การยกระดับมาตรฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ของเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พัชรี สุเมโธกุล
มนทิรา สังข์ทอง
เมธาวัตร ภูธรภักดี
ศณัทชา ธีระชุนห์
ธนกฤต ยอดอุดม
ตรีฤกษ์ เพชรมนต์
รวิศ คำหาญพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าสินค่าและบริการ จากชุมชนเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากลของ กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์ และเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน ผู้วิจัยเก็บรวมรวมข้อมูลจากการนำเทคนิค AIC (Appreciation-Influence-Control) ในขั้นตอนการเรียนรู้ (Appreciation) มาใช้ในการระดมความคิดเห็นของชุมชน ด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ  (Work Shop)  ทั้ง 3 ขั้นตอน  คือ1. การเรียนรู้  (Appreciation)  2. การสร้างการพัฒนา  (Influence)  3. การสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control) ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านการบริหารจัดการ กลุ่มความเข้มแข็งด้านการบริหาร แต่เป็นการบริหารงานแบบเบ็ดเสร็จแบบสั่งการจากประธาน แต่สมาชิกทุกคนยินยอมและเต็มใจ (2) ด้านการฝึกอบรมยกระดับมาตรฐานของกรมการท่องเที่ยว กลุ่มสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง (3) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้ใหม่ และสร้างรายได้ให้วิสาหกิจ  (4) ด้านการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน กลุ่มสามารถสร้างเครือข่ายผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวได้ จำนวน 6 วิสาหกิจชุมชน เป็นการเกิดเครือข่ายแบบ “เครือข่ายจัดตั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนากิตติ์ ราชพิบูลย์. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และผลกระทบต่อ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.ชุมชนกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตกรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการวิจัย, 12(2), 32-48.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2544). กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม. คลังนานาวิทยา.

นวพร ประสมทอง. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 10(2), 11-24.

วรางคณา จันทร์คง. (2556). ตัวแปรในงานวิจัย.www.stou.ac.th/Schools/She/booklet

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552. ธรรมสาร.

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2559). นิยาม SMEs. http://www.ismed.or.th/นิยาม- smes/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560-2564. กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญา. (2558). คู่มือการดำเนินงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายใหม่. กรมการพัฒนาชุมชน.