กระบวนการตัดสินใจในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะประชากรศาสตร์ แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และแนวคิดกระบวนการตัดสินใจ มาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือจังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบแคมปิ้ง และผู้ที่มาใช้บริการที่พักแบบประเภทแคมปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลแล้วนำมาเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
- ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์การเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้งเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ มีประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้งอยู่ระหว่าง 1 - 3 ปี ค้นหาจากเว็บไซต์ ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เดินทางมากับเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน งบประมาณที่คาดว่าจะใช้อยู่ระหว่าง 5,000 - 7,000 บาท สนใจกิจกรรมถ่านยรูป/พักผ่อน และปัจจัยในการเลือกจุดหมายปลายทางท่องเที่ยว ได้แก่ ความสวยงามของธรรมชาติ
- ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการการตัดสินใจในการเลือกเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดอุทัยธานี มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการแสวงหาข้อมูล ด้านการรับรู้ปัญหา ด้านการตัดสินใจซื้อ ด้านการประเมินทางเลือก และด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ ตามลำดับ
องค์ความรู้ว่าด้วยกระบวนการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแคมปป์ปิ้ง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ขั้นตอนในการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว และข้อจำกัดของการท่องเที่ยวที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการปฏิบัติต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564).โครงการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/T26966. pdf.
กัญจน์ มั่นจีระ, ฐิติมนต์ พรนิธิกุลพงศ์, มนรดา ถาวร, ศิรวีร์ เลิศรัตติพงศ์, กฤตเมธ รอดผล, ณัฐฑริกา ป้องกัน และ ภริตา บุญนำ (2564). รายงานการวิจัยเรื่อง แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในรูปแบบแคมป์ปิ้ง จังหวัดนครนายก (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฉันทนา หาญมณฑา และ สุเมธ ธุวดาราตระกูล. (2565).ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มาท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย.วารสารรัชต์ภาคย์, 16(48),321 - 330.
ชนิภรณ์ แก้วเนิน, ณัฐนรี สมิตร, และอรรถเวทย์ พฤกษ์สถาพร. (2563). พฤติกรรม การรับรู้ และทัศนคติของผู้บริโภคต่อสินค้าและการใช้บริการตามกระแสเกาหลีนิยม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (3), 277-294.
ณัฐธิดา แสงงาม. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภาคใต้ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยตนเอง กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนรัช เสมอภาค. (2564). การรับรู้สื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 73-83.
ตากะยายพากันเที่ยว. (2566). ธุรกิจท่องเที่ยวสไตล์แคมป์ปิ้งทั่วโลกจะเติบโตเป็น 1 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2569. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://camping.moresmartshop.com.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา, popticles.com (2564). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. เข้าถึงได้จาก 25 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.popticles.com/marketing/consumer-buyingprocess.
พศวีร์ โกตาเมย์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. ในสารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มยุรี เสือคำราม และคณะ. (2561). ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยทางจิตวิทยา และส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว : การสังเคราะห์งานวิจัยโดยใช้หลักการวิเคราะห์ อภิมาน. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. University of the Thai Chamber of Commerce.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ.(ม.ป.ป.).รูปแบบการท่องเที่ยว. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://tourismatbuu. wordpress.com.
ศศิพร บุญชู. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของโครงการบ้านจัดสรร ในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมหทัย จารุมิลินท. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวซ้ำในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของนักท่องเที่ยวที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ในสารนิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.
อรัญญา เกรียงไกรโชค และ กุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2562). แรงจูงใจในการเดินทางท่องเที่ยวตามลำพังของผู้หญิงชาวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(3), 122-136.
อิสระพงษ์ พลธานี และอุมาพร บุญเพชรแก้ว.(2563).ภาพลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ตที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(1), 274-300.
Kotler,P. and Keller,K. (2016). Marketing Management.15th ed. NewJersey: Pearson Education.
Marketeer Team. (2564). เเทรนด์ท่องเที่ยวปี 2566 คนไทยพร้อมเที่ยวแบบ “ตัดขาดโลกภายนอก” และกล้าที่จะ “ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซน”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://https://marketeeronline.co/archives/285608.
Schmoll, G. A. (1977). Tourism Promotion. London: Tourism International.
Tirakanan, S. (2007). Research methodology for social science: Implementation guide. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.
travel kapook. (2566,2 กรกฎาคม).ลานกางเต็นท์อุทัยธานี ใกล้ชิดธรรมชาติ เงียบสงบด้วยเสน่ห์เมืองเก่าริมแม่น้ำสะแกกรัง. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://travel.kapook.com/view263968 .html.
UNWTO. (1997). Tourism 2020 Vision. Madrid: UNWTO.
Uthayan, C. (2020). Tourists Behavior. Retrieved from https://touristbehaviour. wordpress.com