คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู ในอำเภอฉวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

สุภาวดี สการันต์
บุญส่ง ทองเอียง
พระครูวินัยธร วุฒิชัย ชยวฑโฒ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูในอำเภอฉวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ในอำเภอฉวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 211 คนกำหนดโดยใช้ตารางของเคร็จซี่และมอแกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างคู่โดยใช้วิธี LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า 1.คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด2.ครูที่มีเพศและอายุแตกต่างกันการรับรู้ในภาพรวมและรายด้านใม่แตกต่างกัน ครูที่มีระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันการรับรู้ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ3.ผู้บริหารสถานศึกษาควร 1) พัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) นำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาโดยมุ่งเน้นความสุข 3) พัฒนาตนเองให้มีภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง 4) วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมและกำหนดวิสัยทัศน์ได้อย่างเหมาะสม 5) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 6) เป็นนักบริหารเชิงกลยุทธ์ และ 7) ค้นหาวิธีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายทุกกลุ่มอย่างเป็นระบบ

Article Details

How to Cite
สการันต์ ส. ., ทองเอียง บ. ., & ชยวฑโฒ พ. ว. (2024). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู ในอำเภอฉวาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 314–329. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.42
บท
บทความวิจัย

References

กุลจิรา รักษนคร. (2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 5(3), 328-344

คมสันต์ วงษ์ชาลี. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

จินดามาศ คงชัย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร].

เฉลิมเกียรติ สุ่มเงิน และ สถิรพร เขาวน์ชัย. (2564). การศึกษาคุณลักษณะและแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2). 128 – 139

ชัยยนต์ เพาพาน. (2560). ภาวะผู้นำทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา: กระบวนทัศน์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ชิดกมล ยะสุรินทร์และคณะ (2562). คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม

ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 1(5), 35-50.

ชีวสาธน์ กิ่งแก้ว. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อขวัญในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์].

ชุติมา ศิริไพรวัน. (2561). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่].

ณัฐนันท์ แถวนาชุม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารกับการบริหารงานความร่วมมือของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันตก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

ถวิล อรัญเวศ. (2560). ผู้บริหาร กับการครองตน ครองคน และครองงาน : สุดยอดนักบริหาร. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2564). คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณนักบริหารกับการกำกับดูแลที่ดี. สูตรไพศาล.

ปิยณัฐ วงศ์เครือศร. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 11 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].

พรทิพย์ สุขเอียด. (2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่].

พระภัทรชัยญกรณ์ อูดสวย. (2565). รูปแบบการบริหารการจัดการโรงเรียนสีเขียวตามหลักสัปปายะ7

แบบมีส่วนร่วม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 1-9.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2564). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาผู้นำ. วารสารธรรมวัตร, 2(2), 19-28

มณฑาทิพย์ นามมุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

โยธิน นิลคช. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ "Graduate school conference 2018".

วงค์วะลี ยั่งยืน. (2564). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1),15-27.

วรัญญา หามา. (2562). คุณลักษณะของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครนายก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

วสันต์ บัวชุม. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].

วิภาลัย วงษา. (2563). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 9(33). 133 – 141

วิรัตน์ ไชยโคตร และคณะ. (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 26(2), 180-192.

ศรสวรรค์ บุญณกรณ์ชัย. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนทวีธาภิเศก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก].

ศรายุทธ เมืองคำ. (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี].

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.

สิรพงศ์ พงศ์เชื้อทอง และ พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2566). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 13-24.

อภิชัย พันธเสน. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการจัดการศึกษาไทย: ประเด็นปัญหาคุณภาพการศึกษา (2535-2558): รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

อิ่มทิพย์ อาจปักษา และ ชวน ภารังกูล. (2564). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.4(1). 6-15.

อิสรกร แสนปัญญา. (2561). คุณลักษณะของผู้นำสถานศึกษาโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดเทศบาลนครเชียงราย [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา].

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

National Association for the Education of Young Children. (2005). Program Administrator Definition and Competencies, An Informant to Selection of Annual Professional Development Options. http:www.rio.maricopa.edu/ci/visitors_center/education/earlychildhood/pdfs/EED_Program_Administrator_Competencies.pdf

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P.D.W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1-16