TY - JOUR AU - สุขนฤเศรษฐกุล, ณภัทร AU - ฝ่ายคำตา, ชาตรี PY - 2022/12/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ความเข้าใจของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับอภิความรู้การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ JF - วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ JA - J EDU TSU VL - 22 IS - 2 SE - DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259913 SP - 119-132 AB - <p>       อภิความรู้การสร้างแบบจำลอง เป็นแนวคิดพื้นฐานทางแบบจำลองที่ทำให้ทราบธรรมชาติและเป้าหมายทางญาณวิทยาของแบบจำลองในเชิงชัดแจ้ง แนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญเทียบเท่ากับแนวคิดการปฏิบัติทางแบบจำลอง ซึ่งทั้งสองแนวคิดจำเป็นต้องศึกษาและพัฒนาไปอย่างคู่ขนาน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของการมีสมรรถนะการสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อจัดกลุ่มและหาระดับความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองของผู้เรียน  <br />        ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองจัดอยู่ในกลุ่มผู้เริ่มต้น (ระดับที่ 1) ในทุกมุมมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองด้านความรู้ในการรู้คิดของกระบวนการสร้างแบบจำลอง สำหรับข้อค้นพบในมุมมองทั้งสองด้านมีดังนี้ 1) ด้านความรู้ในการได้มาซึ่งแบบจำลองพบว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองและวัตถุประสงค์ของแบบจำลองเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเข้าใจว่าแบบจำลองเป็นเพียงสื่อการเรียนรู้ที่เลียนแบบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดความชัดเจนเข้าใจได้ง่าย ผู้เรียนไม่เข้าใจว่าแบบจำลองสามารถนำไปใช้ทำนายปรากฏการณ์ รวมถึงไม่เข้าใจว่า สมการทางคณิตศาสตร์จัดเป็นประเภทหนึ่งของแบบจำลอง และ 2) ด้านความรู้ในการรู้คิดของกระบวนการสร้างแบบจำลองพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่เข้าใจว่านักวิทยาศาสตร์มีกระบวนการสร้างแบบจำลองเหมือนกับขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอนทุกประการ อย่างไรก็ตามผู้เรียนไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการดังกล่าวกับขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ได้ รวมถึงในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมากระบวนการที่ผู้เรียนใช้สร้างแบบจำลองอยู่ในลักษณะของกระบวนการออกแบบชิ้นงานประดิษฐ์ทั่วไปซึ่งไม่สอดคล้องกับกระบวนการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์</p> ER -