@article{ดิสวัสดิ์_เยาดำ_2022, title={ทักษะชีวิตและอาชีพสู่การเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตของประชาชน บริบทอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา}, volume={22}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/259915}, abstractNote={<p>         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในบริบทพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้   1.  สังเคราะห์ทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) รวมทั้งร่วมสนทนากลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มผู้นำชุมชน/ประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 2. ตรวจสอบคุณภาพทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยการสนทนากลุ่มและสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และพิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยการวิเคราะห์สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />         ผลการวิจัย พบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;">         1. ผลการสังเคราะห์ทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมกับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 21 ทักษะ ดังนี้ 1) การคิดแปลกใหม่และการปรับตัวตามสถานการณ์ 2) ความคิดออกแบบ </span><span style="font-size: 0.875rem;">3) ทักษะความฉลาดทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 4) ความไวต่อการรับรู้และตีความหมาย 5) การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล 6) การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ 7) การรู้เท่าทันสื่อสมัยใหม่ 8) การประเมินศักยภาพของตนเองและเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 9) การพัฒนาและปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและผู้อื่น 10) ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ 11) ภาวะผู้นำ 12) ความเชี่ยวชาญในการผลิต 13) การบูรณาการข้ามศาสตร์ 14) การใฝ่รู้ 15) การบริหารจัดการ 16) การพัฒนาให้ยั่งยืน 17) การคิดคำนวณทางการเงิน 18) การตลาด 19) การสื่อสาร 20) การใช้ภาษาต่างประเทศ 21) การสร้างเครือข่าย<br />         </span><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยพิจารณาตามเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ( ) 3.51 ขึ้นไป และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) น้อยกว่า 1.00 พบว่า ทุกทักษะมีความถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในการวัดทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชน โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) ระหว่าง 4.17 – 4.59 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ระหว่าง 0.63 – 0.87</span></p>}, number={2}, journal={วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ}, author={ดิสวัสดิ์ เมธี and เยาดำ ธนิยา}, year={2022}, month={ธ.ค.}, pages={133–146} }