https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/issue/feed
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
2024-08-28T16:37:16+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์
sirawan@go.buu.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา<strong> ISSN 2822-0730 (Online) </strong>เป็นวารสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ที่เผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัยที่เกี่ยวกับสาขาศึกษาศาสตร์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของบุคลากร คณาจารย์ นิสิต และผู้สนใจ ทุกบทความผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) จากในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลเจ้าของบทความ และไม่เปิดเผยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (double blinded) โดยกองบรรณาธิการมีสิทธิ์แก้ไขบทความตามความเหมาะสม มีกำหนดออกเผยแพร่วารสาร จำนวน 3 ฉบับต่อปี ดังนี้<br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม -เมษายน<br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN <span style="font-size: 0.875rem;">2822-0730</span> (Online)</strong></p> <p><strong>กองบรรณาธิการ</strong></p> <p><strong>ที่ปรึกษาบรรณาธิการ </strong> </p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>บรรณาธิการ </strong> </p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>ผู้ช่วยบรรณาธิการ </strong></p> <p>๑. รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทราวดี มากมี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๓. อาจารย์ ดร.วทัญญู นาวิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong>กองบรรณาธิการ </strong></p> <p>๑. ศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ คำเอม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี</p> <p>๒. ศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>๓. รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา</p> <p>๔. รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี แย้มกสิกร ข้าราชการบำนาญ/ คุรุสภา</p> <p>๕. รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีวรรณ ยอดนิล ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>๖. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต สุรัตน์เรืองชัย ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>๗. รองศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ</p> <p>๘. รองศาสตราจารย์ ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>๙. รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p>๑๐. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</p> <p>๑๑. รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๑๒. รองศาสตราจารย์ ดร.เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๑๓. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วัฒนกิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๑๔. รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ แหนจอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p>๑๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมโภชน์ อเนกสุข ข้าราชการบำนาญ/ นักวิชาการอิสระ</p> <p>๑๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณภา โหมดหิรัญ ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p> <p>๑๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาตรี ดร.พงศ์เทพ จิระโร คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา</p> <p><strong style="font-size: 0.875rem;">คณะทำงานวารสาร<br />ฝ่ายดำเนินการ</strong></p> <p>๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ ประธานกรรมการ</p> <p>๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นชัย ปราบจันดี กรรมการ</p> <p>๓. ดร.วทัญญู นาวิเศษ กรรมการ</p> <p>๔. ดร.วาสนา กลมอ่อน กรรมการ</p> <p>๓. นางจารุวรรณ รักเริ่มวงษ์ กรรมการ</p> <p>๔. นางสาววัชรี กำจัดโศรก กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong>ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ </strong></p> <p>๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ ประธานกรรมการ</p> <p>๒. นางสาววัฒนพร จตุรานนท์ กรรมการ </p> <p>๓. นายอภิสิทธิ์ เปี่ยมน้อย กรรมการ</p> <p>๔. นางสาววัชรี กำจัดโศรก กรรมการ</p> <p>๕. ดร.อรทัย เอี่ยมสะอาด กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong> ฝ่ายตรวจสอบและพิสูจน์อักษร </strong></p> <p>๑. ดร.ชนาสร นิ่มนวล ประธานกรรมการ</p> <p>๒. นางสาวโสภี ชาญเชิงยุทธชัย กรรมการ</p> <p>๓. นางจารุวรรณ รักเริ่มวงษ์ กรรมการและเลขานุการ</p> <p><strong>ฝ่ายศิลป์</strong></p> <p>๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติคุณ หุตะมาน ประธานกรรมการ</p> <p>๒. นายอุทัย หวังวัชรพล กรรมการ</p> <p>๓. นางสาววัฒนพร จตุรานนท์ กรรมการ</p> <p>๔. ดร.อรทัย เอี่ยมสอาด กรรมการและเลขานุการ</p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267406
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
2024-02-13T14:28:35+07:00
ทรรศน์พร อ่อนประทุม
64010582011@msu.ac.th
มนตรี วงษ์สะพาน
montree.v@msu.ac.th
<p>การเรียนวิทยาศาสตร์มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการมีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ สามารถใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านกระบวนการคิดอย่างไรก็ตามการนำชุดฝึกทักษะร่วมด้วยก็เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มี 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดวงอาทิตย์กับชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระสำคัญของบทความ ได้แก่ 1) ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 2) รูปแบบและขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างความสนใจ (Engage) ขั้นที่ 2 การสำรวจและค้นหา (Explore) ขั้นที่ 3 การอธิบาย (Explain) ขั้นที่ 4 การขยายความรู้ (Elaborate) ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluate) 3) บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 4) ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 5) ชุดฝึกทักษะ และ 6) ประโยชน์ของชุดฝึกทักษะ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวจะสามารถช่วยเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น ไม่เกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียน มีความเชื่อมั่นเพราะได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง วิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดการเรียนที่มีประสิทธิภาพนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนสูงขึ้น และ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้</p>
2024-08-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/266948
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนประถมศึกษา
2023-12-28T14:40:46+07:00
ธมลวรรณ กานต์กิตติธร
tamonwan.ka@bcc1852.com
ภาวิณี โสธายะเพ็ชร
tamonwan.ka@bcc1852.com
<p>ในสังคมปัจจุบัน เด็กยังขาดความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน การจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีความน่าสนใจและสามารถพัฒนาการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนได้ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามปกติ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 จำนวน 31 คน และมีกลุ่มควบคุมเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/10 จำนวน 30 คน เลือกตัวอย่างโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอนวิชาสังคมศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 2) แผนการสอนวิชาสังคมศึกษาแบบปกติ 3) แบบวัดการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 4) แบบสังเกตการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียน 5) แบบสัมภาษณ์นักเรียน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (𝑥̅=36.55) สูงกว่าก่อนเรียน (𝑥̅=32.90) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p=.017) 2) หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (𝑥̅=36.55) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (𝑥̅=33.47) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=1.361, p=.179)</p>
2024-08-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267138
การศึกษาแบบตัดขวางความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสระบุรี
2024-01-15T12:59:31+07:00
ธิติสันติ์ ร่วมชาติสกุล
titisan192@gmail.com
ณวรา สีที
suwapid@g.swu.ac.th
<p>ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการศึกษาวิทยาศาสตร์ งานวิจัยที่ผ่านมาศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 แยกกัน แต่ยังขาดการศึกษาแนวโน้มของความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มและเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การศึกษาแบบตัดขวาง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี จำนวน 390 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่าความสามารถในการให้เหตุผลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพอใช้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 อยู่ในระดับดี ซึ่งคะแนนเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นครูผู้สอนควรออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น</p>
2024-08-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267628
ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ร่างกายมนุษย์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และ สมรรถนะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทพสุวรรณชาญวิทยา จังหวัดสมุทรสงคราม
2024-02-13T14:32:55+07:00
สิริวรรณ ทรัพย์ประเสริฐ
wansiri.sps@gmail.com
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
Tweesak.Chi@stou.ac.th
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
Duongdearn.Suw@stou.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทพสุวรรณชาญวิทยา จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดสมรรถนะการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) สมรรถนะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-08-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/267990
ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด
2024-02-12T10:08:12+07:00
พัชราวรรณ สุวรรณ
patcharawan_suwan@hotmail.com
รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
rkitiya@hotmail.com
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์
sirawan@buu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ <br />กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังสมบูรณ์วิทยาคม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ t-test for the dependent sample และแบบ t-test for one sample ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-08-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา