ระบบการจัดการคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า : กรณีศึกษา บริษัท ซันร้อยแปด จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระบบและกลไกการรับส่งสินค้าคลัง ระบบควบคุมจัดการคลังสินค้าของธุรกิจศูนย์กระจายสินค้า (2) เพื่อหาแนวทางการประยุกต์ใช้การบริหารจัดการคลังสินค้า ธุรกิจศูนย์กระจายสินค้า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหา เก็บข้อมูลพื้นที่วิจัย คือ บริษัท ซันร้อยแปด จำกัด โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประชากรกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ดังกล่าว (1) พบว่าศูนย์กระจายสินค้า การบริหารจัดการคลังมาตรฐานคลังสินค้าแห้ง (Dry Warehouse) ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาควบคุมทุกกระบวนการ เริ่มจากการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย การควบคุมบริหารจัดการคลังสินค้า ระบบการจัดการการหยิบสินค้าหน่วยย่อยและหน่วยใหญ่ รวมถึงการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผู้ดูแลข้อมูลคำนวณรายการขายสินค้าที่จะเติมเต็มโดยคำนวณน้ำหนักในลังและการขนส่งทันในเวลา(Lead time) คุณภาพเพียงพอกับปริมาณการสั่งซื้อ เพื่อความมั่นใจต่อผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ (2) พบว่าการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ ต้องส่งเสริมระบบบริการโลจิสติกส์ ตามมาตรฐานสากลเพื่อการป้องกันความเสี่ยง การบริหารสินค้าคงคลังครอบคลุมเพื่อการเพิ่มรายได้ในระยะยาว มาตรฐานสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง การรับฟังความคิดเห็นทุกส่วนและความพึงพอใจของทุกฝ่าย กระบวนการเก็บข้อมูล ความผิดพลาดที่โปร่งใส รวดเร็วในเวลาและการรายงานต่อผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องทุกระดับสอดรับกับเป้าหมายรวมใหญ่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.(2564). “โลจิสติกส์” นิยามและความหมาย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564 จาก :https://dol.dip.go.th/en/category/2019-02-08-08-57-30/2019-07-21-16-50- 25.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ (2557) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานคลังสินค้า สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567. https://iok2u.com/article/logistics-supply-chain/lm57-information-technology-systems-in-warehouse-management
เกวลี หริจันทร์วงศ์. (2551). กรณีศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้รถขนส่งของบริษัท ABC (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จรินทร์ อาสาทรงธรรม. (2550) เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ยุคใหม่. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 31(4),8-14.
จารุภา อุ่นจางวาง. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโซ่อุปทานแบบบูรณาการ). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์ และ นวรรณ สืบสายลา. (2563). การปรับปรุงพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้าด้วยระบบระบุตำแหน่ง (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
พลอยพิม ศัลยพงษ์. (2550). การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต โดยใช้แนวคิดของการจัดการห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากผึ้ง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566. จาก https://www.nesdc.go.th.
สถาพร โอภาสานนท์.(2553). ความสัมพันธ์ของการพยากรณ์อุปสงค์และการบริหารสินค้าคงคลัง.วารสารบริหารธุรกิจ,33(128),1-6.
สิริวรรณ คงตุ้ง และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2).187-202
B. Almannai, R. Greenough, J. Kay. (2008). A decision support tool based on QFD and FMEA for the selection of manufacturing automation technologies. Robotics and Computer Integrated Manufacturing,24,501–507.
Chesbrough, H. W. (2003). The new imperative for creating and profiting from technology. Boston, MA: Harvard Business School Press.
Heragu, S.S.; Du, L.; Mantel, R. J.; and Schuur, P. C. (2005). Mathematical model for
warehouse design and product allocation. International Journal of Production.
Liu C. M., (2004).Optimal storage layout and order picking for warehousing. International Journal
of Operations Research, 1(1), 37-46.
Jame, A.T ; Jerry, D.S. (1998). The Warehouse Management Handbook; the second edition Retrieved July 16, 2021, from https://www.researchgate.net.
Rajeev Verma ; K.R. Jayasimha. (2014). Service delivery innovation architecture: An empirical study of antecedents and outcomes. IIMB Management Review,26,105-121.