https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/issue/feed วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน 2024-07-05T19:27:22+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร phumphakhawat.ps@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ บริหารการศึกษา ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา จากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย </p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/263009 การพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยจากสภาพปัญหาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 2023-05-27T10:38:34+07:00 สรยา แสวงศรี sorayasawangsee@gmail.com ศิริรัตน์ ทองมีศรี soraya.gple@pnru.ac.th ระติกรณ์ นิยมะจันทร์ soraya.gple@pnru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาและการวางแผนการจัดการศึกษาปฐมวัยฯ ในอนาคต และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน พื้นที่วิจัย คือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี &nbsp;กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 125 คน ได้จากการใช้วิธีเลือกแบบง่าย และผู้ให้ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ คือ หัวหน้าศูนย์ ครูผู้แลเด็ก และคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 11 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก&nbsp; 2) แนวทางแก้ปัญหาและการวางแผนการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอนาคต คือ จัดทำแผนพัฒนาการจัดศึกษาโดยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ปรับปรุงอาคารเรียนและสนามเด็กเล่นให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมาตรฐานและปลอดภัย จัดหาบุคลากรให้เหมาะสมตามมาตรฐานตำแหน่ง ส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการพัฒนาวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในด้านการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย มีส่วนร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษา และสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานอื่นอย่างเป็นรูปธรรม และ 3) ข้อเสนอแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามวงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย 6 ด้าน 18 องค์ประกอบ 175 แนวทางปฏิบัติ</p> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/267513 กระบวนการตัดสินใจในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี 2024-01-12T14:13:35+07:00 เจนจิรา เงินจันทร์ p_phoo@hotmail.com ลาวรรณ เหมพิจิตร teacher_lawan@hotmail.com สิริกาญจน์ ทวีพิธานันท์ p_phoo@hotmail.com นวพร ประสมทอง Janejira.ngo@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะประชากรศาสตร์ แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และแนวคิดกระบวนการตัดสินใจ มาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือจังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบแคมปิ้ง และผู้ที่มาใช้บริการที่พักแบบประเภทแคมปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลแล้วนำมาเขียนบรรยายเชิงพรรณนา &nbsp;</p> <ol> <li class="show">ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์การเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้งเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ มีประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้งอยู่ระหว่าง 1 - 3 ปี ค้นหาจากเว็บไซต์ ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เดินทางมากับเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน งบประมาณที่คาดว่าจะใช้อยู่ระหว่าง 5,000 - 7,000 บาท สนใจกิจกรรมถ่านยรูป/พักผ่อน และปัจจัยในการเลือกจุดหมายปลายทางท่องเที่ยว ได้แก่ ความสวยงามของธรรมชาติ</li> <li class="show">ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการการตัดสินใจในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการแสวงหาข้อมูล ด้านการรับรู้ปัญหา ด้านการตัดสินใจซื้อ ด้านการประเมินทางเลือก และด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ตามลำดับ</li> </ol> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; องค์ความรู้ว่าด้วยกระบวนการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมปป์ปิ้ง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ขั้นตอนในการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว และข้อจำกัดของการท่องเที่ยวที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการปฏิบัติต่อไป</p> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260002 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 2023-01-07T10:18:10+07:00 ธนากร ชมเชย thanakorn2537.h20p@gmail.com สมใจ สืบเสาะ somjai.sub@rmutr.ac.th <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุค ประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 1 ตามความของเห็นครู โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และขนาดของสถานศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการบริหารวิชาการของผู้บริหารในยุคประเทศไทย 4.0 เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 297 คน ใช้วิธีคัดเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ มอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ทำการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า<span style="font-size: 0.875rem;">1.การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2.</span><span style="font-size: 0.875rem;">การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาสามารถนำไปใช้วางแผนการบริหารงานวิชาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/267471 ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และศักยภาพทางการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูก ดอกมะลิในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 2024-01-30T16:42:39+07:00 นันทพร ไม้ทองดี singthongchai.m@gmail.com ชุณษิตา นาคภพ singthongchai.m@gmail.com วราวุธ วัชรสรณ์ singthongchai.m@gmail.com นาตยา แพ่งศรีสาร singthongchai.m@gmail.com มานิตย์ สิงห์ทองชัย singthongchai.m@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะการผลิต การตลาด ห่วงโซ่อุปทาน และศักยภาพทางการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกดอกมะลิ และ 3) วิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์การดำเนินงานแก่เกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ ใช้แนวคิดการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค พื้นที่วิจัย คือ อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ จำนวน 36 ราย ใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ของเกษตรกรเป็นต้นทุนแปรผันที่เป็นค่าจ้างคนงานรายวัน ค่าผลิตภัณฑ์ทางเคมี และค่าปุ๋ยเคมี ตามลำดับ ราคาขายของดอกมะลิเป็นไปตามกลไกของท้องตลาดโดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่สวนหรือภายในหมู่บ้าน</p> <p>2. เกษตรกรมีผลตอบแทนทางการเงินคุ้มค่าต่อการลงทุนและเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกดอกมะลิขนาดใหญ่มีผลตอบแทนทางการเงินดีที่สุด</p> <p>3. เกษตรกรที่ลงทุนในพื้นที่ขนาดเล็ก ควรขยายขนาดพื้นที่เพาะปลูกเพื่อการประหยัดต่อขนาดของต้นทุนและได้รับผลตอบแทนมากขึ้นและควรปรับเปลี่ยนเทคนิคการผลิตเพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในราคาของปัจจัยการผลิตและเน้นให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงที่มีความต้องการของผู้บริโภคสูงเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนปลูกดอกมะลิ</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัย ได้แก่ เกษตรกรควรขยายการลงทุนปลูกดอกมะลิในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น เพราะการลงทุนในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้น ระยะเวลาคืนทุนเร็วขึ้น มีความคุ้มค่าในการใช้ต้นทุนคงที่มากขึ้น จึงทำให้มีการประหยัดต่อขนาดในต้นทุนเพิ่มมากขึ้นด้วย</p> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/262616 รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรม เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2023-05-11T09:38:56+07:00 สุรัตน์วดี ปานโพธิ์ทอง suratvadee24@gmail.com สุวิทย์ ภาณุจารี uwitmbu@hotmail.com วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย pkc_d@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์3ประการ(1)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (2)เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (3)เพื่อประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร</p> <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อขยายผลการวิจัยเชิงคุณภาพประชากรที่ใช้ในงานวิจัย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 205 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 820 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิดคือ1)แบบสอบถามรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ(exploratory factor analysis: EFA)วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor analysis: CFA) 2)ประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเทคโนโลยี<br />สารสนเทศฯ 4 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครพบ3องค์ประกอบหลักประกอบไปด้วย การบริหารงานวิชาการ การบริหารสถานศึกษาและหลักพรหมวิหารธรรม รวมทั้งหมด13องค์ประกอบย่อย</li> <li>ผลการสร้างรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คือ1)แนวคิดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการมี4 องค์ประกอบ 2)แนวคิดการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษามี5องค์ประกอบ 3)หลักพรหมวิหารธรรม มี 4 องค์ประกอบ</li> <li>ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศฯ สรุปภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 97.18 เมื่อพิจารณาภาพรวมเป็นรายตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้สรุปรวมของรูปแบบด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเหมาะสมของรูปแบบ ด้านความถูกต้องของรูปแบบ ด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ และด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบ<br /> <p>องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ เป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาลให้มีประสิทธิภาพต่อไป</p> </li> </ol> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/267447 การบริหารจัดการหนี้สินภาคครัวเรือนภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2024-01-05T09:36:12+07:00 พัชราภา สิงห์ธนสาร phat-sing@hotmail.com ลักษมี งามมีศรี luxlek@hotmail.com มานิตย์ สิงห์ทองชัย singthongchai.m@gmail.com วิไลลักษณา สร้อยคีรี wilailaksana.s@nsru.ac.th <h1>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาภาวะหนี้สินภาคครัวเรือน 2) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการหนี้สินภาคครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดการบริหารหนี้ส่วนบุคคล แนวคิดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริโภคแบบรายได้ถาวรในวงจรชีวิตเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มฯ จำนวน 24 ราย โดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่ได้มีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม โดยวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติเชิงพรรนณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</h1> <h1>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของกลุ่มวิสาหกิจอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.43, S.D. =0.439) และการบริหารจัดการหนี้สินของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ อยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.75, S.D. =0.672) 2) กระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการหนี้สิน เน้นการสร้างองค์ความรู้เศรษฐกิจหมุนเวียนและวินัยทางการเงินให้กับสมาชิก โดยการแก้ไขปัญหาหนี้สะสมที่ได้เป็นวงจรหนึ่งซึ่งจะนำพาไปสู่วงจรกับดักสภาพหนี้และส่งผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ใช้นโยบายการชะลอหนี้สิน การปรับโครงสร้างหนี้ 3) กลุ่มเกษตรกรมีความคาดหวังในการต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากภาครัฐจากปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว โดยเฉพาะปัญหาเรื่องหนี้สิน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาหลักที่เกิดจากกระบวนการการเกษตร แต่เป็นปัญหาที่ทำให้การดำเนินโครงการไปสู่การแก้ปัญหาแบบยั่งยืนไม่ประสบผลสำเร็จ</h1> <h1>องค์ความรู้ ได้แก่ กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจแบบมีส่วนร่วมนำไปสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับวงจรการผลิตสามารถเปลี่ยนระบบการผลิตจากการทำเกษตรเคมี เป็นการทำเกษตรปลอดภัยให้คุณภาพชีวิตหรือสุขภาพดี ผ่านกลไกการขับเคลื่อนจากสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจขนาดเล็กสู่การเป็นต้นแบบสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจขนาดใหญ่ขึ้น</h1> <p> </p> <p><strong> </strong></p> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264829 การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี 2023-08-16T09:23:35+07:00 วรวุฒิ ตั้งประดิษฐ worawut8406@gmail.com ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ supawat.suk@rmutr.ac.th ฐิติมา โห้ลำยอง thitima@gmail.com <div> <h1><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์ </span><span lang="X-NONE">1) </span><span lang="TH">เพื่อระบุการจัดการขยะของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี </span><span lang="X-NONE">2) </span><span lang="TH">เพื่อพรรณนาการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และ </span><span lang="X-NONE">3) </span><span lang="TH">เพื่อเสนอแนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมจากกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้เสียในการจัดการขยะของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี จำนวน </span><span lang="EN-US">20 </span><span lang="TH">คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</span></h1> </div> <div> <h1><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า </span><span lang="EN-US">1) </span><span lang="TH">ประชาชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ไม่มีพฤติกรรมการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้งให้เทศบาล/อบต. มาจัดเก็บ ทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย </span><span lang="EN-US">2) </span><span lang="TH">ประชาชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ส่วนใหญ่เป็นประชากรแฝง ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานหารายได้ จึงไม่ได้ใส่ใจในการคัดแยกขยะหรือเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นมากนัก </span><span lang="EN-US">3) </span><span lang="TH">ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับแนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้ให้ข้อเสนอโดยให้ความสำคัญทางด้านพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ การปลูกฝังจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ การจัดกิจกรรมที่เป็นแรงจูงใจเพื่อคัดแยกขยะ การร่วมมือระหว่างท้องถิ่นในการกำจัดขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดการขยะมูลฝอย รวมถึงการทำหนังสือบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐ ผู้รับสัมปทาน </span><span lang="TH">และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนเกิดความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคงความเจริญรุ่งเรืองของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ควบคู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน นำมาสู่แนวทางในการพัฒนาพื้นที่ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรีต่อไปในอนาคต </span></h1> </div> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/264147 ผลกระทบของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของกลุ่มมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย 2023-07-10T10:44:54+07:00 ครูทร หนูทอง Torn956@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการก่อเกิด และพัฒนาการของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ของกลุ่มมุสลิม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย 2) เพื่อกลยุทธ์ และปฏิบัติการของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองของกลุ่มมุสลิม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบระดับโครงสร้าง สังคม วัฒนธรรม และระดับบุคคล ที่เกิดขึ้นจากขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ของกลุ่มมุสลิม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย. การศึกษาวิจัย ใช้แนวคิด&nbsp; ทฤษฎีการระดมทรัพยากร ทฤษฎีกระบวนการทางการเมือง&nbsp; แนวคิดขบวนการทางสังคม&nbsp; แนวคิดโครงสร้างทางสังคม และ แนวคิดพื้นฐานแรก วิธีการศึกษา ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ กระบวนการศึกษาวิจัย ยึดกรอบแนวคิดทฤษฎีเป็นหลัก ในการสำรวจวรรณกรรม&nbsp; การวิเคราะห์เอกสาร&nbsp; และการสัมภาษณ์เจาะลึก&nbsp; จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 40 คน ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม จำนวน 18 เวที&nbsp; ฐานข้อมูลสำคัญ ที่ได้จาก การศึกษาวิจัย เก็บจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เชื่อมโยงหลากหลายมิติ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย</p> <h1>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การก่อเกิดและพัฒนาการ ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ของกลุ่มมุสลิม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย ปัญหาไม่ได้เกิดจาก ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา การศึกษา และวัฒนธรรม แต่เกิดจากโครงสร้าง การเมืองการปกครอง การปฏิบัติตาม นโยบายรัฐ ที่ไม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ โดยเฉพาะ ประเด็นความชอบธรรม&nbsp; และการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมือง การปกครอง เป็นผลให้ ปัจเจก และชนชั้นนำ ที่คิดต่าง และไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐ และการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับอัตลักษณ์ของสังคมมุสลิม&nbsp; จึงก่อเกิดและพัฒนาการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองมุสลิม&nbsp;</h1> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/267116 การประเมินประสิทธิผลโครงการธงฟ้าประชารัฐของกระทรวงพาณิชย์ กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 2023-12-14T11:57:39+07:00 นันท์นภัส บุญโพธิ์ nunnaphut5653@gmail.com สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ nunnaphut5653@gmail.com <p><span lang="TH">บทความนี้มีวัตถุประสงค์ </span>1) <span lang="TH">เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการ </span>“<span lang="TH">ธงฟ้าประชารัฐ</span>” <span lang="TH">เขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ในส่วนของบริบท (</span>Context<span lang="TH">) ปัจจัยนำเข้า (</span>Input<span lang="TH">) กระบวนการ (</span>Process<span lang="TH">) และผลผลิต (</span>Product<span lang="TH">) </span>2) <span lang="TH">เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิผลของโครงการธงฟ้าประชารัฐของประชาชน ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร </span>3) <span lang="TH">เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค</span><span lang="TH">ในการดำเนินโครงการธงฟ้าประชารัฐ เขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาของโครงการธงฟ้าประชารัฐในอนาคต ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสาน โดยใช้</span><span lang="TH">แนวทางการประเมินผลแบบ </span>CIPP <span lang="TH">ในด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต </span><span lang="TH">เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่าง&nbsp;</span><span lang="TH">คือ </span><span lang="TH">1) ประชากรจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน 2) ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐ ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 387 แห่ง 3) หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ</span><span lang="TH">ธงฟ้าประชารัฐ จำนวน 5 หน่วยงาน</span><span lang="TH"> กลุ่มตัวอย่างที่ 1 และ 2 ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ 3 ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ </span>1) <span lang="TH">การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร </span>2) <span lang="TH">การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์</span> 3) <span lang="TH">การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า&nbsp;</span><span lang="X-NONE">1. </span><span lang="TH">ตัวแทนประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 246 คน (ร้อยละ 61.5) มีอายุระหว่าง อายุ </span><span lang="X-NONE">56 </span><span lang="TH">ปีขึ้นไป </span><span lang="X-NONE">139 </span><span lang="TH">คน (ร้อยละ </span><span lang="X-NONE">34.80) </span><span lang="TH">โดยส่วนมากอาศัยอยู่อำเภอเมือง 200 คน (ร้อยละ </span><span lang="X-NONE">50.00) </span><span lang="TH">โดยมีระดับการศึกษาปริญญาตรี 133 คน (ร้อยละ </span><span lang="X-NONE">33.20) </span><span lang="TH">มีสถานภาพสมรส 215 คน (ร้อยละ </span><span lang="X-NONE">53.80) </span><span lang="TH">ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 175 คน (ร้อยละ </span><span lang="X-NONE">43.80) </span><span lang="TH">มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท 105 คน (ร้อยละ </span><span lang="X-NONE">26.20)&nbsp;</span><span lang="X-NONE">2. </span><span lang="TH">การประเมินประสิทธิผลโครงการธงฟ้าประชารัฐ เขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวม</span><span lang="TH">อยู่ในระดับมาก (</span><span lang="X-NONE">𝑥̅</span><span lang="X-NONE"> =</span> <span lang="TH">3.95) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก คือ</span>&nbsp;<span lang="TH">ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (</span><span lang="X-NONE">𝑥̅</span><span lang="X-NONE"> =</span> <span lang="TH">4.11) ด้านผลผลิตของโครงการ (</span><span lang="X-NONE">𝑥̅</span><span lang="X-NONE"> =</span><span lang="TH">4.02) และด้านปัจจัยนำเข้า</span><span lang="TH">ของโครงการ (</span><span lang="X-NONE">𝑥̅</span><span lang="X-NONE"> =</span> <span lang="TH">3.85)&nbsp;</span><span lang="TH">3.</span><span lang="TH">ความแตกต่างของเพศมิได้ส่งผลต่อการประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเชิงนโยบาย</span></p> <div><span lang="TH">องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิผลโครงการ</span><span lang="TH">ธงฟ้าประชารัฐ ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ในทุก ๆ ด้าน (</span><span lang="TH">ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม </span><span lang="TH">ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต</span><span lang="TH">) คือ </span><span lang="TH">ระดับการศึกษา และสถานภาพ</span></div> 2024-07-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน