@article{ภู่ดอก_ใจมั่น_สิทธิรักษ์_2019, title={การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น}, volume={19}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/208414}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย  เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย  เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางทางการเรียน  แบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้  แบบสอบถามความเห็นของครู ผู้บริหารมีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้</p> <p> </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">1. องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)หลักการแนวคิดทฤษฎี 2) จุดประสงค์ของรูปแบบ 3)สาระการเรียนรู้ 4) ขั้นตอนการสอน 5) การวัดและประเมินผล        และขั้นตอนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มี 5 ขั้นตอนคือ  ขั้นสร้างความสนใจ (Create interest:C)   ขั้นสำรวจปัญหา (Explore the problem : E) ขั้นสืบค้นความรู้ (Serching for knowledge:S) ขั้นลงข้อสรุป (Conclusion: C) และขั้นประเมินผล (Evaluation :E)</li> </ol> <p>ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย  โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อนำไปทดลองนำร่องที่โรงเรียนฉลองรัฐราษฎร์อุทิศ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 39 คน  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัยที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ กล่าวคือ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <ol start="2"> <li class="show">2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li class="show">3. ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า</li> </ol> <p>3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  </p> <p>3.2 นักเรียนมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  </p> <p>3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับมาก</p> <p>3.4 ครู ผู้บริหารมีความเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong>  รูปแบบการจัดการเรียนรู้   โครงงานบนฐานวิจัย  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ</p> <p> </p>}, number={2}, journal={วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ}, author={ภู่ดอก ศุภรัตน์ and ใจมั่น ประกอบ and สิทธิรักษ์ หัสชัย}, year={2019}, month={ธ.ค.}, pages={46–55} }