TY - JOUR AU - พร้อมมูล, จิรารัตน์ AU - สุวรรณราช, มาริสา AU - เพิงใหญ่, ชุติมา AU - เนลสัน, วรงรอง AU - วงค์ประดิษฐ, สาวิตรี PY - 2022/06/15 Y2 - 2024/03/28 TI - ความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยใช้ CIPP Model JF - วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ JA - J EDU TSU VL - 22 IS - 1 SE - DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/257140 SP - 79-92 AB - <p>        การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยใช้ CIPP Model วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาพยาบาลศาสตรชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษา ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยใช้ CIPP Model  โดยผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า IOC เท่ากับ 0.95 ค่าสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติ โดยคำนวณ ค่าความถี่ ร้อยละ ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตร บัณฑิต โดยคำนวณ ค่าเฉลี่ย (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) <br />        ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ด้านที่พึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านอาจารย์ผู้สอน  (M = 4.64, S.D. = 0.44 รองลงมา คือ ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (M=4.61, S.D. = 0.53) ด้านที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (M = 4.18, S.D= 0.61) ) แยกรายด้านตาม CIPP Model ดังนี้ <br />        1. ด้านการประเมินบริบท (Context) คือ ด้านหลักสูตรในระดับมากที่สุด (M = 4.54, S.D. = 0.43) <br />        2. ด้านประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) คือ ด้านการรับนักศึกษาและการเตรียมความพร้อมในระดับมากที่สุด (M = 4.49, S.D. = 0.45) ด้านการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาในระดับมากที่สุด (M = 4.45, S.D. = 0.51) ด้านอาจารย์ผู้สอน ในระดับดีมากที่สุด (M = 4.64, S.D. = 0.44) และด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในระดับมาก (M = 4.18, S.D. = 0.61) <br />        3. ด้านประเมินกระบวนการ (Process) คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด (M = 4.55, S.D. = 0.46) และมีความพึงพอใจด้านด้านการวัดและประเมินผลในระดับมากที่สุด (M = 4.48, S.D. = 0.50) <br />        4. ด้านประเมินผลิตผล (Product) คือ ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรระดับมากที่สุด (M = 4.61, S.D. = 0.45) <br />        ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจด้านอาจารย์ผู้สอนมากที่สุดโดยสามารถแบ่งออกได้  3 ลักษณะ ดังนี้ <br />        1) อาจารย์ผู้สอนมีความหลากหลาย 2) อาจารย์มีความรู้ที่ทันสมัยและมีความพร้อม และ 3 ) อาจารย์มีความเป็นกัลยาณมิตร ความพึงพอใจน้อยที่สุด ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ความพึงพอใจในด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้น้อยที่สุดโดยแบ่งได้เป็น  2 ลักษณะ ดังนี้ 1) ความไม่เพียงพอของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2) ความยุ่งยากของระบบยืม-คืนหนังสือ  <br />        ดังนั้นทางวิทยาลัยมีการพัฒนาระบบบริการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพิ่มจำนวนหนังสือตำราที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอและมีความสะดวกในการยืม-คืน หนังสือ ตำราแก่นักศึกษามากยิ่งขึ้น</p> ER -