ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัว ของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพฯ สังกัดสมาคมวิทยาลัย เทคโนโลยี และอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย

Main Article Content

จตุพร เงินยัง
กฤษฎิ์ กิตติฐานัส

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา 1)ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพฯสังกัดสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย2)ศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัวของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพฯสังกัดสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทยและ3)ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัวของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพฯ สังกัดสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอน ในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพฯ สังกัดสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีของเพียร์สัน (Pearson’s correlation) วิเคราะห์พหุคูณแบบขั้นตอน โดยวิธี Stepwise (Stepwise Multiple Regression Analysis)


          ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพฯ สังกัดสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทยโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การกระตุ้นการใช้ปัญญา รองลงมาคือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสร้างแรงบันดาลใจ 2)ระดับวัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัวของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพฯ สังกัดสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมุ่งเน้นผู้รับบริการ รองลงมาคือ การเรียนรู้ขององค์การ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลง 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับวัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัวของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนกรุงเทพฯ สังกัดสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลทิกา สมใจ และกิจพิณิฐ อุสาโห. (2567). สภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารการบริหารการจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน. 2(2), 415-426.

ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดา และประทุมทอง ไตรรัตน์. (2566). สมรรถนะของผู้นำทางการศึกษาเพื่อการอยู่รอดและเติบโตในยุค BANI World. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 9(1), 16-28.

นพดล ไชยสุร และคณะฯ. (2561). อิทธิพลของภาวะผู้นําาการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และธรรมาภิบาลต่อประสิทธิผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. วิทยาลัยนครพนม. 6(1), 28-38.

ภัทรรัตน์ ไทรผ่องศรี และกัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต1. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 5(4), 285-294.

รติยากร คชา และดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2566). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29(1), 161-175.

รติรัตน์ วรวงษ์วุฒิไกร และ สัมมา รธนิธย์. (2561).ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(1), 895-909.

เรืองโรจน์ พูนผล. (2564). ผู้นำปัจจุบันต้องนำด้วย Transformational Leadership. จาก https://blog.cariber.co/post/ruangroj-poonpol

วรญา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, นพรัตน์ ชัยเรือง และมะลิวัลย์ โยธารักษ์. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12(3), 126-138.

สุกัญญา พรมอารักษ์ และคณะ. (2567). องค์ประกอบองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22.

สุกัญญา พูลกสิ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและวัฒนธรรมองค์การตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Bass, Bernard M.,& Avolio, Bruce J. (1990). Transformational Leadership Development.Pola Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Burns, James MacGregor (2003). Transforming Leadership: A New Pursuit of Happiness. New York: Atlantic Monthly Press.

Denison, D. R. and Mishra, A. 2000. Toward a Theory of Organizational Culture and Effectiveness. Organizational Science. 6, 204-223