@article{แซ่แต้_แย้มกสิกร_2018, title={การพัฒนาระบบสารสนเทศ e-CLIP สำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการสู่มาตรฐานสากลในเครือข่ายโรงเรียน EIS (English for Integrated Studies)}, volume={17}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/118142}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การพัฒนาระบบสารสนเทศ e-CLIP เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการสู่มาตรฐานสากลในเครือข่ายโรงเรียน EIS (English for Integrated Studies) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันในการติดตาม ประเมินผลการพัฒนาผู้บริหารและครูรายบุคคลในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการผ่านระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) พัฒนาด้วยภาษา PHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL ผลการพัฒนาระบบ พบว่า  ระบบที่พัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนของเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ ประกอบด้วย  6 ระบบย่อย  ดังนี้  1.1 ระบบบันทึกข้อมูลโครงการ 1.2 ระบบการตรวจสอบผู้ลงทะเบียน  1.3 ระบบติดตามผลการดำเนินงานของครู 1.4 ระบบจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน1.5 ระบบจัดการข้อมูลโรงเรียน  1.6  ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ 2) ส่วนของครูที่เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย 5 ระบบย่อย ดังนี้ 2.1 ระบบบันทึก/ปรับปรุงประวัติ  2.2 ระบบลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 2.3 ระบบบันทึกข้อมูลที่ปรึกษา พี่เลี้ยงและเพื่อนครู 2.4 ระบบบันทึกข้อมูลการดำเนินงาน 2.5 ระบบตรวจสอบข้อมูลการดำเนินงาน   จากการทดสอบและใช้งานจริงของระบบสารสนเทศ e-CLIP  พบปัญหาและอุปสรรค ดังนี้ 1)  ปัญหาความล่าช้าของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถานที่ฝึกอบรม ส่งผลให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่สามารถทดสอบระบบได้ทั้งหมด  2) การพัฒนาระบบถูกจำกัดด้วยระยะเวลา  ผู้ใช้งานไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนา  ระบบสารสนเทศที่ได้มีความซับซ้อน  จึงเป็นอุปสรรคต่อผู้ใช้งานบางกลุ่มที่ยังไม่มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเท่าที่ควร 3) ครูบางส่วนไม่สามารถเข้าระบบสารสนเทศ e-CLIP ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนได้ ซึ่งเป็นปัญหาในเชิงเทคนิคของเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเครือข่ายของโรงเรียน 4) การเปลี่ยนแปลงระบบหลังการพัฒนา ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของระบบฐานข้อมูล ทำให้ไม่สามารถแก้ไขระบบตามความต้องการได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการติดตาม ประเมินผลการพัฒนาผู้บริหารและครูรายบุคคลในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการผ่านระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ได้จริง และมีครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเข้าใช้งานระบบมากกว่า 3,000 คน</p>}, number={2}, journal={วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ}, author={แซ่แต้ รุ่งทิพย์ and แย้มกสิกร มนตรี}, year={2018}, month={เม.ย.} }