TY - JOUR AU - อยู่เกิด, เรวัตร AU - แช่มช้อย, สุกัญญา PY - 2022/06/15 Y2 - 2024/03/29 TI - ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม JF - วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ JA - J EDU TSU VL - 22 IS - 1 SE - DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/257138 SP - 67-78 AB - <p>       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม ประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท จำนวน 13 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 11 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 10 คน และครูจำนวน 205 คน รวมจำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการจัดลำดับ ความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>) <br />       ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท ตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.413) และ มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.688) ตามลำดับ ขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (PNI<sub>modified</sub> = 0.383) ซึ่งมีองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมั่นคงทางอารมณ์ (PNI<sub>modified</sub> = 0.408) รองลงมา คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI<sub>modified</sub> = 0.379) ซึ่งมีองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมั่นคง ทางอารมณ์  (PNI<sub>modified</sub> = 0.409) และขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การวัดและประเมินผล (PNI<sub>modified</sub> = 0.363) ซึ่งมีองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมั่นคงทางอารมณ์  (PNI<sub>modified</sub> = 0.391) ทั้งนี้โรงเรียนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้วางแผนแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร  พัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ที่ส่งเสริมทักษะทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียน</p> ER -