TY - JOUR AU - สุทธินนท์, จาริยา AU - พิพัฒน์เพ็ญ, มณฑนา AU - พุฒสุขขี, ทวีศักดิ์ AU - วนาลีสิน, ศรีสุดา PY - 2022/12/28 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย JF - วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ JA - J EDU TSU VL - 22 IS - 2 SE - DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259908 SP - 93-107 AB - <p>        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีปัญหาการออกกลางคัน มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 4) ประเมินระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การตอบแบบสอบถาม ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาที่ออกกลางคัน ปีการศึกษา 2563 จานวน 60 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างเป็นรองอธิการบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนงานที่รับผิดชอบงานกิจการนิสิตนักศึกษา งานวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้รับผิดชอบ งานแนะแนว ให้คำปรึกษา และนิสิตนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 – 4 จานวน 54 คน ทำการสนทนากลุ่มผู้แทนมหาวิทยาลัย จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการดูแลนิสิตนักศึกษา เพื่อประเมินระบบ จำนวน 6 คน <br />        ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษา มากที่สุด ได้แก่ ด้านนิสิต นักศึกษา (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.80) รองลงมา ได้แก่ ด้านหลักสูตร (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 2.79) ความคาดหวังในชีวิตด้านการเรียน ลำดับที่ 1 สำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ร้อยละ 31.67 <br />        ระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่การดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในระบบ ประกอบด้วย 1) ระดับมหาวิทยาลัย ผู้บริหารผลักดันให้เป็นนโยบายระดับมหาวิทยาลัย และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม กำหนดให้มีผู้บริหารรับผิดชอบงานโดยตรง กำหนดให้มีเกณฑ์และสัดส่วนค่าคะแนน การประเมินกระบวนการดำเนินงานในระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของคณะ สำนักวิชา อย่างเป็นรูปธรรม 2) ระดับหน่วยงาน ฝ่ายกิจการนักศึกษาและฝ่ายวิชาการ เอื้อให้นิสิตนักศึกษาที่มีความเสี่ยงหรือ มีปัญหาสามารถพัฒนาตนเอง ตามความรับผิดชอบของหน่วยงาน เชื่อมโยงระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันกับนิสิตนักศึกษาที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีศูนย์เชื่อมโยงการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของมหาวิทยาลัยที่ทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน 3) ระดับคณะ สำนักวิชานำนโยบายมหาวิทยาลัยสู่การปฏิบัติผ่านกลไกสนับสนุน พัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือนิสิตนักศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนนิสิตนักศึกษาที่มีความเสี่ยงและมีปัญหาการออกกลางคันเป็นไปตาม แผน 4) อาจารย์ที่ปรึกษาพัฒนาความเป็นครู บุคลิกเข้าถึงง่าย พัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา วางแผนการศึกษา เชื่อมโยงเครือข่ายภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในการดูแลนิสิตนักศึกษา 5) ครอบครัวติดตามสนับสนุนเชิงบวกกับ นิสิตนักศึกษา มีทักษะการสื่อสารเชิงบวกในการดูแลนิสิตนักศึกษา ดูแลช่วยเหลือ ติดตาม สนับสนุนนิสิตนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง 6) เพื่อนช่วยเพื่อน เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดสมรรถนะการดูแลช่วยเหลือตนเอง และเพื่อนในด้านการเรียนและการใช้ชีวิต และเชื่อมโยงกับอาจารย์ที่ปรึกษา คณะ สำนักวิชา</p> ER -