TY - JOUR AU - งามมงคลวงศ์, สุดาสวรรค์ AU - พุ่มเฉลิม, สุริยะ PY - 2021/12/31 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์สำหรับการอบรมผู้ประเมินภายนอก ในการประเมินคุณภาพแบบการตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ JF - วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี JA - JEDUPSU VL - 32 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/240529 SP - 129-146 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบหลักสูตรออนไลน์สำหรับการอบรมผู้ประเมินภายนอกแบบการตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) พัฒนาหลักสูตรออนไลน์สำหรับการอบรมผู้ประเมินภายนอกแบบการตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) ออกแบบระบบออนไลน์สำหรับการอบรมผู้ประเมินภายนอกแบบการตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา และด้านการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสี่ในระดับอุดมศึกษาของ สมศ. โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 65 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) การทดสอบเอฟ (f-test) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี Least Significant Difference (LSD)</p><p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบหลักสูตรออนไลน์สำหรับการอบรมผู้ประเมินภายนอกฯ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า (2) กระบวนการสำหรับการฝึกอบรม และ (3) ปัจจัยส่งออกหรือปัจจัยผลลัพธ์ 2) ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีการศึกษา พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินโดยผู้ผ่านการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสี่ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความ พึงพอใจต่อหลักสูตร พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนำไปหาค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD พบว่ากลุ่มเป้าหมายที่มีประสบการณ์การทำงาน 5-7 ปี กับ 10 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรแตกต่างกันทั้ง สามด้าน คือ ด้านเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการอบรม ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแบบทดสอบก่อนและแบบประเมินผลกิจกรรม 3) ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ พบว่า มีความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพด้านการเขียนแผนภาพ (Work flow) ด้านส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) และด้านระบบฐานข้อมูล (Database Design) อยู่ในระดับมาก</p> ER -