@article{ดวงศรี_ธนานิธิกุลโรจน์_2019, place={Pattani, Thailand}, title={การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในการสอนภาษาอังกฤษ ด้วยกระบวนการชี้แนะทางปัญญา: กรณีศึกษานักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย}, volume={30}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/214041}, abstractNote={<div class="page" title="Page 2"> <div class="layoutArea"> <div class="column"> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาลักษณะทักษะการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการสอนภาษาอังกฤษของ นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังกระบวนการชี้แนะทางปัญญา กำหนดกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง 3 ราย ได้แก่ นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษาเดียวกันและสอนช่วงชั้นเดียวกัน ไม่เคยมีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการชี้แนะทางปัญญา และไม่รู้จักกระบวนการสะท้อนคิด เคร่ืองมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินตนเอง แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การเก็บข้อมูลดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน เป็นวงจร 3 รอบ ได้แก่ 1) ข้ันเตรียมการ 2) ขั้นปฏิสัมพันธ์ 3) ขั้นการสะท้อนคิด และ 4) ขั้นการนำไปใช้</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนกระบวนการชี้แนะทางปัญญา นักศึกษามีทักษะการสะท้อนคิด 2 ลักษณะคือ การสะท้อนคิดเพียงบางส่วน ได้แก่ การนำความรู้เชิงทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์/แก้ปัญหาในชั้นเรียนโดยไม่มีการ ประยุกต์ และการคิดในระยะท่ีเรียกว่ามีการสะท้อนคิด ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนและแนวทางแก้ปัญหา โดยนำปัจจัยในชั้นเรียนมาพิจารณาร่วมกับหลักทฤษฎีก่อนตัดสินใจแต่ยังคงมีความเช่ือม่ันในหลักการทางทฤษฎี เป็นสำคัญ 2) ในระหว่างกระบวนการชี้แนะทางปัญญานั้นพบว่านักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงสภาวะความคิด มีความ ตระหนักรู้ถึงสิ่งที่กระทำปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีสติ มีสมรรถนะ ความยืดหยุ่น มีความเช่ียวชาญเพิ่มขึ้น และมีความคิดและการรับรู้เปิดกว้างต่อความคิดเห็นของผู้อื่น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอันเป็นจุดเริ่มของชุมชน แห่งการเรียนรู้วิชาชีพ 3) หลังจากได้รับการพัฒนาด้วยกระบวนการชี้แนะทางปัญญา นักศึกษาท้ัง 3 คน มีการคิดใน ระยะที่เรียกว่ามีการสะท้อนคิด โดยแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้น้ันต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ และปัจจัย แวดล้อม แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อบ่งชี้ทิศทางในการปรับเปลี่ยน/แก้ปัญหา การเรียนรู้ ด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และด้วยกระบวนการชี้แนะทางปัญญาช่วยให้นักศึกษามีการสะท้อนคิดจากการ ปฏิบัติงานของตน มีทักษะในการแก้ปัญหาและออกแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นจริง เหมาะสมกับสถานการณ์ท่ีเป็นอยู่จริงยิ่งขึ้น</p> </div> </div> </div>}, number={2}, journal={วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี}, author={ดวงศรี พัชรินทร์ and ธนานิธิกุลโรจน์ ฐรัณภรณ์}, year={2019}, month={ก.ย.}, pages={97–111} }