การศึกษารูปแบบการจัดตั้งโรงงานแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง กรณีศึกษา เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดตั้งโรงงานแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง ในพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี โดยปัจจุบันปริมาณขยะชุมชนมีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกปีและยังเป็นปัญหาในการกำจัดอยู่ในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายที่จะนำเอาขยะ มาทำการศึกษาเพื่อนำมาแปรรูปเป็นขยะเชื้อเพลิง ในวิธีการศึกษาได้สำรวจปริมาณขยะและองค์ประกอบของขยะ จากนั้นเลือกประเภทขยะที่จะนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงแล้วนำมาหาค่าความร้อน จากนั้นจึงกำหนดรูปแบบขั้นตอนในการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง พร้อมวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่าพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี มีขยะที่สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบของเชื้อเพลิงขยะทั้งสิ้น 174 ตันต่อวัน โดยเลือก พลาสติก กระดาษ และไม้ เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเชื้อเพลิงขยะ ซึ่งจะใช้ปูนขาวเป็นตัวประสานในการอัดแท่งเพื่อให้ยึดเกาะได้ดี ทั้งนี้โดยมีอัตราส่วน 38 :4 :1 :1 ตามลำดับ เมื่อผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะแล้ว มีกำลังการผลิต เท่ากับ 71.56 ตันต่อวัน ซึ่งให้ค่าความร้อน เท่ากับ 23.79 MJ/KG รูปแบบโรงงานแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงจะมีขั้นตอน 7 ขั้นตอนในการผลิต ซึ่งวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์แล้วพบว่า ที่อัตราคิดลด 10 เปอร์เซ็นต์ มีมูลค่าปัจจุบัน 118,772,598 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับ 30.91 เปอร์เซ็นต์ และมีระยะเวลาคืนทุน 4.11 ปี อายุโครงการ 15 ปี
A Case Study Of A Waste Processing Plant Fuel Establishment In Nonthaburi Municipality, Nonthaburi Province
Kornkamol Saranrom1 and Wittaya Yongcharoen2
1Energy Technology and Management, Graduate School-Interdisciplinary Program, Chulalongkorn University.
2Department of Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University.
This research purposes to study the establishment of a waste processing plant fuel in Nonthaburi area. Currently, the amount of waste tends to increase in every year, and also the problem of eliminating the wastes still has not completely solved. The goal of this research is to bring out the garbage to study and to be processed into Refuse Derived Fuel. The study discovered how the composition of waste and garbage. Then, select the type of waste that will be used to produce fuel and to determine the heat. Then define the procedure for processing waste into fuel with analysis of economic value. The results showed that there are the wastes that can be component of fuel around 174 tons per day in Nonthaburi city area. Plastic, paper and wood waste are selected as raw materials to produce and use lime to be as a emulsifier for briquette to hold tight with a ratio of 38: 4: 1: 1 respectively. Once it processed into waste fuel, it will be able to produce fuel with a capacity of 71.56 tons per day which is equivalent to the heating value 23.79 MJ / KG. There are 7 steps to transform waste into fuel and by economic value analysis founded that the discount rate is 10 percent and net present value equals 118,772,598 baht internal rate of return of 30.91 percent and a payback period of 4.11 years, 15-year project life.