@article{วังแก้วหิรัญ_อ้นเกษม_เพียรจัด_พูลสวัสดิ์_ชนะจีนะศักดิ์_2019, title={การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้: กรณีโรงเรียนในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา}, volume={19}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/169757}, abstractNote={<p>        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่เหมาะสมของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอ     บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 21 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น   42 คนผลการวิจัยปรากฎดังนี้<br>        1) ผลของกระบวนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกผลการศึกษาออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 2) การบริหารจัดการเวลาเรียน 3) ลักษณะของกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และ 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์จากการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้<br>        2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และปัจจัยสนับสนุนในการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ มี 5 ขั้น คือ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจความรู้เดิม ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ขั้นตอน ที่ 3 การวางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการและกำกับตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ และ ขั้นตอนที่ 5 การสรุปองค์ความรู้ ทั้งนี้พบว่า ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนพบว่า ทุกองค์ประกอบ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ และพบว่าความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของรูปแบบกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบกับการวัดและประเมินผล มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุดโดยผู้เชี่ยวชาญทุกคนมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน</p>}, number={1}, journal={วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ}, author={วังแก้วหิรัญ ทิพย์วิมล and อ้นเกษม พรทิพย์ and เพียรจัด ดรัณภพ and พูลสวัสดิ์ เกษมพัฒน์ and ชนะจีนะศักดิ์ ประภาพร}, year={2019}, month={ส.ค.}, pages={71–86} }