ้า (EAF) 2) กรณีเปลี่ยนเทคโนโลยี นำเทคโนโลยี Ecological and Economical New Generation Arc Furnace (ECOARC) มาใช้แทนเทคโนโลยีในปัจจุบัน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) กรณีอ้างอิง พบว่า มีการใช้เชื้อเพลิงรวมทุกชนิดเชื้อเพลิง เท่ากับ 259.6 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) ในปี พ.ศ. 2553 และเพิ่มขึ้นเป็น 558.4 ktoe ในปี พ.ศ. 2573 โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 1,770 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปี พ.ศ. 2573 2) กรณีเปลี่ยนเทคโนโลยี พบว่า เทคโนโลยี ECOARC มีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงรวมเท่ากับ 407.8 ktoe ในปี พ.ศ. 2573 สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในเตาหลอมได้ 150.6 ktoe และปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 1,287 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งลดลงคิดเป็นร้อยละ 27.28 ในปี พ.ศ. 2573  เมื่อพิจารณาต้นทุนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) พบว่า เทคโนโลยี ECOARC มีค่าใช้จ่ายต่อการปล่อย CO2 ลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายรายปีต่ำกว่าเมื่อเทียบกับภาพเหตุการณ์อ้างอิง ดังนั้นเทคโนโลยี ECOARC สามารถลดการปล่อย CO2 ได้มากกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลให้เมื่อราคาคาร์บอนเครดิตสูงขึ้น สามารถลดต้นทุนการลดการปล่อย CO2 ได้มากขึ้น

 

POTENTIAL OF GREENHOUSE GAS EMISSION REDUCTION BY USING ECOARC TECHNOLOGY IN INTERMEDIATE STEEL INDUSTRY IN THAILAND

Kanittha Kerdporn1, Weerin Wangjiraniran2 and Achariya Suriyawong1

1Department of Environmental Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University

2Energy Research Institute, Chulalongkorn University

The purpose of this study is to evaluate the impact of technology on energy consumption in intermediate steel industry in Thailand by assessing future events during 2011-2030. Case studies are divided into 2 parts—Part 1) Reference scenario on the basis of current technology which is Electric Arc Furnace Technology (EAF) and Part 2) Technological change scenario in which Ecological and Economic New Generation Arc Furnace (ECOARC) replaces the current technology. This study found that 1) in Part 1: Reference scenario, total fuel consumption is 259.6 ktoe in 2010 and will increase to 558.4 ktoe in 2030 (increase 3.6% per year in average). GHGs emission will be 1,770 thousand tons CO2 equivalent in 2030. 2) in Part 2: Technological change, total fuel consumption of ECOARC will be 407.8 ktoe in 2030 which means that electricity consumption in furnace is reduced by 150.6 ktoe. GHGs emission will be 1,287 thousand tons CO2 equivalent in 2030 (27.28 percent less than reference scenario). Besides, abatement cost of CO2 emission in case of ECOARC is decreasing continuously year by year and annual cost is less compared to Reference scenario. Therefore, ECOARC can reduce CO2 emission better than current technology which results in abatement cost reduction if carbon credit price increases.

Article Details

Section
บทความวิจัย