วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu
<p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความทางวิชาการทางศึกษาศาสตร์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ และจากหน่วยงานภายนอกโดยจัดทำเป็นวารสารราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม Online ISSN : 3027-8368</p>
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
th-TH
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
3027-8368
<p>ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์</p>
-
การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ 2 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268952
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาในรายวิชาภูมิศาสตร์ 2 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภูมิศาสตร์ 2 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาในการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Inquiry Process) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ 2 ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนผ่านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H อยู่ในระดับที่มากที่สุด</p>
ณัศรุฒน์ หลีหนุด
กิตตธัช คงชะวัน
ชวนพิศ ชุมคง
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
1
13
10.55164/jedutsu.v24i2.268952
-
การใช้กลวิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ (Picture Decoding) เพื่อพัฒนาความสามารถและความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268760
<p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษร่วมกับการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนพร้อมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนพร้อมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 4 จำนวน 36 คน ในส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ และแบบประเมินความพึง พอใจการจัดจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้คำนวณ เป็น ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบไม่เป็นอิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 60/60 โดยใช้สูตร E1/E2 <br /> ผลวิจัยพบว่า 1) การใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเรียน แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ เพื่อพัฒนาความสามารถและความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีค่าประสิทธิภาพที่ค่าเท่ากับ 80/79.7 ซึ่งประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเรียนสูงกว่าก่อนเรียนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้เกมถอดรหัสภาพ เพื่อพัฒนาความสามารถและความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษในระดับมาก</p>
อังศุมาลิน คงชล
ณัฐนันท์ ทองมาก
อุราภรณ์ มหารงค์
นิธิกร ธรรมขันธ์
พูลเกียรติ มงคลสวัสดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
14
25
10.55164/jedutsu.v24i2.268760
-
การใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลการติดตามดูแลนักศึกษา ในยุคดิจิทัล ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268345
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา การติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล 2) พัฒนาระบบจัดการข้อมูลการติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อระบบจัดการข้อมูลการติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล 4) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการยอมรับระบบจัดการข้อมูลการติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้หลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบของ ADDIE model และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการยอมรับตามทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรม 5 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ 45 คน และนักศึกษา จำนวน 455 คน โดยทำการสนทนากลุ่มในกลุ่มตัวอย่างที่ 1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา การติดตามดูแลนักศึกษาในยุคดิจิทัล และให้กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ใช้งานระบบ จากนั้นประเมินความพึงพอใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการยอมรับ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br /> ผลการวิจัยพบว่า การสนทนากลุ่ม ผู้ใช้มีความต้องการให้พัฒนาระบบในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย สามารถบันทึกข้อมูล ค้นหาข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้บนระบบออนไลน์ โดยผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับมาก และผลศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการยอมรับระบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 อยู่ในระดับมาก โดยขั้นรับทราบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ขั้นสนใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ขั้นประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ขั้นทดลองใช้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และขั้นยอมรับมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย</p>
นิชาภา จำปาศรี
ญาณิศา วงษ์สมบัติ
พินิจ ขอดสันเทียะ
ณัฐพงษ์ จัตุรเขษม
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
26
41
10.55164/jedutsu.v24i2.268345
-
การบริหารจัดการสภาวะทางอารมณ์ของนักศึกษากลุ่มเจเนอเรชัน Z คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/269191
<p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดกลุ่มสภาวะทางอารมณ์ของกลุ่มนักศึกษาเจเนอเรชัน Z คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการสภาวะทางอารมณ์ของกลุ่มนักศึกษาเจเนอเรชัน Z คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 62 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม คำถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1) ผลการจัดกลุ่มสภาวะทางอารมณ์ของกลุ่มนักศึกษาเจเนอเรชัน Z ได้แก่ 1.1) กลุ่มที่มีความกดดันหรือแรงกระตุ้นต่อสุขภาวะจิต 1.2) กลุ่มเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้โกรธหรือเสียใจบ่อย ๆ รู้สึกอับอายและเครียด รู้สึกอิจฉาหรือเดือดร้อน 1.3) กลุ่มเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้โกรธหรือเสียใจบ่อย ๆ รู้สึกอับอายและเครียด รู้สึกอิจฉาหรือเดือดร้อน และ 1.4) กลุ่มเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทาย <br /> 2) แนวทางในการบริหารจัดการสภาวะทางอารมณ์ของนักศึกษากลุ่มเจเนอเรชัน Z โดยกระบวนการการตระหนักรู้อารมณ์ (Emotional Awareness) การควบคุมอารมณ์ (Emotional Regulation) และการใช้กิจกรรมจัดการอารมณ์ (Activity for Emotional Management) เพื่อสุขภาพจิตใจ การใช้เทคนิคการหายใจ การให้เวลาให้กับตัวเอง และการพิจารณาอารมณ์เป็นต้นเป็นวิธีที่ช่วยให้ตนเองควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีผลต่อความสำเร็จในชีวิตประจำวันของตนเอง</p>
รักษ์ทวี เถาโต
กิตติรัตน์ เกษตรสุนทร
จิตรา ดุษฎีเมธา
ขนิษฐา สาลีหมัด
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
42
55
10.55164/jedutsu.v24i2.269191
-
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/266517
<p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสม ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 2) ศึกษาประสิทธิผลด้านการอ่านออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบ โฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสม กับเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ <br /> ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสมของนักเรียน หลังการพัฒนากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 พบว่า ผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนรายบุคคลจากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ผลคะแนนต่ำสุดร้อยละ 70 ผลคะแนนสูงสุดร้อยละ 100 คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 90.67 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินผ่านที่ผู้วิจัยกำหนดไว้พบว่านักเรียนทั้ง 30 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคนคิดเป็นร้อยละ 100 และค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินผ่านที่ผู้วิจัย กำหนดไว้คือร้อยละ 50 พบว่าผลค่าดัชนีประสิทธิผลต่ำสุดร้อยละ 50 ผลค่าดัชนีประสิทธิผลสูงสุดร้อยละ 100 ผลค่าดัชนีประสิทธิผลรวมร้อยละ 83.98 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินพบว่านักเรียนทั้ง 30 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคนคิดเป็นร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่าหลังการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเสียงสระผสมในภาษาอังกฤษ มีประสิทธิผลด้านการอ่านร้อยละ 50 ขึ้นไป</p>
นัสรีน นิเงาะ
ฟิตเราะห์ หัดขะเจ
นูรอลินา ตยุติวุฒิกุล
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
56
69
-
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยใช้ English Language Speech Assistant Application (ELSA Speak) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268774
<p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชั่น ELSA Speak ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้แอปพลิเคชั่น ELSA Speak ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแอปพลิเคชั่น ELSA Speak ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการสื่อสารในชีวิตประจำวันร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยใช้ แอพพลิเคชั่น ELSA Speak ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ซึ่งใช้เวลาจัดกิจกรรมทั้งหมด 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้แอพพลิเคชั่น ELSA Speak ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ((x)) ̅ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบไม่อิสระ (t-test dependent sample) และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องมือตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การใช้แอปพลิเคชั่น ELSA Speak ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มีประสิทธิภาพที่ค่าเท่ากับ 80.69/81.03 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโดยใช้แอปพลิเคชั่น ELSA Speak ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันในระดับมากที่สุด</p>
วิริยา ตรีกุล
ณัฐนันท์ ทองมาก
นิธิกร ธรรมขันธ์
เจตริน อาชาฤทธิ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
70
84
10.55164/jedutsu.v24i2.268774
-
การพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยใช้วิธีสอนแบบจอลลี่โฟนิกส์ ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนนานาชาติในระบบบริทิช ในภาคใต้
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/266628
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้วิธีสอนแบบจอลลี่โฟนิกส์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ดังนี้ 1.1) เปรียบเทียบทักษะด้านการฟัง ก่อนและหลังเรียน 1.2) เปรียบเทียบทักษะด้านการพูด ก่อนและหลังเรียน 1.3) เปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านออกเสียง ก่อนและหลังเรียน และ 1.4) เปรียบเทียบทักษะด้านการเขียน ก่อนและหลังเรียน และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้วิธีสอนแบบจอลลี่โฟนิกส์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนนานาชาติเซาท์เทิร์น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 12 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้วิธีสอนแบบจอลลี่โฟนิกส์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบภาษาอังกฤษ 3) แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติดังนี้ หาค่าเฉลี่ย (Mean) หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สูตร The Wilcoxon signed - rank test ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ที่ใช้วิธีสอนแบบจอลลี่โฟนิกส์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนชั้นอนุบาล 2 มีความพึงพอใจต่อการการเรียนรู้ด้วยใช้วิธีสอนแบบจอลลี่โฟนิกส์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p>
ศุภธิดา จุลสิทธิ์
วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน
นพเก้า ณ พัทลุง
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
85
97
10.55164/jedutsu.v24i2.266628
-
การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการจัดการเรียนรู้ ด้วย Color Vowel® Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268983
<p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel<sup>®</sup> Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลประเมินการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel<sup>®</sup> Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel<sup>®</sup> Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak, แบบประเมินทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และแบบประเมินทัศนคติและความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า T-Test แบบไม่อิสระ (T-Test Dependent Samples)<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้เรียนหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel<sup>®</sup> Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01, 2) ทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้เรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel<sup>®</sup> Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak มีการพัฒนาในทิศทางเชิงบวกสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผู้เรียนมีทัศนคติและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วย Color Vowel<sup>®</sup> Approach ร่วมกับแอพพลิเคชั่น ELSA Speak ในระดับเห็นด้วยอย่างมาก</p>
พิมพกานต์ บุญทองแก้ว
ณัฐนันท์ ทองมาก
บงกช จันทร์สุข
พูลเกียรติ มงคลสวัสดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
98
110
10.55164/jedutsu.v24i2.268983
-
การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัต
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268516
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความกลมกลืนโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิกีฬาปันจักสีลัต จำนวน 12 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักกีฬาปันจักสีลัตและผู้ฝึกสอนจากสโมสรสมาชิกของสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย จำนวน 311 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบปลายปิด <br /> เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัต ซึ่งพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณลักษณะทางด้านสรีรวิทยา 2) คุณลักษณะทางด้านจิตใจ 3) คุณลักษณะทางด้านสังคม 4) คุณลักษณะทางด้านเทคนิค และ 5) คุณลักษณะทางด้านความสามารถทางสมอง รวมทั้งสิ้น 30 ข้อคำถาม แบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 <br /> ผลการวิจัยพบว่า โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัตมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องดังนี้ x^2 = 2.535, p-value = 0.469, x^2/df = 0.845, SRMR = 0.013, RMSEA = 0.000, GFI = 0.995, AGFI = 0.974, CFI = 1.000 <br /> องค์ประกอบทั้ง 5 ด้านมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.70 - 0.83 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.27 - 0.70 โดยองค์ประกอบด้านความสามารถทางสมองมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด ในขณะที่องค์ประกอบด้านจิตใจมีค่าต่ำที่สุด <br /> ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแบบวัดคุณลักษณะนักกีฬาปันจักสีลัตที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกและพัฒนานักกีฬาปันจักสีลัตได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
ณธพล ทองธนภัทร
ชนิตา ไกรเพชร
สมรรถชัย คันธมาทน์
กฤษดา แก้วยก
ศิริพร มยะกุล
จุฑาทิพย์ ทองฉิม
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
111
125
10.55164/jedutsu.v24i2.268516
-
การมีส่วนร่วมของสถาบันศึกษาปอเนาะกับภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย: กรณีศึกษาสถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบ ในจังหวัดปัตตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268935
<p> งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการมีส่วนร่วมของสถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบกับภาคีเครือข่าย และ 2) องค์ประกอบที่ทำให้สถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบประสบความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และการศึกษาเอกสาร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถานศึกษาปอเนาะต้นแบบกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 1) การวางแผนร่วมกัน ได้แก่ การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การออกแบบการใช้ทรัพยากรตามบริบทของปอเนาะ การสื่อสารแผนและปฏิทินการจัดกิจกรรม และการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน 2) การดำเนินการร่วมกัน ได้แก่ การเตรียมสถานที่ กลุ่มเป้าหมาย วัสดุ สื่อและอุปกรณ์ การสนับสนุนวิทยากร การประชาสัมพันธ์กิจกรรม และการพัฒนาและบำรุงรักษาแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน 3) การประเมินผลร่วมกัน ได้แก่ การร่วมพูดคุยผลลัพธ์ของกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การติดตามและประเมินผลเป็นระยะ และการร่วมสรุปรายงานผล 4) การรับผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ การร่วมยินดีกับรางวัลที่ได้รับและการรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น สำหรับองค์ประกอบที่ทำให้สถาบันศึกษาปอเนาะต้นแบบประสบความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คือ การมีวิสัยทัศน์ในการบริหารของผู้บริหาร การวางระบบบริหารจัดการที่เป็นรูปธรรมอย่างประสิทธิภาพ การสื่อสารกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน</p>
นินัสรี นิเงาะ
วรภาคย์ ไมตรีพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
126
138
10.55164/jedutsu.v24i2.268935
-
การศึกษาเรื่องกฎการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab และแอปพลิเคชัน Xcos
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268984
<p>ได้ทำการศึกษาเรื่องกฎการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีโดยใช้แอปพลิเคชัน Xcos ที่มีอยู่ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแสดงลักษณะของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่มีลักษณะช้าหรือเร็วแตกต่างกันในรูปของกราฟแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจและง่ายต่อการนำไปใช้ในการเรียนการสอน และยังได้ทำการศึกษาลักษณะของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีแบบต่อเนื่องที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากอีกด้วย ในระหว่างการศึกษา ผู้วิจัยยังได้เปรียบเทียบลักษณะของกราฟที่ได้จากศึกษาวิจัยกับรูปกราฟที่ได้จากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab โดยตรง พบว่า ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันทุกประการ นอกจากนี้ ยังได้นำรูปกราฟที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวนี้ไปจัดทำเป็นแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่องกฎการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีแล้วนำไปทดลองใช้กับนิสิตชั้นปีที่ 3 หลักสูตร กศ.บ. วิชาเอกฟิสิกส์ คณะศึกษาศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบสุ่ม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และคำนวณค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.) ได้ร้อยละ 88 ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่าแอปพลิเคชัน Xcos ที่มีอยู่ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Scilab มีความเหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมการเรียนการสอนของรายวิชาฟิสิกส์ในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี</p>
อัชฌาศัย อำนาจ
ประสงค์ เกษราธิคุณ
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
139
152
10.55164/jedutsu.v24i2.268984
-
ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/266821
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม 2) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 275 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ปีการศึกษา 2566 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .982<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากสูงไปต่ำ คือ การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษา การสร้างวัฒนธรรมองค์กร การสร้างบรรยากาศองค์กร การสื่อสารภายในสถานศึกษา การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม วิสัยทัศน์ กลยุทธ์และเป้าหมาย และการจัดโครงสร้างองค์กร ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมตามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ครูที่มีอายุและปฏิบัติงานในขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความต้องการจำเป็นในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .001 ตามลำดับ และครูที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความต้องการจำเป็นในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางในการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดการส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในวิสัยทัศน์ พันธกิจและแผนปฏิบัติการประจำปี, กระตุ้นและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร, สร้างบรรยากาศการเรียนรู้และวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำทางวิชาการ และสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อความต้องการเพื่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ</p>
วณิชยา แก้วสุข
สุนทรี วรรณไพเราะ
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
153
165
10.55164/jedutsu.v24i2.266821
-
ความต้องการและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการอัตลักษณ์ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/268116
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการอัตลักษณ์ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลพื้นฐานโดยทบทวนวรรณกรรม สอบถามความต้องการของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคีภาคใต้ 5 สถาบัน ที่ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 60 คน สำรวจความคิดเห็นของครูสอนภาษาไทย จำนวน 39 คน และสัมภาษณ์ครูสอนภาษาไทยระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) <br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการของนักศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.43, SD = 0.62) 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรมี 6 แนวทาง ได้แก่ (1) การพัฒนาจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นและอภิปัญญา (2) การพัฒนามโนทัศน์การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการเชิงสร้างสรรค์และวงจรปฏิบัติงานแบบ PDCA (3) การฝึกอบรมฐานสมรรถนะเชื่อมโยงแนวคิดสู่การปฏิบัติ (4) การพัฒนาสมรรถนะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (5) การใช้เทคโนโลยี สนับสนุนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบผสมสานและการเรียนรู้ส่วนบุคคล และ (6) การสะท้อนผลการพัฒนาร่วมกันในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ</p>
ศึกษา เบ็ญจกุล
ประภาศรี เพชรมนต์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
166
180
10.55164/jedutsu.v24i2.268116
-
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง สารพันธุกรรม ที่มีต่อสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/266110
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง สารพันธุกรรม และนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง สารพันธุกรรม และนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้อง รวม 48 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจับฉลากห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาชีววิทยา เรื่อง สารพันธุกรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผน เวลารวม 18 ชั่วโมง และแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบปกติ 2) แบบวัดสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารพันธุกรรม และ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ เรื่อง สารพันธุกรรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง สารพันธุกรรม สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง สารพันธุกรรม สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ปภาดา บุญสิน
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
181
194
10.55164/jedutsu.v24i2.266110
-
ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ ในวิชาชีววิทยา เรื่อง วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/269036
<p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนสตรีพัทลุง จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2566 ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที (Paired t-test) <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเกมวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 75.63/76.09 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียน พบว่า คะแนนก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 40 และคะแนนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 70 ดังนั้น คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เปรียบเทียบผลการวัดความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 33.96 และคะแนนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 74.90 ดังนั้น คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ชนะจิตร แสงคงเรือง
สุพัฒน์ บุตรดี
จิราภรณ์ เหมพันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-10
2024-12-10
24 2
195
205
10.55164/jedutsu.v24i2.269036