วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm <p>วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ บริหารการศึกษา ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย </p> th-TH [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร) [email protected] (ดร. สุพัตรา ยอดสุรางค์) Tue, 30 Apr 2024 03:05:27 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 กลยุทธ์การจัดการของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในจังหวัดสมุทรสาคร สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264838 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในปัจจุบัน 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง และ 3) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การจัดการของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ทฤษฎีองค์การสมรรถนะสูงและ Balanced Scorecard เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1) ผู้บริหารธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งจำนวน 17 คน 2) บุคลากรของหน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 2 คน 3) บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 2 คน รวม 21 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า<br />1. มีการจัดการองค์การตามมาตรฐานที่กำหนด มีการจัดการเป็นระบบ แยกแผนกชัดเจน มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง <br />2. สภาพแวดล้อมทั่วไป เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และการแข่งขันมีผลต่อการพัฒนาธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง กล่าวคือ กฎหมายไม่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ ต้องมีการจัดการที่ดีกว่าคู่แข่งหรือผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง <br />3. กลยุทธ์การจัดการของธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง คือ ควรมีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของสินค้า ควรมีการบริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร ภาครัฐควรอำนวยความสะดวกการออกกฎหมายในการขอใบอนุญาตต่าง ๆ ควรส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ควรขายสินค้าผ่านสื่อโซเซียลต่าง ๆ <br />ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง </p> พิชยา เจริญสุขใส, เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์, รัชยา ภักดีจิตต์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264838 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262138 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 2) ความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง จำนวน 274 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกนจากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า <br />1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก <br />2. ความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก <br />3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r= .810) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <br />4. ปัจจัย 4 ปัจจัย ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา และร่วมกันทำนายองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 66.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <br />องค์ความรู้จากงานวิจัยควรส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรในโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญของภาวะผู้นำของผู้บริหาร งบประมาณ กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงเครือข่ายการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำไปใช้พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กรดิจิทัลของโรงเรียนมีประสิทธิภาพและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> นลกช เกตุพลสังข์, โสภนา สุดสมบูรณ์, สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262138 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260142 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านคั่นกระได โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 45 คน โดยแบ่งเป็นการทดลองรายบุคคล 3 คน ทดลองกลุ่มย่อย 12 คน และทดลองกลุ่มใหญ่ 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่ออินโฟกราฟิก และการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อสื่ออินโฟกราฟิก ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียนบ้านคั่นกระได ปีการศึกษา 2565 กำหนดกลุ่มทดลองโดยการสุ่มอย่างง่าย เลือกแบบเจาะจงจำนวน 45 คน แบ่งทดลองรายบุคคลจำนวน 3 คน ทดลองกลุ่มย่อยจำนวน 12 คน ทดลองกลุ่มใหญ่จำนวน 30 คน กำหนดขนาดตัวอย่างใช้สูตรเครซี่มอร์แกนจำนวน 196 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายประเมินความพึงพอใจต่อการรับรู้สื่ออินโฟกราฟิก เครื่องมือวิจัยมี 4 ชนิด วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สื่ออินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 มีคุณภาพความเหมาะสมในระดับมากที่สุด</li> <li>การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร หลังการรับรู้สื่อสูงกว่าก่อนการรับรู้สื่ออินโฟกราฟิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 5</li> <li>ความพึงพอใจของผู้รับรู้สื่อต่อสื่ออินโฟกราฟิกที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวมอยู่ระดับพึงพอใจมากที่สุด</li> </ol> <p>นวัตกรรมที่ได้จากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนบ้านคั่นกระได เพื่อใช้ในการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของโรงเรียนบ้านคั่นกระได และใช้วางแผนการกำหนดทิศทางในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อไป</p> เนตรนภิส ลอยบ้านแพ้ว, สมใจ สืบเสาะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260142 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 นวัตกรรมการจัดการเพื่อพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264942 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพรรณนาสภาพปัญหาการจัดการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) เพื่อระบุความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 3) เพื่อเป็นการนำเสนอแนวทางการจัดการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยของรัฐ รูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเกณฑ์คุณลักษณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ปัญหาในการพัฒนาบุคลากร คือ ขาดข้อมูลเพื่อการรวบรวมความต้องการด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา</li> <li>บุคลากรสายสนับสนุนมีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา<br />และด้านการพัฒนา</li> <li>แนวทางในการพัฒนาบุคลากร คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลด้านความต้องการในด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา</li> </ol> <p>องค์ความรู้จะเป็นประโยชน์หรือนำไปใช้ 1. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐในการสร้างนโยบายการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน 2. เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน</p> กัณณ์ศศิชา เนาว์เย็นผล, อำนวย บุญรัตนไมตรี, ฐิติมา โห้ลำยอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264942 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262472 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (2) เพื่อสร้างรูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ (3) เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed methods research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 993 คน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และหัวหน้ากลุ่มสาระ ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายและการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis: EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor analysis : CFA) <br />ผลการวิจัยพบว่า (1) การโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มี 3 องค์ประกอบหลัก และ 18 องค์ประกอบย่อย (2) ได้รูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการโค้ชและทักษะการโค้ช 2) กระบวนการโค้ช และ 3) หลักกัลยาณมิตรธรรม (CCQ Model) และ (3) รูปแบบการโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาผ่านการประเมินและรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญละผู้ทรงคุณวุฒิ</p> ณัฏฐนิธ กาลพัฒน์, สุวิทย์ ภาณุจารี, วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262472 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบภาวะผู้นำทางการศึกษาในความปกติใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/266196 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างตัวแบบสมมติฐานรูปแบบภาวะผู้นำทางการศึกษาในความปกติใหม่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ .98 ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรทางการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 360 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบภาวะผู้นำทางการศึกษาในความปกติใหม่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ประกอบด้วย ด้านการปรับตัว การแก้ปัญหาวิกฤต และการจัดการความเปลี่ยนแปลง เป็นตัวแปรสาเหตุ ที่มีอิทธิพลทางตรงต่อด้านการตัดสินใจ และอิทธิพลทางอ้อมต่อด้านการมีสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความเสมอภาคเท่าเทียม โดยด้านการสร้างเครือข่ายปฏิสัมพันธ์<br />มีอิทธิพลทางอ้อมต่อด้านการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคลคล และด้านความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการกระจายภาวะผู้นำ ซึ่งโมเดลมีความเหมาะสมกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์<br />พิจารณาได้จากค่าสถิติดังนี้ ค่า chi-square=102.471, P = .072, df = 83, CMIN/DF = 1.235, CFI = .998, RMSEA = .025</p> ระติกรณ์ นิยมะจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/266196 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262628 <p>การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู สำนักงานเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 233 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent Samples t-test) และทดสอบค่าแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านความเป็นพลเมืองดี ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความน่าเคารพนับถือ ด้านความยุติธรรม และด้านความไว้วางใจ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางกะปิ จำแนกตามอายุและประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน</p> ธนญา ราชแพทยาคม, ศิริรัตน์ ทองมีศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262628 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการบริหารงานของเทศบาลเมืองม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/261817 <p>การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการให้บริการแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรต้องมีหลักธรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลัก<br />อปริหานิยธรรมและแนวทางในการพัฒนาของการบริหารงานของตามหลักอปริหานิยมธรรมเทศบาลเมืองม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประชากร ได้แก่ บุคลากรของเทศบาลเมืองม่วงงาม จำนวน<br />174 คน ในงานวิจัยนี้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม 5 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักอปริหานิยธรรมต่อการบริหารงานของเทศบาลเมืองม่วงงาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.96, Ơ = 0.76) โดยด้านการพร้อมเพรียงของการประชุม (µ = 4.14, <br />Ơ = 0.63) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ ด้านการสนับสนุนคนมีความสามารถและคุณธรรมเป็นผู้นำ (µ = 3.73,<br />Ơ = 0.84) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักปริหานยธรรม ได้แก่<br />(1) เปิดโอกาสให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็น อธิบาย หรือชี้แจงการปฏิบัติงาน (2) สร้างความตระหนักเกี่ยวกับของความสำคัญการประชุม (3) ทบทวนและประเมินผลการปฏิบัติงานโดยยึดเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ชัดเจน (4) ให้เกียรติและยอมรับผู้นำขององค์กร (5) รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายอย่างกัลยาณมิตร (6) ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมการปฏิบัติกิจกรรมกับศาสนสถานอย่างสม่ำเสมอ และ (7) ควรยกย่องบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้วยความมีคุณธรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนร่วมงาน</p> รัชฎา โชตะชะมา, สิทธิพงษ์ สิทธิภัทรประภา, สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/261817 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการองค์กรภาครัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/267719 <h1>จากการสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ความสำคัญของความเป็นองค์กรนวัตกรรม รวมทั้งข้อจำกัดในการจัดการองค์กรขององค์กรภาครัฐ จึงพัฒนาเป็นงานวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อพรรณนาการจัดการองค์กรขององค์กรภาครัฐในปัจจุบัน (2) เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมการจัดการองค์กรขององค์กรภาครัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการองค์กรภาครัฐเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านองค์กรนวัตกรรม กลุ่มบุคลากร และกลุ่มผู้รับบริการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ</h1> <p>ผลการวิจัย (1) บริบทการจัดการองค์กรภาครัฐ มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ด้านนโยบาย ด้านงบประมาณ ด้านทักษะบุคลากร ด้านเทคโนโลยี และ ด้านนวัตกรรม (2) การวิเคราะห์ความพร้อมการจัดการองค์กรขององค์กรภาครัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 8 มิติ มิติที่ยังไม่มีความพร้อมซึ่งควรได้รับการพัฒนาในลำดับต้น ๆ ได้แก่ มิติด้านองค์ความรู้ และ (3) แนวทางการจัดการองค์กรภาครัฐเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 8 มิติ 58 แนวทาง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับมีการเรียงลำดับความสำคัญของการจัดการองค์กรตามจำนวนแนวทางที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยเสนอแนวทางที่สำคัญแต่ละระดับ ระดับละ 1 มิติ ดังนี้ ระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่ การมุ่งเน้นบริการ จำนวน 6 แนวทาง ระดับสนับสนุน ได้แก่ ด้านบุคลากร จำนวน 15 แนวทาง และระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ด้านกระบวนการ จำนวน 9 แนวทาง ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการศึกษาจะได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมต่อไป</p> จิราภรณ์ ชนัญชนะ, อำนวย บุญรัตนไมตรี, ฐิติมา โห้ลำยอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/267719 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การใช้สติสัมปชัญญะในการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดทางวินัย ของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/261930 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mix Methodology Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สติสัมปชัญญะต่อการแก้ไขการกระทำความผิดทางวินัยและปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการกระทำความผิดทางวินัยของผู้ต้องขังหญิง ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังหญิง จำนวน 254 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 7 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สติสัมปชัญญะต่อการแก้ไขการกระทำความผิดทางวินัยของผู้ต้องขังหญิง ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านอสัมโมหสัมปชัญญะ (รู้ชัดอย่างไม่หลง) ด้านสัปปายสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นหน้าที่) ด้านสติ ด้านสาตถกสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นประโยชน์) และ ด้านโคจรสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเหมาะสม) 2) ปัญหา อุปสรรค พบว่า ความไม่รู้ชัดถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการแก้ไข การไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ ไม่ยึดกฎหมายระเบียบ และความหลากหลายของผู้ต้องขัง 3) แนวทางการส่งเสริม ได้แก่ (1) ควรสร้างความตระหนักการคิดรอบคอบและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (2) ควรศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะเกิดจากการแก้ไขปัญหา (3) ควรจัดอบรมบทบาทและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง (4) ควรศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล และ (5) ควรอบรมให้ความรู้ด้านกฎระเบียบกฎหมายและหลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนาอย่างสม่ำเสมอ</p> ไกรเดช นุ่นจันทร์, พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร, สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/261930 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260011 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการบริหารงานบุคคลเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 301 คน ใช้วิธีคัดเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก</li> <li>การเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> </ol> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาสามารถนำไปใช้วางแผนและพัฒนาการการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> ณัฐกานต์ เดชบุญ, สมใจ สืบเสาะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260011 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเครือข่ายสหกิจศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมของแรงงาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264579 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านเครือข่ายของสถานประกอบการ<br />และสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการสหกิจศึกษา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเครือข่ายสถานประกอบการในการจัดเตรียมความพร้อมของแรงงาน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถาบันอุดมศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการจัดการเครือข่ายเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยประกอบด้วยสองกลุ่มพื้นที่คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 6 แห่งและสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในสถาบันการศึกษาและบุคลากรในสถานประกอบการจำนวน 28 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มีปัญหาการไม่ดำเนินการตามมาตรฐานสหกิจศึกษาเพราะภาคีเครือข่ายต่างขาดความรู้ ความเข้าใจ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เครือข่ายควรพัฒนากระบวนการก่อรูปและการใช้ประโยชน์เครือข่ายสหกิจศึกษา ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 สถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาต้องผลักดันนโยบายทางคุณธรรม จริยธรรม เพื่อการจัดการเครือข่ายสหกิจศึกษาที่มีคุณภาพ การวิจัยพบประเด็นสำคัญในการเตรียมความพร้อมแรงงานให้มีสมรรถนะที่สูง แรงงานต้องได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ผ่านการจัดการเครือข่ายที่ตระหนักถึง การใช้ประโยชน์ของเครือข่ายมีการส่งเสริมและผลักดันจากรัฐบาลในการบังคับใช้มาตรฐานสหกิจศึกษา</p> ณัฏฐ์ ตั้งปรีชาพาณิชย์, อำนวย บุญรัตนไมตรี, วาสุกาญจน์ งามโฉม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264579 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262036 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักขันติธรรมและแนวทางการพัฒนาการใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่เรือนจำ จำนวน 132 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 5 คนเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 3.81, S.D = 0.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านความอดทนต่อความลําบาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.21, S.D = 0.78) ด้านความอดทนต่อทุกขเวทนา (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 3.78, S.D = 0.82) และ ด้านความอดทนต่อความเจ็บใจ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 3.54, S.D = 1.01) 2) แนวทางการพัฒนา การใช้หลักขันติธรรมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เรือนจำ ประกอบด้วย (1) ควรมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความยากลำบาก เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน ถือเป็นการแบ่งเบาและเป็นให้กำลังใจซึ่งกันและกัน (2) ควรดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่ายเพื่อที่จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสบายใจและสบายกาย (3) ควรจัดกิจกรรมอบรมเกี่ยวกับการให้ข้อคิดในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะการจัดอบรมเกี่ยวกับธรรมะซึ่งจะทำให้จิตใจมีความสงบ มีสติในการปฏิบัติงาน และ (4) ควรส่งเสริมและสนับสนุนเจ้าหน้าที่พัฒนาตนเองให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อจะได้มีเลื่อนตำแหน่งหรือได้รับผลตอบแทนจากการปฏิบัติงานจากความสามารถของตนเอง </p> ธวัช สุขแก้ว, สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร, กันตภณ หนูทองแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262036 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260014 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 2) ความสำเร็จของการคุณภาพภายใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายในเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1 กลุ่มตัวอย่างครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 301 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนมีความสัมพันธ์กันทางบวก</li> </ol> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาสามารถนำไปใช้วางแผนและพัฒนาพฤติกรรมผู้นำของสถานศึกษากับความสำเร็จของการประกันคุณภาพภายใน ทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> เนตรทราย โประวะ, พิภพ วชังเงิน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260014 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ กรณีศึกษาธุรกิจอพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264583 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กรและการสืบทอดธุรกิจครอบครัว 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กร และการสืบทอดธุรกิจครอบครัวกับการจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ และ 3) วิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและการสืบทอดธุรกิจที่ส่งผลต่อการจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ กรณีศึกษาธุรกิจอพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจอพาร์ตเมนต์ในประเทศไทย จำนวน 400 แห่ง ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ <br />ผลการวิจัยพบว่า (1) การสืบทอดธุรกิจครอบครัวภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลังจากได้เข้ามาทำงานเกินระยะเวลา 5 ปี สามารถบริหารจัดการแทนบิดามารดาในธุรกิจอพาร์ตเมนต์ของครอบครัวได้ รองลงมา คือ หลังจากได้เข้ามาทำงานระยะหนึ่งได้รับผิดชอบงานมากขึ้น ซึ่งเป็นการบริหารงานระดับเบื้องต้น ส่วนวัฒนธรรมองค์กรในธุรกิจครอบครัวภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ก่อตั้งธุรกิจเป็นศูนย์รวมของความรักและความสามัคคีของสมาชิกในครอบครัว รองลงมา คือ การสร้างกำลังใจและการเสียสละของสมาชิกในครอบครัวทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน (2) วัฒนธรรมองค์กร การสืบทอดธุรกิจครอบครัว และการจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (3) วัฒนธรรมองค์กรและการสืบทอดธุรกิจ มีอิทธิพลต่อการจัดการธุรกิจครอบครัวสมัยใหม่ โดยสามารถร่วมกันอธิบายการจัดการธุรกิจครอบครัวได้ร้อยละ 19.80</p> รุจิกาญจน์ สานนท์, ภูริณัฐ ยมกนิษฐ์, สินิทรา สุขสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264583 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 MEDIATION EFFECT OF MULTILINGUAL AWARENESS ON FAMILY LANGUAGE MANAGEMENT https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260203 <p>Family language management as a micro domain has appeared some new problems. To identify the factors and its mechanism in the language management of family and prove the mediating effect of multilingual awareness (including cross-linguistic, psycholinguistic awareness and socialinguistic awareness) of college English teacher in Family Language Management, the study has applied quantitative method by questionnaires analysis of 400 college foreign language teachers’ multilingual awareness level in Shanxi Province, China based on the theory of “Three Elements of Language Policy” (Spolsky, 2004). According to SPSS and SEM (Structural Equation Model) analysis, it identified the factors that affect the language management of family from the aspect of internal and external environment and proved that multilingual awareness had the mediating effect on family language management.</p> Li Jing Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260203 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262128 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 2) การบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 และ 4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามัธยมนครพนม จำนวน 323 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า <br />1. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก <br />2. การบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก <br />3. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .871 <br />4. ทุกปัจจัยคัดสรรส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ร่วมกันทำนาย ได้ร้อยละ 77.60 <br />องค์ความรู้จากงานวิจัย คือ สถานศึกษาต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สมรรถนะของครูผู้สอน การสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา และเครือข่ายความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้ได้แนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น</p> ณัฐญา วงค์จำปา, โสภนา สุดสมบูรณ์, อรรณพ จีนะวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262128 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260137 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานกิจการนักเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นการบริหารงานกิจการนักเรียน และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการบริหารงานกิจการนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 301 คน ใช้วิธีคัดเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ มอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า<br />1. สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยของการดำเนินการจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านงานกิจกรรมนักเรียน ด้านงานปกครอง และด้านงานบริการแนะแนว<br />2. การเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักเรียน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน ด้านงานปกครอง ด้านงานกิจกรรมนักเรียน และด้านงานบริการแนะแนว ซึ่งประสบการณ์ทำงาน 10 - 20 ปี<br />กับประสบการณ์มากกว่า 20 ปี และขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br />3. แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก <br />องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและหน่วยงานการศึกษา สามารถนำไปใช้วางแผน และการบริหารงานกิจการนักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> ลลิตา นพรัตน์เขต, สมใจ สืบเสาะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260137 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 สื่อสังคมออนไลน์: การสื่อสารทางการเมืองในยุคดิจิตัล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/261697 <p><strong> </strong>สื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อที่แพร่กระจายด้วยปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมเป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะทางการเมือง ปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมและมีความสำคัญต่อนักการเมืองและพรรคการเมือง เพราะเป็นช่องทางในการสื่อสารทางการเมืองไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ การได้รับชัยชนะในสนามเลือกตั้ง สื่อสังคมออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารจะส่งสารรูปแบบใด ด้วยช่องทางสื่อสารประเภทใดเพื่อให้ผู้รับสารได้เข้าถึงสารนั้นได้ง่าย รวดเร็ว และเป็นการสื่อสารสองทางที่มีประสิทธิภาพมากในยุคดิจิตัล แต่ในขณะเดียวกันสื่อสังคมออนไลน์ยังมีข้อเสียด้วยเช่นกัน</p> ฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง, วิทยาธร ท่อแก้ว, กานต์ บุญศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/261697 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดการสื่อสารเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/263690 <p>บทความนี้เป็นบทความวิชาการอธิบายถึงการจัดการสื่อสารเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมุ่งเน้นนำเสนอถึงความสำคัญของการสื่อสารเครือข่าย แนวคิดการจัดการสื่อสารเครือข่าย การสื่อสารการท่องเที่ยว แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสื่อสาร จะเป็นข้อค้นพบที่เป็นคุณค่าในการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน องค์กร เครือข่ายด้านการท่องเที่ยว สามารถจัดระบบกระบวนการผสานเครือข่ายเพื่อกำหนดกิจกรรมขับเคลื่อนผลักดันห่วงโซ่คุณภาพการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวภายในประเทศ เสริมสร้างและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติต่อไป</p> กิจอุดม เสือเจริญ, กานต์ บุญศิริ, วิทยาธร ท่อแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/263690 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700