TY - JOUR AU - Palanukulwong, Thanyapa PY - 2022/04/30 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาความตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบ PSU-TEP ด้านการอ่าน: รูปแบบกระบวนการคิดด้านการอ่าน JF - วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี JA - JEDUPSU VL - 33 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/243693 SP - 170-183 AB - <p>ข้อกังวลประการหนึ่งของแบบทดสอบคือแบบทดสอบได้วัดสิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าความตรงเชิงโครงสร้างของข้อสอบทักษะการอ่านของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักวิจัยใช้ข้อมูลทางวาจาที่รวบรวมจากการกระตุ้นการเรียกความจำคืน ของผู้เข้าสอบที่มีความสามารถทางภาษาระดับสูงจำนวน 16 คน ซึ่งทำข้อสอบการอ่านในการจัดสอบที่ใช้ข้อสอบคู่ขนานรวม 4 ครั้ง เพื่อศึกษากระบวนการรู้คิดและกลวิธีที่ใช้ระหว่างทำข้อสอบ ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวม กลวิธีการอ่านที่กลุ่มตัวอย่างนำมาใช้บ่อยที่สุดในการหาคำตอบที่ถูกต้องคือ <em>กลวิธีการอ่านอย่างช้า ๆ และพินิจพิจารณาในระดับย่อหน้าและระดับบทอ่าน</em> กลวิธีที่ใช้รองลงมาคือ <em>การตัดตัวเลือกทิ้ง การใช้ความรู้ด้านคำศัพท์ การกวาดหาคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันในคำถามและบทอ่าน และการอ่านอย่างช้า ๆ และอย่างพินิจพิจารณาในระดับประโยค </em>กลวิธีเหล่านี้ถูกพบในการทำข้อสอบทั้ง 4 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าข้อสอบทักษะการอ่านของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วัดทักษะซึ่งมีความสำคัญต่อความเข้าใจในการอ่าน นั่นคือความสามารถในการอ่านอย่างช้า ๆ และอย่างพินิจพิจารณาในระดับประโยคและระดับองค์รวม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าสอบแบบทดสอบวัดทักษะการอ่านของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ได้คะแนนสูง จะต้องมีความสามารถในการอ่านในชีวิตจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการอ่านอย่างช้า ๆ และอย่างพินิจพิจารณาเพื่อเข้าใจทั้งระดับประโยคและระดับบทอ่าน และต้องมีความรู้ด้านคำศัพท์เป็นอย่างดี เพราะความรู้ด้านคำศัพท์มีความสำคัญต่อความเข้าใจในการอ่าน การพบว่าการตัดตัวเลือกทิ้งเป็นกลยุทธ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้บ่อยเช่นกัน เป็นเพราะว่าลักษณะข้อสอบที่ใช้ในแบบทดสอบเป็นแบบตัวเลือก การวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไปรวมไปถึงสำหรับผู้พัฒนาข้อสอบวัดทักษะการอ่าน</p> ER -