วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu <p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา<strong> ISSN 2822-0730 (Online) </strong>เป็นวารสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ที่เผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัยที่เกี่ยวกับสาขาศึกษาศาสตร์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของบุคลากร คณาจารย์ นิสิต และผู้สนใจ ทุกบทความผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) จากในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลเจ้าของบทความ และไม่เปิดเผยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (double blinded) โดยกองบรรณาธิการมีสิทธิ์แก้ไขบทความตามความเหมาะสม มีกำหนดออกเผยแพร่วารสาร จำนวน 3 ฉบับต่อปี ดังนี้<br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม -เมษายน<br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN <span style="font-size: 0.875rem;">2822-0730</span> (Online)</strong></p> <p><strong>กองบรรณาธิการ</strong></p> <p><strong>ที่ปรึกษาบรรณาธิการ </strong> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>บรรณาธิการ </strong> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>ผู้ช่วยบรรณาธิการ </strong></p> <p>1. รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทราวดี มากมี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>3. ดร.ญาณิกา ลุนราศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>กองบรรณาธิการ </strong></p> <p>1. ศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ คำเอม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี</p> <p>2. ศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>3. รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา</p> <p>4. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี แย้มกสิกร ข้าราชการบำนาญ/ คุรุสภา</p> <p>5. รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีวรรณ ยอดนิล ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>6. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต สุรัตน์เรืองชัย ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>7. รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ</p> <p>8. รองศาสตราจารย์ ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>9. รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p>10. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</p> <p>11. รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>12. รองศาสตราจารย์ ดร.เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>13. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วัฒนกิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>14. รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ แหนจอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ อเนกสุข ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณภา โหมดหิรัญ ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p>17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาตรี ดร.พงศ์เทพ จิระโร คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา</p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">คณะทำงานวารสาร<br />ฝ่ายดำเนินการ</strong></p> <p>1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ ประธานกรรมการ</p> <p>2. รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทราวดี มากมี กรรมการ</p> <p>3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ กรรมการ</p> <p>4. ดร.ญาณิกา ลุนราศรี กรรมการ</p> <p>5. ดร.วทัญญู นาวิเศษ กรรมการ</p> <p>6. ดร.วาสนา กลมอ่อน กรรมการ</p> <p>7. นางจารุวรรณ รักเริ่มวงษ์ กรรมการ</p> <p>8. นางสาววัชรี กำจัดโศรก กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong>ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ </strong></p> <p>1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ ประธานกรรมการ</p> <p>2. นางสาววัฒนพร จตุรานนท์ กรรมการ </p> <p>3. นายอภิสิทธิ์ เปี่ยมน้อย กรรมการ</p> <p>4. นางสาววัชรี กำจัดโศรก กรรมการ</p> <p>5. ดร.อรทัย เอี่ยมสะอาด กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong> ฝ่ายตรวจสอบและพิสูจน์อักษร </strong></p> <p>1. ดร.ชนาสร นิ่มนวล ประธานกรรมการ</p> <p>2. นางสาวโสภี ชาญเชิงยุทธชัย กรรมการ</p> <p>3. นางจารุวรรณ รักเริ่มวงษ์ กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong>ฝ่ายศิลป์</strong></p> <p>1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติคุณ หุตะมาน ประธานกรรมการ</p> <p>2. นายอุทัย หวังวัชรพล กรรมการ</p> <p>3. นางสาววัฒนพร จตุรานนท์ กรรมการ</p> <p>4. ดร.อรทัย เอี่ยมสอาด กรรมการและเลขานุการ</p> th-TH <p>บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> sirawan@go.buu.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ ) edubuu_journal@hotmail.com (วัชรี กำจัดโศรก) Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ภาวะผู้นำกับการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/268011 <p>การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน ส่งผลให้ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยในยุคดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานในสถานศึกษา ผู้บริหารจึงควรเตรียมความพร้อมและตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน จากการศึกษาทบทวนแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำกับการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล พบว่า ผู้บริหารจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถและภาวะความเป็นผู้นำในยุคดิจิทัลให้มากยิ่งขึ้น ผู้บริหารต้องมีการปรับตัว ปรับกลยุทธ์ และวิสัยทัศน์ให้กว้างไกล ยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานภายในสถานศึกษาและรู้จักการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย เพื่อให้การบริหารงานบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งด้านผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการบริหารงานบุคคล รวมถึงสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถเพื่อพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผ่านแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดังนี้ 1) การมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล 2) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานโรงเรียนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารบุคคล ด้านการบริหารวิชาการ และด้านการบริหารงบประมาณ 3) การส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน และ 4) การมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสารสนเทศ</p> วาสนา ดิษฐ์ประดับ, กาญจนา บุญส่ง , เสนาะ กลิ่นงาม Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/268011 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับวิชาประวัติศาสตร์ไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/269526 <p>การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับวิชาประวัติศาสตร์ไทยของผู้เรียน ให้ความสำคัญกับการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 คุณค่าประชาธิปไตย กระบวนการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงวิพากษ์ บทบาทของผู้สอนควรให้ความสำคัญกับการผสมผสานระหว่างการอภิปรายในชั้นเรียน กระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ การออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยและเปิดกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ดิจิทัล อินเตอร์เน็ต สมารท์โฟน ระบบคลาวด์ เกมดิจิทัล และสื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่น เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์หลักฐานชั้นต้นและชั้นรอง โดยคำนึงถึงเงื่อนไขและปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความยากง่ายของหัวข้อและเนื้อหา ความสามารถที่แตกต่างกันแต่ละระดับชั้น ข้อจำกัดด้านระยะเวลาและความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล และวางบนพื้นฐานของการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ความสนใจ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน</p> ธราพงษ์ การกระโทก, ศักดิ์ดา ทองโสภณ, ศุภชัย สมนวล Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/269526 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267803 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) ศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวนทั้งหมด 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถา มมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .937 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมากเท่ากับ .822 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ 4) ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้แก่ การให้มีส่วนร่วม การสั่งการและการมอบหมายงาน ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ได้ร้อยละ 67.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> วาสินี สุวรรณคาม, กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267803 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267988 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูและ 4) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู จำนวน 288 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนตามขนาดของโรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหาร 12 คน และครู 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.982 โดยผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก เท่ากับ .880 และ 4) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้านบุคลิกภาพ และด้านภ าวะผู้นำร่วมกันพยากรณ์แปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ศศิธร พิมพ์แก้ว, กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267988 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267938 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัลตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา ขอบเขตของการวิจัย 5 ด้าน โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 37 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 1,075 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 278 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s multiple comparison method) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีทัศนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีประสบการณ์การทำงาน และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีทัศนะโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01</p> พัชรพร พสิษฐ์พรพงศ์, กัลยมน อินทุสุต Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267938 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศ สำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/268010 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศสำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทย และประเมินความเป็นไปได้ต่อการนำรูปแบบไปใช้จริงโดยวิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คน ประกอบด้วยนักวิชาการด้านการจัดการกีฬา ผู้บริหารองค์กรกีฬาระดับชาติ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการ กีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศสำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ (Modified delphi technique) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศสำหรับเยาวชนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ด้านคือ 1) องค์ประกอบด้านนโยบายได้แก่ นโยบายด้านส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และนโยบายด้านการส่งเสริมศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่า Mdn. เท่ากับ 5 และความสอดคล้องในระดับสูง ค่า I.R ระหว่าง 0.00-0.25) และ 2) องค์ประกอบทางการบริหารจัดการ ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร ด้านการปฏิบัติการ/การนำ และด้านการควบคุม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่า Mdn. ระหว่าง 4.00-5.00 และความสอดคล้องในระดับสูงค่า I.R ระหว่าง 0.00-1.00) การวิจัยระยะที่ 2 เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเลิศไปใช้จริง โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำรูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศสำหรับเยาวชนไปใช้จริง จำนวน 9 คน พบว่า รูปแบบการจัดการกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสม ถูกต้องครอบคลุมเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง</p> ปัญญา อินทเจริญ, รังสฤษฏ์ จำเริญ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/268010 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยาโดยใช้วงจรการเรียนรู้ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/270602 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยา ก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยา จำนวน 11 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบจำนวน 20 ข้อ และแบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดย Wilcoxon signed-rank test และการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบทดสอบอัตนัย ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา มีคะแนนสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 43.20 ของคะแนนเต็ม หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 46.80 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ นักศึกษาส่วนใหญ่มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในองค์ประกอบด้านการสำรวจปรากฏการณ์อยู่ในระดับดีมาก ความสามารถด้านการสร้างสมมติฐานและการพยากรณ์อยู่ในระดับปรับปรุง</p> ณัฐกานต์ ศาสตร์สูงเนิน Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/270602 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์วิชาการ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/274223 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์วิชาการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 52 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน และครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน และ (2) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาของนักเรียนในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์วิชาการ อันดับสูงสุด คือ นักเรียนไม่กล้าอ่านออกเสียง เนื่องจากขาดความมั่นใจในการอ่าน ความต้องการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน อันดับสูงสุด คือ ต้องการฝึกทักษะการพูด โดยการถาม-ตอบจากบทสนทนา (2) สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการรู้คำศัพท์วิชาการ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ คือ ครูมีปัญหาเกี่ยวกับการขาดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และครูต้องการพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงในการสอน</p> สุกัญญา เทาศิริ, กาญจนา นิลนวล, วัฒนพร จตุรานนท์, โสภี ชาญเชิงยุทธชัย Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/274223 Thu, 26 Dec 2024 00:00:00 +0700