https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/issue/feed
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2024-06-12T00:00:00+07:00
อาจารย์ ดร.รุ่งทิพย์ แซ่แต้
rungthip@tsu.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความทางวิชาการทางศึกษาศาสตร์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ และจากหน่วยงานภายนอกโดยจัดทำเป็นวารสารราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม Online ISSN : 3027-8368</p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/263869
การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยใช้ทีมเป็นฐาน ในรายวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะเบื้องต้น
2023-11-16T08:55:38+07:00
จริยภัทร รัตโณภาส
jariyapat.ra@psu.ac.th
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนออนไลน์โดยใช้ทีมเป็นฐาน (online TBL) ใน รายวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะเบื้องต้น และศึกษาจุดแข็ง-ปัญหาของ online TBL เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากประชากรผู้เรียน 70 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและแบบจำลองถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละการศึกษาเนื้อหาล่วงหน้ามีผลต่อคะแนนรายบุคคล (iRAT) คะแนนปลายภาค คะแนนรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 .05 และ .05 ตามลำดับ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก เกรดเฉลี่ยสะสมมีผลต่อ iRAT คะแนนปลายภาค คะแนนรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ในทุกๆ ตัวแปรตาม ความเร็วอินเตอร์เน็ตมีผลต่อ iRAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ ความเหมาะสมของเนื้อหาที่ศึกษาล่วงหน้ามีผลต่อคะแนนปลายภาคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .1 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ จุดเด่นของ online TBL คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวินัย ได้ศึกษาเนื้อหาหลายครั้ง ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำ การสื่อสาร สำหรับปัญหา พบว่า ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในการศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าทำให้เมื่อได้รับมอบหมายงานจากหลายวิชาผู้เรียนจึงไม่มีเวลาที่จะศึกษาเนื้อหาได้เต็มที่ และเวลาในชั้นเรียน 1.20 ชั่วโมง บางครั้งไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมให้ครบตามขั้นตอน TBL</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/265440
การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
2024-03-07T12:53:58+07:00
เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ
akesit.ch@gmail.com
พลวัฒน์ ดำรงกิจภากร
akesit.ch@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 2) ประเมินการสร้างนวัตกรรม 3).ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 แผนวิทยาศาสตร์ –คณิตศาสตร์ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินนวัตกรรม 3) แบบประเมินทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 4) แบบสอบถามพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นระบุปัญหา 2) ขั้นศึกษาหาความรู้ 3) สร้างแบบจำลอง 4) ขั้นตอนการดำเนินงาน 5) ขั้นปรับปรุงและแก้ไขแบบจำลอง และ 6) ขั้นขยายผล และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.75/80.10 2) ผลการประเมินการสร้างสรรค์นวัตกรรม พบว่า นวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอยู่ในระดับดีมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.65 , S.D = 0.49) และทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมอยู่ในระดับดีมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.62 , S.D. = 0.48) และ3) ผลการศึกษาความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.10 , S.D. = 0.80)</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/265385
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี
2023-10-19T10:12:23+07:00
วราลี ถนอมชาติ
waralee.t@rbru.ac.th
เกศิณี ศิริสุนทรไพบูลย์
waralee.t@rbru.ac.th
ญาณิศา บุญพิมพ์
waralee.t@rbru.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ <br /> กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5-6 ปี ของโรงเรียนวัดดอนตาล จำนวน 21 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (MU.EF101) และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติร้อยละ (%) <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีทั้งหมด 5 ชุดกิจกรรม ได้แก่ 1) นักจดจำ 2) นักยับยั้ง 3) นักคิด 4) นักควบคุม และ 5) นักวางแผน แต่ละชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ชื่อกิจกรรม 2) คำชี้แจง 3) จุดประสงค์การเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ มีประสิทธิภาพ 82.30/82.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. ผลการเรียนรู้พบว่า หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3. ผลการจัดลำดับความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน พบว่า กิจกรรม/เกมที่ได้รับความพึงพอใจเป็นลำดับที่ 1 ของแต่ละชุดกิจกรรม ได้แก่ Chicken Cha Cha Cha, Zingo, Space V.1, Falling Monkeys Game และ Fold-it</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/263593
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อท้องถิ่นของเรา โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2023-10-19T07:53:04+07:00
วศิน ชูชาติ
wasin_010@yahoo.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อท้องถิ่นของเราโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อท้องถิ่นของเราโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ 1) ชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อท้องถิ่นของเรา จำนวน 4 ชุด มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.23 – 0.79 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.32 – 0.69 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ เท่ากับ .939 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อท้องถิ่นของเรา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม จำนวน 43 คน <br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อท้องถิ่นของเราโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 83.49/ 81.51 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อท้องถิ่นของเราโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/260703
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการประกอบคอมพิวเตอร์และติดตั้งซอฟต์แวร์โดยใช้เกม PC Building Simulator ของนักศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยชุมชนยะลา ในสถานการณ์ Covid-19 ระบาด
2023-11-06T10:33:25+07:00
อิสมาแอล มะสาแม
isamail@ycc.ac.th
มะยูตี ดือรามะ
isamail@ycc.ac.th
<p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการประกอบคอมพิวเตอร์และติดตั้งซอฟต์แวร์โดยใช้เกม PC Building Simulator และเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการประกอบคอมพิวเตอร์และติดตั้งซอฟต์แวร์โดยใช้เกม PC Building Simulator ของนักศึกษาระดับอนุปริญญา ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในช่วงสถาณการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2564 วิทยาลัยชุมชนยะลา จำนวน 27 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามผลการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการประกอบคอมพิวเตอร์และติดตั้งซอฟต์แวร์โดยใช้เกม PC Building Simulator วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เกม PC Building Simulator ในรายวิชาการประกอบคอมพิวเตอร์และติดตั้งซอฟต์แวร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการจัดการการเรียนรู้โดยใช้เกม PC Building Simulator โดยรวมอยู่่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.47)</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/260997
การพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนละแมวิทยา จังหวัดชุมพร
2023-05-15T16:06:45+07:00
สุนิสา เพชรรัตน์
sunisapet11@gmail.com
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป
sunisapet11@gmail.com
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
sunisapet11@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนละแมวิทยา ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ และ 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้งที่พัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มที่ศึกษา เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง แบบวัดสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ อนุทินสะท้อนความคิด ใบกิจกรรมของนักเรียน และแบบบันทึกประสบการณ์การเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา <br /> ผลการวิจัยปรากฎว่า 1) หลังการจัดการเรียนรูด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง นักเรียนทุกคนมีการพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์สูงขึ้น ความสามารถที่นักเรียนมีพัฒนาการมากที่สุด คือ ความสามารถการแปลงข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบหนึ่งไปสู่ รูปแบบอื่น นักเรียนมีความสามารถอยู่ในระดับดี ร้อยละ 21.62 และระดับผ่าน ร้อยละ 72.97 และ 2) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ (1) การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกแบบตารางบันทึกผลกิจกรรมและได้แปลงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทำให้นักเรียนมีโอกาสพิจารณาข้อมูลมากกว่าหนึ่งครั้งและสามารถเลือกหลักฐานจากข้อมูลมาสนับสนุนข้อสรุปและเชื่อมโยงเหตุผลได้ และ (2) การที่นักเรียนแปลงข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ และเชื่อมโยงหลักฐานเข้าด้วยกัน ทำให้นักเรียนสามารถลงข้อสรุปได้</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/262761
การเรียนรู้แบบผสมผสานบน Platform DBAC Style เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับต้นแบบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2024-01-25T16:00:47+07:00
พัชรินทร์ เศรษฐีชัยชนะ
hongsettee@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้และเพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาจากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบน Platform DBAC Style เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว สำหรับต้นแบบครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 57 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดรับสมัครตามความสมัครใจ การออกแบบการศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองสำหรับแบบกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน แบบทดสอบผลลัพธ์การเรียนรู้และแบบทดสอบประเมินทักษะการแก้ปัญหา เวลาที่ใช้ในการทดลองเท่ากับ 15 ชั่วโมง ผลการวิจัย พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบน Platform DBAC Style เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 95.18/92.74 ผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้ เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว (หลังเรียน) เท่ากับ 92.74 คะแนน (ร้อยละ 92.74) ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์มีระดับความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบประเมินทักษะการแก้ปัญหา (หลังเรียน) เรื่อง สมการกำลังสองตัวแปรเดียว เท่ากับ 80.68 คะแนน (ร้อยละ 80.68) ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์มีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/261053
การรับรู้และการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา
2023-05-02T08:56:07+07:00
ณัฏฐ์วิชิดา เลิศพงศ์รุจิกร
fedupppi@ku.ac.th
ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง
fedupppi@ku.ac.th
วีณา ยาไทย
fedupppi@ku.ac.th
ธีรภพ ชาดวง
fedupppi@ku.ac.th
มนตรี แจ้งมงคล
fedupppi@ku.ac.th
คันธารัตน์ ยอดพิชัย
fedupppi@ku.ac.th
มณฑิชา อุไรพงษ์
fedupppi@ku.ac.th
นฤมล ศราธพันธุ์
fedupppi@ku.ac.th
อุทุมพร อินทจักร์
fedupppi@ku.ac.th
<p> การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะทางวิชาชีพครูของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี กลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ นิสิตครูในสถาบันผลิตครูแห่งหนึ่ง จำนวน 168 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 112 คน และอาจารย์นิเทศก์จำนวน 46 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการรับรู้สมรรถนะทางวิชาชีพครูของนิสิต และแบบประเมินสมรรรถนะทางวิชาชีพครูโดยครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์หลังจากสิ้นสุดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแฟ้มสะสมผลงานของนิสิต <br /> ผลการวิจัยพบว่านิสิต ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ส่วนมากมีความเห็นตรงกันว่านิสิตมีสมรรถนะด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพ ต่อสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนิสิตมีการรับรู้สมรรถนะทางวิชาชีพครูของตนเองระดับมากที่สุด ในด้านการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล (ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.64) ส่วนครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์มีความคิดเห็นว่านิสิตส่วนมากมีสมรรถนะทางวิชาชีพครูมากที่สุด ในด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ต่อวิชาชีพ ต่อผู้รับบริการ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพ ต่อสังคม (ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.56) ในด้านของปัญหาพบว่านิสิตส่วนมากระบุถึงปัญหาด้านการจัดการชั้นเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาเฉพาะ และความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พบว่าเกี่ยวกับช่วงเวลาในการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียนและการประสานงานและวางแผนร่วมกันระหว่างสถาบันผลิตครูและสถานศึกษา ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้สำหรับสถาบันผลิตครูคือควรมีเกณฑ์การประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและบริบทของนิสิต ผู้สอน และสถานศึกษา และใช้เวลาในการศึกษาสมรรถนะของนิสิตครูให้ยาวขึ้นเนื่องจากการพัฒนาสมรรถนะเป็นสิ่งต้องใช้เวลา</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/260719
การสร้างและประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรมสื่อการสอน เรื่องกายวิภาคพื้นฐานของสัตว์ โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
2023-04-19T13:32:03+07:00
วรวิทู มีสุข
worawitoo.m@rmutsv.ac.th
วีระเกียรติ ทรัพย์มี
worawitoo.m@rmutsv.ac.th
เพียงออ ยีสา
worawitoo.m@rmutsv.ac.th
คมสัน นันทสุนทร
worawitoo.m@rmutsv.ac.th
เสาวลักษณ์ บุญรอด
worawitoo.m@rmutsv.ac.th
<p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อการสอนเรื่องกายวิภาคพื้นฐานของสัตว์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) นำสื่อการสอนมาใช้ในวิชาชีววิทยาแทนการใช้สัตว์<br />ทดลอง 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสื่อการสอน ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยที่เรียนรายวิชาชีววิทยาในปีการศึกษา 2565 แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 26 คน และกลุ่มทดลอง 24 คน โดยสุ่มตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการสอนประกอบการใช้สื่อ 2) สื่อการสอนเรื่องกายวิภาคพื้นฐานของสัตว์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ<br /> ผลจากการศึกษาพบว่านักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p = 0.00) โดยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความต่างของคะแนน 12.31±3.84 และ 7.58±5.42 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลัง เรียน และความต่างคะแนนก่อนและหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (p = 0.00) โดยคะแนนสอบหลังเรียนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือ 20.10±2.96 และ 13.92±4.04 ตามลำดับ ความต่างคะแนนสอบก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมคือ 12.31±3.84 และ 7.58±5.42 ตามลำดับ นอกจากนี้นักศึกษายังมีความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนรู้ในระดับ ดีมาก (4.96 ± 0.04) สื่อการสอนกายวิภาคพื้นฐานของสัตว์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ดี และเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของสื่อนี้คือใช้ไม่ได้กับอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่นที่ไม่รองรับแอพพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/263457
การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย “วิถีชีวิต วัฒนธรรมและ ประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ
2023-10-17T13:34:11+07:00
นพเก้า ณ พัทลุง
nop_pakao@hotmail.com
<p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย“วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย“วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ รูปแบบและเนื้อหาที่ใช้สร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ เป็นบันเทิงคดีมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีภาคใต้ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ปีพุทธศักราช 2565-2566 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบประเมินความเหมาะสมของหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย“วิถีชีวิตวัฒนธรรมและประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ สถิติที่ใช้ ได้แค่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยในส่วนนี้ทำให้ได้หนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย“วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีภาคใต้” สำหรับชาวต่างชาติ จำนวน 1 เล่ม ประกอบด้วย 10 บท ผลการประเมินของหนังสือ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/265274
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของคุณลักษณะนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ
2023-10-19T17:35:46+07:00
วรากร วารี
jaa.kmitl@gmail.com
<p><span style="font-size: 0.875rem;"> </span>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพคุณลักษณะด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญา และ 3) นำเสนอโมเดลรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา ตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 164 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .81 ค่าความเที่ยงตรงรายข้อ .67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ó) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) <br /><span style="font-size: 0.875rem;"> </span>ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้เป็น 9 องค์ประกอบ 24 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจำแนกนักเรียน จิตวิทยา การแก้ปัญหา การออกแบบกิจกรรม การพัฒนาสุขภาพ การสื่อสาร และการปรับตัวและยอมรับ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 7.35, 6.58, 6.44, 5.39, 8.82, 8.59, 6.51, 6.41 และ 5.07 ตามลำดับ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนรวมทั้งสิ้นร้อยละ 61.213<br /> 2. </span><span style="font-size: 0.875rem;">ผลการวิเคราะห์สามารถนำเสนอเป็นโมเดล “รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษาสาขาวิชา พลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ (4K5A)” จำแนกเป็นสภาพคุณลักษณะด้านความรู้ 4 องค์ประกอบ และสภาพคุณลักษณะด้านทักษะทางปัญญา 5 องค์ประกอบ</span></p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/261699
ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว
2023-07-27T13:41:52+07:00
จุรีรัตน์ หนองหว้า
Jureerat@vru.ac.th
ปวริศา เลิศวิริยะประสิทธิ์
pawarisa@vru.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในสถานศึกษา ขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว จำนวน 400 คน โดยการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ทำการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างโดยทดสอบค่า t-test และ F-test หรือ one-way Anova <br /> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.75 อายุ 41 – 50 ปี ร้อยละ 50.50 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา / หรือเทียบเท่า ร้อยละ 48.50 ความสัมพันธ์กับนักเรียนเป็นบิดา / มารดา ร้อยละ 85.75 และเป็นผู้ปกครองอาศัยอยู่ในจังหวัดสระแก้ว ร้อยละ 85.25 ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.61) โดยด้านการชี้นำ อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.63) รองลงมาคือ ด้านการสร้างความสอดคล้องไปในทางเดียวกัน อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.61) และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.60, S.D. = 1.24) ตามลำดับ ส่วนการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครองที่มีต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า อายุ ระดับการศึกษา ความสัมพันธ์ของผู้ปกครองกับนักเรียน และจังหวัดที่ผู้ปกครองอาศัยอยู่ ต่างกัน ผู้ปกครองมีความคาดหวังต่อภาวะการนำของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาขนาดเล็ก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/266033
ความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
2023-12-07T16:37:28+07:00
วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน
withawats@hotmail.com
กิตติธัช คงชะวัน
withawats@hotmail.com
กิตติรัตน์ เกษตรสุนทร
torn.fanclub@gmail.com
วศินี ทาสุวรรณ
withawats@hotmail.com
ศุภธิดา จุลสิทธิ์
withawats@hotmail.com
<p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเลือกอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาและเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบระดับความคาดหวังในการเลือกประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ประชากรในการวิจัยครั้ง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่กำลังศึกษาปีการศึกษา 2566 จำนวน 164 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติต่างๆ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test, One – Way ANOVA <br /> ผลการวิจัยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีความต้องการเลือกประกอบอาชีพครู/บุคลากรในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน รองลงมาผู้ตัดสินกีฬา/ผู้จัดการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนกีฬา นักกกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมสุขภาพ นักสรีรวิทยาการออกกำลังกาย ตามลำดับ และจากการศึกษาความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา พบว่า ระดับความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยผลทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ และ ชั้นปีการศึกษา ต่างกัน มีความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประเภทการรับเข้า เกรดเฉลี่ยสะสม เงินเดือนที่คาดหวัง ต่างกัน มีความคาดหวังในการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/264718
สมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย
2023-10-18T16:56:05+07:00
นาคิน คำศรี
prawitt@go.buu.ac.th
ประวิทย์ ทองไชย
prawitt@go.buu.ac.th
รังสฤษฏ์ จำเริญ
prawitt@go.buu.ac.th
ไพโรจน์ สว่างไพร
prawitt@go.buu.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทยขั้นตอนที่ 1 ผลของการศึกษาแนวคิดทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องศึกษากับสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำข้อมูลจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย ขั้นตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย ขั้นตอนที่ 3 ผลของการนำเสนอความเป็นไปได้ของสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย และสรุปผลการวิจัยโดยจัดประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะ โดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ (Modified Delphi Technique) ด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน จำนวน 2 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และโดยจัดประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิในรูปแบบสนทนากลุ่ม (Focus group) จำนวน 8 คน <br /> ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะมาตรฐานสำหรับครูมวยไทย มีจำนวน 9 สมรรถนะ 36 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) ความรู้และการทำงานแบบมืออาชีพ (2) การทำงานร่วมกับผู้อื่น (3) จริยธรรมและจรรยาบรรณครูมวยไทย (4) การทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย (5) การพัฒนาตนเอง (6) การจัดการเรียนรู้ (7) ภาวะผู้นำครูมวยไทย (8) ความสัมพันธ์ความร่วมมือและความรับผิดชอบต่อสังคม (9) การพัฒนานักมวย</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/262340
MOOC: ระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต
2023-06-12T16:06:10+07:00
ธีรัช ดวงจิโน
teerat.td@gmail.com
<p>ตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาเป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญ ต่อการศึกษา เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศการเรียนรู้จากเดิมทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดเป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning Ecosystem) ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาในระบบที่เรียกว่า การเรียนออนไลน์ (e-learning) ซึ่งเป็นระบบการเรียนที่ออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากทุกที่ ทุกเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามเนื้อหาที่ต้องการเรียนได้ด้วยตัวเอง MOOC เป็นรูปแบบ การเรียนออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักและกำลังเป็นที่นิยมของประชาคมโลกและสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะ ในระดับอุดมศึกษา และเป็นรูปแบบที่ตอบสนองการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ภายใต้หลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) ที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างทั่วถึง ง่ายและสะดวก เนื่องจากเป็น การเรียนในระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต MOOC ยังช่วยลดปัญหาการเรียนการสอนในห้องเรียนโดยเฉพาะชั้นเรียนขนาดใหญ่ที่การสื่อสารไม่ทั่วถึงและมีจำนวนผู้เรียนมาก นอกจากนั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ โดยไม่ต้องทิ้งงานประจำ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เนื่องจากเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาตามต้องการ</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ