วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu <p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา<strong> ISSN 2822-0730 (Online) </strong>เป็นวารสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ที่เผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัยที่เกี่ยวกับสาขาศึกษาศาสตร์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของบุคลากร คณาจารย์ นิสิต และผู้สนใจ ทุกบทความผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) จากในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลเจ้าของบทความ และไม่เปิดเผยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (double blinded) โดยกองบรรณาธิการมีสิทธิ์แก้ไขบทความตามความเหมาะสม มีกำหนดออกเผยแพร่วารสาร จำนวน 3 ฉบับต่อปี ดังนี้<br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม -เมษายน<br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN <span style="font-size: 0.875rem;">2822-0730</span> (Online)</strong></p> <p><strong>กองบรรณาธิการ</strong></p> <p><strong>ที่ปรึกษาบรรณาธิการ </strong> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>บรรณาธิการ </strong> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>ผู้ช่วยบรรณาธิการ </strong></p> <p>๑. รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทราวดี มากมี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๓. อาจารย์ ดร.วทัญญู นาวิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>กองบรรณาธิการ </strong></p> <p>๑. ศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ คำเอม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี</p> <p>๒. ศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>๓. รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา</p> <p>๔. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี แย้มกสิกร ข้าราชการบำนาญ/ คุรุสภา</p> <p>๕. รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีวรรณ ยอดนิล ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>๖. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต สุรัตน์เรืองชัย ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>๗. รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ</p> <p>๘. รองศาสตราจารย์ ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>๙. รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p>๑๐. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</p> <p>๑๑. รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๑๒. รองศาสตราจารย์ ดร.เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๑๓. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วัฒนกิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๑๔. รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ แหนจอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๑๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ อเนกสุข ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>๑๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณภา โหมดหิรัญ ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p>๑๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาตรี ดร.พงศ์เทพ จิระโร คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา</p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">คณะทำงานวารสาร<br />ฝ่ายดำเนินการ</strong></p> <p>๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ ประธานกรรมการ</p> <p>๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นชัย ปราบจันดี กรรมการ</p> <p>๓. ดร.วทัญญู นาวิเศษ กรรมการ</p> <p>๔. ดร.วาสนา กลมอ่อน กรรมการ</p> <p>๓. นางจารุวรรณ รักเริ่มวงษ์ กรรมการ</p> <p>๔. นางสาววัชรี กำจัดโศรก กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong>ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ </strong></p> <p>๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ ประธานกรรมการ</p> <p>๒. นางสาววัฒนพร จตุรานนท์ กรรมการ </p> <p>๓. นายอภิสิทธิ์ เปี่ยมน้อย กรรมการ</p> <p>๔. นางสาววัชรี กำจัดโศรก กรรมการ</p> <p>๕. ดร.อรทัย เอี่ยมสะอาด กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong> ฝ่ายตรวจสอบและพิสูจน์อักษร </strong></p> <p>๑. ดร.ชนาสร นิ่มนวล ประธานกรรมการ</p> <p>๒. นางสาวโสภี ชาญเชิงยุทธชัย กรรมการ</p> <p>๓. นางจารุวรรณ รักเริ่มวงษ์ กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong>ฝ่ายศิลป์</strong></p> <p>๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติคุณ หุตะมาน ประธานกรรมการ</p> <p>๒. นายอุทัย หวังวัชรพล กรรมการ</p> <p>๓. นางสาววัฒนพร จตุรานนท์ กรรมการ</p> <p>๔. ดร.อรทัย เอี่ยมสอาด กรรมการและเลขานุการ</p> Faculty of Education, Burapha University th-TH วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2822-0730 <p>บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> วินัยเชิงบวกของเด็กปฐมวัยสู่การเรียนรู้บนฐานวิถีชีวิตใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/264673 <p>วินัยเชิงบวกของเด็กปฐมวัย ถือเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยควรได้รับประสบการณ์ที่ดีจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งพ่อแม่ ครู หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning ecosystem) ของเด็กปฐมวัยผ่านการใช้วินัยเชิงบวกโดยยึดหลัก คือ 1) กำหนดความคาดหวังเชิงพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก 2) เคารพและเข้าใจความแตกต่างของเด็ก 3) สื่อสารอย่างมีเหตุผล รับฟัง และเคารพ<br />ความคิดเห็นของเด็ก 4) เป็นแบบอย่างที่ดีและเหมาะสม และ 5) สนับสนุนพฤติกรรมที่ดี และส่งเสริมศักยภาพของเด็ก การเกิดการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่ ทำให้เด็กปฐมวัยเผชิญกับความท้าทายด้านการเรียนรู้ บวกกับการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต้องปรับตัวตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนในยุคของการเปลี่ยนแปลง ที่ควรเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัยเพราะถือเป็นวัยที่มีพัฒนาการแห่งการเรียนรู้ที่รวดเร็วที่สุด อันจะส่งผลต่อการเสริมสร้างทักษะทั้ง 3 ด้าน คือ1) EQ (Emotional quotient): ความฉลาดทางอารมณ์ 2) SQ (Social quotient): ความฉลาดทางสังคม และ 3) MQ (Moral quotient): ความฉลาดทางศีลธรรม ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานวิถีชีวิตใหม่ และสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาทั่วโลก ที่มุ่งเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข และเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคม</p> นัฏฐ์ดนุช จรครบุรีธนาดุล ทนง ทองภูเบศร์ ชินวงศ์ ศรีงาม Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-04-30 2024-04-30 35 1 1 16 ผลของการทำบันทึกเฝ้าดูอารมณ์ที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/264590 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย จำแนกตาม เพศ ชั้นปี และกลุ่มสาขาวิชา และเพื่อศึกษาผลของการทำบันทึกเฝ้าดูอารมณ์ที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาจิตวิทยากับชีวิตประจำวันและสมัครใจ<br />เข้าร่วมงานวิจัย จำนวน 595 คน การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามการตระหนักรู้ในตนเอง ฉบับออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการทำบันทึกเฝ้าดูอารมณ์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตระหนักรู้ในตนเองในระดับมาก ยกเว้น กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่มากกว่าชั้นปีที่ 4 ที่พบว่าตระหนักรู้ในตนเองในระดับปานกลาง ขณะที่หลังการทำบันทึกเฝ้าดูอารมณ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทุกกลุ่ม ตระหนักรู้ในตนเองในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าหลังจากทำกิจกรรมบันทึกการเฝ้าดูอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างตระหนักรู้ในตนเองเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ ธนพงศ์ อุทยารัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-04-30 2024-04-30 35 1 17 29 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คำภาษาต่างประเทศ ในภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT กับวิธีการสอนแบบปกติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/264822 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT กับวิธีการสอนแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ด้วยวิธีการสอนแบบปกติทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน เป็นกลุ่มทดลอง ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 29 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่ ได้รับสอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT สูงกว่านักเรียนที่ได้รับวิธีการสอนแบบปกติอย่างต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียน ที่ได้รับการสอนโดยด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษา ต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียน ที่ได้รับวิธีการสอนแบบปกติ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศศิวงศ์ พูลพิพัฒน์ จีรสุดา เปลี่ยนสมัย พิมพ์สุพร สุนทรินทร์ เกรียงไกร วิลามาศ กันตา ไกรภักดี Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-04-30 2024-04-30 35 1 30 40 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางโดยการใช้ผังมโนทัศน์สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/265312 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการอ่านโดยใช้ผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา 415-321 การอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์ จำนวน 4 แผน และบทอ่าน 4 เรื่อง 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางโดยใช้ผังมโนทัศน์ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนรู้การอ่านโดยใช้ผังมโนทัศน์ แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 17 ข้อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน <em>(</em><em>S.D.)</em> การทดสอบค่าที<br />แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์ เท่ากับ 10.22 เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์เท่ากับ 11.33 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้ผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (=3.94, <em>S.D.</em>= 0.44) โดยข้อคิดเห็นที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการอ่านด้วยตัวเองมากขึ้น กิจกรรมการอ่านโดยการใช้ผังมโนทัศน์ทำให้ผู้เรียนรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ผังมโนทัศน์และการใช้ผังมโนทัศน์ทำให้ผู้เรียนวิเคราะห์และเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ในเนื้อเรื่องได้อย่างชัดเจนขึ้น ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการอ่านโดยการใช้ผังมโนทัศน์ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางของผู้เรียนได้</p> <p style="font-weight: 400;"> </p> นิเย๊าะ จาหลง Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-04-30 2024-04-30 35 1 41 55 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/265712 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้บอร์ดเกม<br />ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 43 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 4) บอร์ดเกม เรื่อง ระบบนิเวศ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ (t-test Independent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม สูงกว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 พึงพอใจต่อการใช้บอร์ดเกมประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ปรียานุช ใจหาญ ภาสกร ภักดิ์ศรีแพง Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-04-30 2024-04-30 35 1 56 70 การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/265723 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้และความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์2) แบบประเมินโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 4)แบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า โครงงานที่ใช้ชุมชนเป็นฐานของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดี (<em>µ</em>=4.17, <em>σ</em>=0.33) นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คะแนนเฉลี่ยโดยรวมในทุกด้านอยู่ในระดับดี (<em>µ</em>=4.50, <em>σ</em>=0.29) โดยมีนักศึกษาร้อยละ 52.38 มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก และความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (<em>µ</em>=4.55, <em>σ</em>=0.25)</p> นภกานด์ หน่ายคอน อภิรดี ศรีภิรมย์รักษ์ นิชานันท์ อุดมศักดิ์สกุล พันธ์ทิพย์ โอฬารรัตน์มณี Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 2024-04-30 2024-04-30 35 1 71 85