TY - JOUR AU - แลฮะ, มูนีร AU - เลาหวิริยานนท์, ชลลดา PY - 2022/04/30 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัญหาในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนที่มีความสามารถทางภาษาสูงและผู้เรียนที่ด้อยความสามารถทางภาษา JF - วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี JA - JEDUPSU VL - 33 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/243352 SP - 45-64 AB - <p>งานวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิด Three-phase model ของ Anderson (1995) เพื่อเป็นแนวทางในการ ศึกษาปัญหาด้านการฟังภาษkอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ โดยกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ประกอบไปด้วยนักศึกษาจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มนักศึกษาจำนวน 1,750 คนที่ลงเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานและแบ่งออกเป็นผู้ที่มีความสามารถในการฟังสูง 16 คน และผู้ที่ด้อยความสามารถในการฟัง 14 คน การเก็บข้อมูลเก็บเป็นรายบุคคล โดยให้แต่ละคนฟังบทฟัง ทำชิ้นงานเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ และให้สัมภาษณ์การระลึกข้อมูลหลังการฟังทันที (Immediate stimulated recall) เพื่อสะท้อนปัญหาขณะฟังบทฟัง ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ด้อยความสามารถในการฟังมีปัญหาในการฟัง 2 ระดับ ปัญหาระดับเสียง (Perception) คือ สามารถฟังภาษาอังกฤษออกเป็นบางคำเท่านั้น ปัญหาระดับคำ (Parsing) คือฟังข้อความที่ตามมาไม่รู้เรื่องเพราะจดจ่อกับการฟังแต่ละคำ ปัญหาระดับการตีความ (Utilization) นั้นเป็นปัญหาร่วมของกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง ปัญหาที่พบคือมีความสับสนในการจับประเด็นสำคัญ ในขณะเดียวกัน คะแนนที่ได้จากการทำชิ้นงานสะท้อนว่ากลุ่มตัวอย่างที่ด้อยความสามารถในการฟังมีปัญหาระดับการตีความมากที่สุด ข้อแนะนำสำหรับงานวิจัยในอนาคตคือการศึกษาตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการฟังโดยให้ฟังบทฟังหลากหลายประเภท (Text types) เช่น การฟังบรรยาย การสนทนา และการฟังโฆษณา และทำชิ้นงานที่ต้องใช้ความสามารถในการรำลึกข้อมูล (Delay recall tasks) เช่นการตอบคำถามสั้น ๆ การสรุปความ ซึ่งสามารถสะท้อนกระบวนการคิดที่สื่อให้เห็นปัญหาการฟังในเชิงลึกได้</p> ER -