การจัดการองค์กรภาครัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม

Main Article Content

จิราภรณ์ ชนัญชนะ
อำนวย บุญรัตนไมตรี
ฐิติมา โห้ลำยอง

บทคัดย่อ

จากการสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ความสำคัญของความเป็นองค์กรนวัตกรรม รวมทั้งข้อจำกัดในการจัดการองค์กรขององค์กรภาครัฐ จึงพัฒนาเป็นงานวิจัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อพรรณนาการจัดการองค์กรขององค์กรภาครัฐในปัจจุบัน (2) เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมการจัดการองค์กรขององค์กรภาครัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการองค์กรภาครัฐเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านองค์กรนวัตกรรม กลุ่มบุคลากร และกลุ่มผู้รับบริการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ

ผลการวิจัย (1) บริบทการจัดการองค์กรภาครัฐ มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ด้านนโยบาย ด้านงบประมาณ ด้านทักษะบุคลากร ด้านเทคโนโลยี และ ด้านนวัตกรรม (2) การวิเคราะห์ความพร้อมการจัดการองค์กรขององค์กรภาครัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 8 มิติ มิติที่ยังไม่มีความพร้อมซึ่งควรได้รับการพัฒนาในลำดับต้น ๆ ได้แก่ มิติด้านองค์ความรู้  และ (3) แนวทางการจัดการองค์กรภาครัฐเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 8 มิติ 58 แนวทาง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับมีการเรียงลำดับความสำคัญของการจัดการองค์กรตามจำนวนแนวทางที่ได้จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยเสนอแนวทางที่สำคัญแต่ละระดับ ระดับละ 1 มิติ ดังนี้ ระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่ การมุ่งเน้นบริการ จำนวน 6 แนวทาง ระดับสนับสนุน ได้แก่ ด้านบุคลากร จำนวน 15 แนวทาง และระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ด้านกระบวนการ จำนวน 9 แนวทาง ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการศึกษาจะได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมต่อไป

Article Details

How to Cite
ชนัญชนะ จ. ., บุญรัตนไมตรี อ., & โห้ลำยอง ฐ. (2024). การจัดการองค์กรภาครัฐสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(1), 148–162. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.11
บท
บทความวิจัย

References

จันทนา อุดม และคณะ. (2563). การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 81-90.

นัทนิชา โชติพิทยานนท์. (2564). องค์กรและการจัดการ. เอกสารประกอบการสอนวิชาองค์กรและการจัดการ MPP 5504. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2565, จาก https://elcpg.ssru.ac.th/natnicha_h

นารินี แสงสุข. (2551). การพัฒนากระบวนการองค์กรนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปัญญา เลิศไกร, นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ และลัญจกร นิลกาญจน์. (2562). การจัดการนวัตกรรมการพัฒนาองค์กร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3745-3757.

พระครูใบฎีกาวิชาญ ทรงราษี และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2564). การพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการปฏิบัติงานภาครัฐ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(3), 61-72.

วัฒนชัย ศิริญาณ, วิทยา เจริญศิร และสัญญา เคณาภูมิ. (2560). องค์กรแห่งนวัตกรรม: ทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาในศตวรรษที่ 21. Information - อินฟอร์เมชั่น, 24(2), 72-80.

ศุภวิชช์ วงษ์พลบ, พระมหาอุดร อุตฺตโร (มากดี) และปฏิธรรม สําเนียง. (2566). องค์กรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารการศึกษา. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 6(1), 131-140.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2562). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม Innovative Organization Book Of Knowledge. กรุงเทพฯ: ทริิปเปิลว้้าว คอร์์ปอเรชั่น.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2564). คู่มือผู้ประเมินศักยภาพองค์กรนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิทยาการจัดการ ทริส คอร์ปอเรชั่น.

สุภาพร เหล่าทรัพย์เจริญ. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับความเป็นองค์กรนวัตกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรเดช จองวรรณศิริ. (2563). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. กรุงเทพ: ทริปเปิลว้าว คอร์ปอเรชั่น.

Harvard Business School. (2003). Managing Creativity and Innovation. Boston: Harvard Business School Press.

Kambiz, A. & Aslan, A. (2014). Investigation on the Impact of Organizational Culture on Organization Innovation. Journal of Management Policies and Practices, 2(2), 1-10.

Kuczmarski, T. D. (2003). What is Innovation and Why aren’t Companies Doing More of it. Journal of Consumer Marketing, 20(6), 536-541.

Udom, C. et al. (2020). Organizational Transition into Innovative Organization. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(1), 81-90.