วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu
<p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความทางวิชาการทางศึกษาศาสตร์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ และจากหน่วยงานภายนอกโดยจัดทำเป็นวารสารราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม Print ISSN : 1513-9514 , Online ISSN : 2730-4078</p>
th-TH
<p>ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์</p>
journal.edu.tsu@hotmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิงหา ประสิทธิพงศ์)
journal.edu.tsu@hotmail.com (นางสาวศุกร์พรัตน์ รักษกาญจน์)
Mon, 09 Jan 2023 16:09:57 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
มุมมองของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาการแปล
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259893
<p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการแปล โดยเน้นการศึกษาเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบการเน้นภาระงาน (a task-based learning approach) สำหรับรายวิชาการแปลนั้น ผู้ทำวิจัยพบว่าแม้จะมีการเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกฝนทักษะการแปล แต่การเรียนรู้ในห้องเรียนส่วนใหญ่ยังคงเน้นการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุนี้ ผู้ทำวิจัยจึงมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาการแปลให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการสร้างความรู้และพัฒนาตนเองให้ได้มากที่สุด เนื่องจากทักษะการแปลภาษาถือเป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับสังคมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ภาษาถือเป็นเครื่องมือหรือตัวกลางสำคัญในการขับเคลื่อนการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Kapur, 2014, หน้า 55) ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนิสิตเอกภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี จำนวน 94 คน และอาจารย์ผู้สอนรายวิชาการแปล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสังเกตการเรียนการสอนรายในวิชาการแปล 2) แบบสำรวจพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับนิสิต 3) แบบสัมภาษณ์นิสิต และ 4) แบบสัมภาษณ์อาจารย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และการจัดกลุ่มตามประเด็นที่ศึกษา (qualitative themes) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนิสิตในการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นภาระงานอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.72) 2) นิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในบทบาทของผู้สอนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในห้องเรียนแทนการเป็นผู้บรรยายเนื้อหาเป็นหลักในระดับปานกลาง (x̄ = 2.56) โดยนิสิตจำนวน 57 คนจาก 94 คน (57 %) แสดงความรู้สึกพึงพอใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้สอนแบบพี่เลี้ยงในระดับต่ำ 3) จากข้อที่ 2 อาจารย์ผู้สอนรายวิชาการแปลให้ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้สอนและการเรียนรู้ของนิสิตไปในทิศทางเดียวกันว่า นิสิตที่เรียนในรายวิชาการแปลสามารถปรับตัวเรียนรู้ในรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบการเน้นภาระงานในระดับที่น้อย กล่าวคือ นิสิตยังคงต้องการคำชี้นำและคำอธิบายที่ละเอียดก่อนที่จะทำงานและระหว่างทำงาน โดยผู้สอนให้ความเห็นว่าสาเหตุหลักอาจจะมาจาก 1) ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเองของตัวนิสิตที่มีในระดับน้อย และ 2) ความเคยชินกับการเรียนการสอนแบบมีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ทำให้นิสิตเกิดความไม่มั่นใจในตนเองเมื่อต้องทำการเรียนรู้ ทำงานในการวิเคราะห์บทแปลหรือแปลงานด้วยตนเองในห้องเรียน 3) นิสิตกลัวการตอบผิดหรือวิเคราะห์ผิด</p>
นิชฎารัสมิ์ รักษาสัตย์, อาภรณ์ชนิศ แสงสังข์
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259893
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New Normal เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259894
<p> การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New normal และเพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาครู โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New normal กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2564 โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา จำนวน 25 คน ในรายวิชา ESS 4801 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โปรแกรมวิชาเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โครงการสอนรายวิชา ESS 4801 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาระดับประถมศึกษา ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มี 4 ด้าน มีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New Normal เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจความพร้อม 2) กระตุ้นการคิด 3) ผลิตองค์ความรู้ 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 5) สะท้อนสู่การนำไปใช้ ซึ่งบูรณาการกับการใช้ระบบ LMS ได้แก่ Google classroom และใช้โปรแกรม/แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือดิจิทัล พบว่า นักศึกษาครูมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.28) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการทำงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.38 รองลงมา คือ ด้านการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ย คือ 4.20 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ย คือ 4.14 และที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ย คือ 4.13</p>
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259894
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
การใช้การรู้คิดเพื่อเติมเต็มการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259896
<p>การเรียนรู้แบบสืบเสาะ เป็นยุทธวิธีในการจัดการเรียนการรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ครูวิทยาศาสตร์นิยมใช้ แต่ปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกิดจากการที่นักเรียนมีแนวความคิดเดิมอยู่ก่อนแล้ว และส่วนมากแตกต่างไปจากแนวความคิดของนักวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งขัดขวางการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และยากที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง นอกไปจากนั้นในระหว่างทำการทดลอง นักเรียนทำการทดลองอย่างไม่มีเป้าหมาย ไม่รู้ว่าทำการทดลองไปเพื่ออะไร ซึ่งทำให้นักเรียนไม่ได้รับประสบการณ์เช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ได้รับ การรู้คิดน่าจะเป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมาย การรู้คิด เป็นความสามารถในการตรวจสอบการคิดของตนเอง รู้และเข้าใจว่าตัวเองรู้อะไร และไม่รู้อะไร ดังนั้นหากบุคคลใดมีการรับรู้และเข้าใจอย่างชัดเจนในการรู้คิดของตนเองหรือการมีความตระหนักรู้ในการรู้คิดอยู่ในตนเอง ก็จะสามารถกำกับตนเองให้ไปสู่เป้าหมายได้ ในบทความนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรู้คิดที่จะช่วยเติมเต็มในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ซึ่งการรู้คิดช่วยในการพัฒนาการเรียนวิทยาศาสตร์ และเป็นประโยชน์ในเรื่องประสิทธิภาพในการรับรู้และการเข้าใจ การรู้คิดยังสามารถประยุกต์และขยายแนวความคิดและเพิ่มทักษะความคิดที่ยาก ๆ ได้</p>
ฉันชัย จันทะเสน
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259896
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259904
<p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียน ระหว่างครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิจำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าจำนวน 10 ข้อ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนีความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของครูวิทยาศาสตร์ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีความต้องการจำเป็นมากกว่าครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และการปฏิบัติที่เอื้อต่อการแสดงออกและการอภิปรายความรู้เดิมของนักเรียนเป็นความจำเป็นที่ต้องการพัฒนามากที่สุด</p>
สุริยะ คุณวันดี, อุษณี ลลิตผสาน
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259904
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
การปรับตัว และแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ของครูคหกรรมศาสตร์ การศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259900
<p>การแพร่ระบาดของโควิด -19 ก่อให้เกิดวิถีปกติใหม่ โดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจัดการเรียนรู้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวและแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ของครูคหกรรมศาสตร์การศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) กับครูคหกรรมศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เป็นครูประจำการ โรงเรียนสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีประสบการณ์การสอนในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 3 ปี อยู่กลุ่มสาระการงานอาชีพ มีประสบการณ์ในการสอนช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ครูคหกรรมศาสตร์จัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ใน 3 ช่วงแตกต่างกันตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาด คือจัดการเรียนรู้แบบออนไซต์ แบบผสมผสาน และแบบออนไลน์ 100 % ครูคหกรรมศาสตร์มีการปรับตัวใน 1) การประสานงานกับผู้ปกครอง และติดตามนักเรียนจากเพื่อน ครูที่ปรึกษา และครูประจำชั้นมากขึ้น 2) ปรับลดเนื้อหาให้กระชับสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบันในชีวิตจริง 3) มีความยืดหยุ่นในการประเมินผล ชิ้นงานที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เปิดโอกาสให้เลือก แต่สอดคล้องกับตัวชี้วัดการเรียนรู้ 4) การเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทางการศึกษา และผลิตสื่อการเรียนรู้ ครูคหกรรมศาสตร์ มีแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง การวางตัวที่เข้ากับวัยของนักเรียน การเป็นครูที่ขยัน และใส่ใจนักเรียน ปรับเนื้อหาให้มีความยืดหยุ่นเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ทันสมัย ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ลดชิ้นงานโดยบูรณาการหลายหน่วยการเรียนรู้ ใช้แนวคิดบ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ การใช้แอปพลิเคชันทางการศึกษาในการผลิตสื่อและจัดระบบสารสนเทศของนักเรียน การประเมินผลที่มีความยืดหยุ่นตามสภาวะของนักเรียน ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน และนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินการจัดการเรียนรู้ของครู</p>
นฤมล ศราธพันธุ์, , สุวิมล อุไกรษา, คันธารัตน์ ยอดพิชัย
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259900
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคัน ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259908
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีปัญหาการออกกลางคัน มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 4) ประเมินระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย </p>
จาริยา สุทธินนท์, มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, ศรีสุดา วนาลีสิน
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259908
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
การรับรู้และการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรีชาวไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259911
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษทั้งคำบุพบทอิสระและคำบุพบทไม่อิสระของนิสิตระดับปริญญาตรีชาวไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาโท จำนวน 50 คน จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบการรับรู้ (การตัดสินเกี่ยวกับไวยากรณ์) และการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษ (การเขียน) ทั้งคำบุพบทอิสระและคำบุพบทไม่อิสระ โดยเครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้นำมาจากเครื่องมือวิจัยของเรืองจรูญ (2558) ข้อสอบแต่ละข้อในแบบทดสอบทั้ง 2 ชุดเป็นข้อสอบแบบคู่ขนานกัน งานวิจัยนี้ได้ใช้การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ<em> (</em><em>Paired Sample T</em>-<em>test</em>) ในการเปรียบเทียบคะแนนการรับรู้และการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษทั้งคำบุพบทอิสระและคำบุพบทไม่อิสระของนิสิตกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า นิสิตได้คะแนนการรับรู้คำบุพบทภาษาอังกฤษสูงกว่าคะแนนการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษ นอกจากนี้นิสิตยังได้คะแนนการรับรู้คำบุพบทและการใช้คำบุพบทอิสระสูงกว่าคำบุพบทไม่อิสระอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามคะแนนที่ได้ไม่สูงมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่านิสิตมีปัญหาในการตัดสินและการเลือกใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษคำทั้งคำบุพบทอิสระและคำบุพบทไม่อิสระให้ถูกต้อง</p>
สุวิมล ใจยศ
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259911
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
ความเข้าใจของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับอภิความรู้การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259913
<p>อภิความรู้การสร้างแบบจำลอง เป็นแนวคิดพื้นฐานทางแบบจำลองที่ทำให้ทราบธรรมชาติและเป้าหมายทางญาณวิทยาของแบบจำลองในเชิงชัดแจ้ง แนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญเทียบเท่ากับแนวคิดการปฏิบัติทางแบบจำลอง ซึ่งทั้งสองแนวคิดจำเป็นต้องศึกษาและพัฒนาไปอย่างคู่ขนาน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของการมีสมรรถนะการสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อจัดกลุ่มและหาระดับความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองของผู้เรียน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองจัดอยู่ในกลุ่มผู้เริ่มต้น (ระดับที่ 1) ในทุกมุมมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองด้านความรู้ในการรู้คิดของกระบวนการสร้างแบบจำลอง สำหรับข้อค้นพบในมุมมองทั้งสองด้านมีดังนี้ 1) ด้านความรู้ในการได้มาซึ่งแบบจำลองพบว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองและวัตถุประสงค์ของแบบจำลองเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเข้าใจว่าแบบจำลองเป็นเพียงสื่อการเรียนรู้ที่เลียนแบบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดความชัดเจนเข้าใจได้ง่าย ผู้เรียนไม่เข้าใจว่าแบบจำลองสามารถนำไปใช้ทำนายปรากฏการณ์ รวมถึงไม่เข้าใจว่า สมการทางคณิตศาสตร์จัดเป็นประเภทหนึ่งของแบบจำลอง และ 2) ด้านความรู้ในการรู้คิดของกระบวนการสร้างแบบจำลองพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่เข้าใจว่านักวิทยาศาสตร์มีกระบวนการสร้างแบบจำลองเหมือนกับขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอนทุกประการ อย่างไรก็ตามผู้เรียนไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการดังกล่าวกับขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ได้ รวมถึงในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมากระบวนการที่ผู้เรียนใช้สร้างแบบจำลองอยู่ในลักษณะของกระบวนการออกแบบชิ้นงานประดิษฐ์ทั่วไปซึ่งไม่สอดคล้องกับกระบวนการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์</p>
ณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล, ชาตรี ฝ่ายคำตา
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259913
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
ทักษะชีวิตและอาชีพสู่การเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตของประชาชน บริบทอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259915
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในบริบทพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1. สังเคราะห์ทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) รวมทั้งร่วมสนทนากลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มผู้นำชุมชน/ประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 2. ตรวจสอบคุณภาพทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยการสนทนากลุ่มและสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และพิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยการวิเคราะห์สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li class="show">1. ผลการสังเคราะห์ทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมกับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 21 ทักษะ ดังนี้ 1) การคิดแปลกใหม่และการปรับตัวตามสถานการณ์ 2) ความคิดออกแบบ <br>3) ทักษะความฉลาดทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 4) ความไวต่อการรับรู้และตีความหมาย 5) การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล 6) การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ 7) การรู้เท่าทันสื่อสมัยใหม่ 8) การประเมินศักยภาพของตนเองและเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 9) การพัฒนาและปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและผู้อื่น 10) ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ 11) ภาวะผู้นำ 12) ความเชี่ยวชาญในการผลิต 13) การบูรณาการข้ามศาสตร์ 14) การใฝ่รู้ 15) การบริหารจัดการ 16) การพัฒนาให้ยั่งยืน 17) การคิดคำนวณทางการเงิน 18) การตลาด 19) การสื่อสาร 20) การใช้ภาษาต่างประเทศ 21) การสร้างเครือข่าย</li> <li class="show">2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยพิจารณาตามเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) 3.51 ขึ้นไป และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) น้อยกว่า 1.00 พบว่า ทุกทักษะมีความถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในการวัดทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) ระหว่าง 4.17 – 4.59 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ระหว่าง 0.63 – 0.87</li> </ol>
เมธี ดิสวัสดิ์, ธนิยา เยาดำ
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259915
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
ประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259916
<p>ประเด็นด้านจริยธรรมในการเรียนรู้ออนไลน์เริ่มมีตั้งแต่มีการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ทางไกลในระบบการศึกษา โดยการเรียนรู้ออนไลน์มีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ สามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง มีค่าใช้จ่ายที่ถูก มีความยืดหยุ่น และสะดวกสบายในการเข้าชั้นเรียนหรือร่วมชั้นเรียนในพื้นที่ของตนเอง อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านจริยธรรมเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาโดยผู้นำด้านการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูและนักเรียน</p> <p> บทความฉบับนี้ค้นหาปัญหาทางจริยธรรมจากเทคโนโลยีในการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งได้ทำการศึกษาจากการวิเคราะห์ของงานวิจัยล่าสุด จำนวน 6 เรื่อง โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้นำเสนอประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีในการเรียนรู้ออนไลน์ 3 ประเด็น ได้แก่ การทุจริตทางวิชาการ ความเหมาะสมของเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยี รวมถึงการยินยอมและการรักษาความลับ ซึ่งผลการศึกษาปรากฏว่า การร่วมมือกันเพื่อคัดลอกและทุจริตทางวิชาการโดยใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างการสอบเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในกรณีการทุจริตในระบบการศึกษา</p> <p> นอกจากนี้ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) อย่างไม่เท่าเทียม ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพการศึกษาที่ลดลง การขาดทักษะด้านดิจิทัล ความแตกต่างของทางเลือกด้านดิจิทัล ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีและความล้าสมัย เป็นประเด็นที่ถกเถียงถึงเรื่องของความเหมาะสมและการใช้งานของเทคโนโลยี ในขณะที่ในขณะที่การใช้การวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนและการประเมินข้อมูลสาธารณะกลับเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความยินยอมและการรักษาความลับ</p> <p> งานวิจัยฉบับนี้ สามารถช่วยให้นักเรียน และนักการศึกษาได้สะท้อนและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับทุจริตทางวิชาการ การยินยอม การรักษาความลับ ความเหมาะสมและความเข้ากันได้ของเทคโนโลยี และสร้างการดำเนินการเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ในขณะที่เพิ่มการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อให้บริการการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการโน้มน้าว การสร้าง หรือการเสริมสร้างนโยบาย กฎ ระเบียบ และการพัฒนาทางวิชาชีพต่อไป</p>
Junwerlo Ng, Russell Rodrigo
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259916
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส ที เอ ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259917
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส ที เอ ดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส ที เอ ดี 2) แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ในรายวิชาฟิสิกส์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test for dependent sample , t-test for one samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีพัฒนาการความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสูงขึ้นจากเดิม และ 3) นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (3.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 </p>
นวพร พรหมพิลา, เกริก ศักดิ์สุภาพ
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259917
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารอาเซียนที่มีต่อการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม ของเด็กปฐมวัย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259919
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารอาเซียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นเด็กชั้นอนุบาลจำนวน 9 คน ที่กำลังศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1- 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดขนอน(ศรัทธาสุวรรณราษฎร์อุปถัมภ์) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารอาเซียน และแบบสังเกตพฤติกรรมการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยมีการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมสูงขึ้นหลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารอาเซียน โดยด้านการเข้าใจวัฒนธรรมตนเองมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.00 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 9.00 รองลงมาคือด้านการเข้าใจวัฒนธรรมผู้อื่น มีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.22 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 9.00 และด้านการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมมีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.11 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 8.67 ตามลำดับ</p>
นันท์นภัสร์ พันธุวงศ์, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259919
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่เชื่อมโยงการบูรณาการข้ามศาสตร์ ในห้องเรียนของครูสังคมศึกษา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259884
<p>การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการบูรณาการข้ามศาสตร์ในห้องเรียนของครูสังคมศึกษา โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกันสังเกตปรากฏการณ์ที่สนใจ และพบได้ในโลกแห่งความเป็นจริงในเชิงสหวิทยาการ เพื่อนำไปสู่การอภิปรายกลุ่มร่วมกันในมุมมองที่กว้างขึ้น ตลอดจนให้ผู้เรียนทราบประเด็นความสนใจ ปัญหา และตั้งข้อสงสัยภายใต้บริบทของปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ โดยมีขั้นตอนกระบวนการ 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เลือกปรากฏการณ์สังคมที่น่าสนใจ ขั้นที่ 2 สังเกตปรากฎการณ์สังคมร่วมกัน ขั้นที่ 3 สืบค้นข้อมูลปรากฏการณ์สังคม ขั้นที่ 4 ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ขั้นที่ 5 นำเสนองานและสะท้อนคิด และขั้นที่ 6 ประเมินตามสภาพจริง โดยแต่ละขั้นตอนสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การได้ลงมือปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p>
วิภาพรรณ พินลา , วิภาดา พินลา
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259884
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700
-
สมรรถนะดิจิทัล: สมรรถนะใหม่สำหรับครูยุคปัจจุบัน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259887
<p>ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของครูในยุคดิจิทัลไม่ใช่เพียงความสามารถในการใช้สื่อ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนรู้ แต่ครูในยุคนี้จำเป็นต้องมีสมรรถนะดิจิทัล ซึ่งหมายถึงชุดของทักษะหรือแหล่งรวมทักษะที่มีการผสมผสานระหว่าง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ เหมาะสม ปลอดภัย และมีจริยธรรม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดกรอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูไทยอย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากประเทศในกลุ่มยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังนั้นบทความนี้จึงขอนำเสนอองค์ประกอบของสมรรถนะดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้สำหรับครูที่ได้จากการศึกษากรอบแนวคิดของต่างประเทศซึ่งประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมวิชาชีพ 2.การสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ 3.การจัดการทรัพยากรดิจิทัลทางการศึกษา 4.การวัดประเมินผล 5.การสอนและการเรียนรู้ 6.การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน และ 7.จริยธรรมและความปลอดภัย</p>
กิตติพศ โกนสันเทียะ, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, เอกภูมิ จันทรขันตี, เอกรัตน์ ทานาค
Copyright (c) 2022
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259887
Wed, 28 Dec 2022 00:00:00 +0700