การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับประถมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

Main Article Content

เจษฎา แก้ววรา
ชาตรี มณีโกศล
ยุพิน อินทะยะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับประถมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นตามองค์ประกอบของหลักสูตร เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ประเภทการวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ตารางวิเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตร 7 ด้าน ได้แก่ 1) เป้าหมายหลักสูตร 2) เป้าหมายระดับรายวิชา 3) จุดมุ่งหมาย 4) เนื้อหา 5) โครงสร้างเวลาเรียน 6) การจัดการเรียนรู้และ 7) การวัดและประเมินผล ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านเป้าหมายหลักสูตร ทั้งหลักสูตรไทยและหลักสูตรญี่ปุ่น มุ่งพัฒนาผู้เรียนครอบคลุมด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย โดยหลักสูตรของประเทศไทยเน้นการเป็นพลเมืองดีของชาติยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่น เน้นให้ปฏิบัติตาม บทบัญญัติเบื้องต้น บทบัญญัติโรงเรียน และบทบัญญัติกฎหมายอื่น ๆ และยังเน้นถึงการเป็นพลเมืองดีที่ต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ชัดเจนกว่าหลักสูตรของประเทศไทย 2) ด้านเป้าหมายระดับรายวิชา หลักสูตรของประเทศไทยกำหนดเป้าหมายแยกออกเป็น 2 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีเนื้อหา และแนวทางการเรียนแทรกไว้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นกำหนดเป้าหมายระดับรายวิชาแบบรวมทุกชั้นปี 3) ด้านจุดมุ่งหมาย ทั้งหลักสูตรของประเทศไทยและหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่น มีการกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้สอนใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ส่วนหลักสูตรของประเทศไทยกำหนดจุดมุ่งหมายเป็นรายชั้นปี โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตามสาระมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนด ส่วนหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นกำหนดจุดมุ่งหมายเป็นรายชั้นปี ช่วงชั้น และแบบผสม 4) ด้านเนื้อหา ทั้งหลักสูตรของประเทศไทยและหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นมีการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหา ส่วนหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นมีการแทรกกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินเกือบทุกวิชาและมีการกำหนดชั่วโมงบูรณาการสิ่งที่เรียนเป็นรายวิชาไว้ในตารางเรียน 5) ด้านโครงสร้างเวลาเรียน หลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นกำหนดเวลาเรียนเป็นรายคาบ คาบละ 45 นาที  ส่วนหลักสูตรของประเทศไทยกำหนดเป็นรายคาบ คาบละ 1 ชั่วโมง โดยมีเวลาเรียนในแต่ละชั้นปีมากกว่าหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่น 6) ด้านการจัดการเรียนรู้ ทั้งหลักสูตรของประเทศไทยและหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นมีการบอกแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเหมือนกัน แต่หลักสูตรของประเทศไทยบอกแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนได้ชัดเจนและครอบคลุมกว่าหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่น 7) ด้านการวัดและประเมินผล ทั้งหลักสูตรของประเทศไทยและหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นมีความเหมือนหรือสอดคล้องกัน ในเรื่องเอกสารประเมิน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่อง สาระที่ประเมิน วิธีการประเมินและที่มาและแบบฟอร์มของเอกสารการประเมิน

 

A COMPARATIVE STUDY OF THAI AND JAPANESE PRIMARY EDUCATION CURRICULA.

This research aims to study the comparative of Thai and Japanese primary education curriculabyconfigurationofeach.This researchis DescriptiveResearchanalysisof Documentary Analysis. The data collected for this analysis can be grouped into seven aspects: 1) aims of the curricula2) goals of the course levels3) targets 4) contents5) study time structures 6) learning management and 7) measurement and the evaluation. The results are as follows: 1) The aims of the curricula:Both curricula aims to develop students by covering the cognitive, affective and psychomotordomains.2)Thegoalof courselevels:Thai curriculum isdividedinto2levels.Those are the third and the sixth grade ones. There are contents and guidelines of learning inserted in every group of learning contents but the Japanese curriculum is set the goal of course levels included in every year courses.3) The targets:Both Thai and Japanese curricula set the targets for teachers provide guidelines to run learning activities for their students in order to reach the curriculum’s goals. 4) The contents: Both Thai and Japanese curricula define the details of their contents. Japanese curriculum is inserts provides activities for students to learn happily in most coursesandset theperiods intheclassroom timetablefor students’ learningintegrationcourses. 5) The study time structures: Japanese curriculum sets the study time at about 45 minutes per period while Thai curricula is usually about 1 hour per period, thus spending more time in each annual level. 6) The learning management: Both curricula set the same guidelines for learning activities but Thai curricula directs these activities more clearly and thoroughly. 7) The evaluation and measurement: Both of curricula offer similar evaluation documents, however there are different in content areas, method evaluation, source documents, and evaluation forms.

Article Details

How to Cite
แก้ววรา เ., มณีโกศล ช., & อินทะยะ ย. (2016). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับประถมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น. Journal of Graduate Research, 7(2), 168–181. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/96261
Section
Research Article