การบริหารจัดการหนี้สินภาคครัวเรือนภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พัชราภา สิงห์ธนสาร
ลักษมี งามมีศรี
มานิตย์ สิงห์ทองชัย
วิไลลักษณา สร้อยคีรี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาภาวะหนี้สินภาคครัวเรือน 2) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการหนี้สินภาคครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตามแนวคิดการบริหารหนี้ส่วนบุคคล แนวคิดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริโภคแบบรายได้ถาวรในวงจรชีวิตเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มฯ จำนวน  24 ราย โดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่ได้มีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม โดยวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติเชิงพรรนณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของกลุ่มวิสาหกิจอยู่ในระดับมาก (X̅  = 3.43, S.D. =0.439) และการบริหารจัดการหนี้สินของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ อยู่ในระดับมาก (X̅  = 3.75, S.D. =0.672) 2) กระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการหนี้สิน เน้นการสร้างองค์ความรู้เศรษฐกิจหมุนเวียนและวินัยทางการเงินให้กับสมาชิก โดยการแก้ไขปัญหาหนี้สะสมที่ได้เป็นวงจรหนึ่งซึ่งจะนำพาไปสู่วงจรกับดักสภาพหนี้และส่งผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ใช้นโยบายการชะลอหนี้สิน การปรับโครงสร้างหนี้ 3) กลุ่มเกษตรกรมีความคาดหวังในการต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากภาครัฐจากปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัว โดยเฉพาะปัญหาเรื่องหนี้สิน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาหลักที่เกิดจากกระบวนการการเกษตร แต่เป็นปัญหาที่ทำให้การดำเนินโครงการไปสู่การแก้ปัญหาแบบยั่งยืนไม่ประสบผลสำเร็จ
องค์ความรู้ ได้แก่ กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจแบบมีส่วนร่วมนำไปสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับวงจรการผลิตสามารถเปลี่ยนระบบการผลิตจากการทำเกษตรเคมี เป็นการทำเกษตรปลอดภัยให้คุณภาพชีวิตหรือสุขภาพดี ผ่านกลไกการขับเคลื่อนจากสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจขนาดเล็กสู่การเป็นต้นแบบสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจขนาดใหญ่ขึ้น

 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวิน มุสิกา สุชนนี เมธิโยธิน และบรรพต วิรุณราช. (2562). แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทย.

วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 7(1), 111-125.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). รายงานการประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร. กรุงเทพฯ:

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการ

พัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569.

กันย์กัญญา ใจการวงค์สกุล และเทพ วงศ์สุภา. (2560). สถานการณ์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กับปัญหา หนี้สินครัวเรือนของประชาชน ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา.

วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 6(1), 21-52.

คัคนางค์ จันทร์ศร.(2564). แนวทางการบริหารจัดการศักยภาพการชำระหนี้คืนของเกษตรกรสมาชิก

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์. หลักสูตร หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). ธนาคารแห่งประเทศไทยกับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน.

สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Report/

Pages/AnnualReport2018_box04.aspx.

พิสัณฑ์ โบว์สุวรรณ, ภคมน โภคะธีรกุล, วรสิทธิ์ เจริญพุฒและเชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์. (2565).

ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย.วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 265-277.

มานิตย์ สิงห์ทองชัย. (2565).ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานภายใต้

หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนของอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรม

การศึกษาและการวิจัย, 6(1), 278-295.

มานิตย์ สิงห์ทองชัยและรติมา ภูริรุ่งภิญโญ. (2557). การบริหารจัดการหนี้สินภาคครัวเรือนตาม

แนวทางเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น: รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4

Rethink: Social Development for Sustainability in ASEAN Community, วันที่ 11-13 มิถุนายน

ยินดี ชาญณรงค์ วราภรณ์ เทพสมัฤทธิ์พร และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหาร

จัดการสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14(12), 42-70.

รัชฎาภรณ์ บุตรคำโชติ. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของโครงการบริหารจัดการหนี้ไปสู่ 1 ครัวเรือน

สัญญาศูนย์จัดการกองทุนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย.

วรรณภา วงศ์สวรรค์ และคณะ. (2559). แนวทางการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินสะสมของเกษตรกรลูกค้า

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัด สุโขทัย. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ด้าน“การวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน” ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2559: 343-350.

ศศิมา วงษ์เสรี.(2565). สถานการณ์หนี้สาธารณะและหนี้ภาคครัวเรือนไทย. วิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ :

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน).

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์. (2565). ครัวเรือนเกษตรไทยในวิกฤติโควิด-19. สืบค้นเมื่อ

มิถุนายน 2566, จาก https://www.pier.or.th/abridged/2020/11/.

สิทธาภรณ์ ตู้จินดา. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ครัวเรือนในสถานการณ์ COVID-19

กรณีศึกษาอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2566, จาก https://www.nso.go.th/.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2563). รายงานภาวะอุตสาหกรรมรายปี ประจำปี 2563. สืบค้น

เมื่อ 28 กรกฎาคม 2565, เว็บไซต์:https://packaging.oie.go.th/new/admin_control_new/html-

demo/analysis_file/9784026135.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2558). บทบาทของกระทรวงการคลังกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาค

ครัวเรือนและหนี้นอกระบบ. วารสารการเงินการคลัง, 2(84), 63-68.

สุริยะ หาญพิชัย, เฉลิมพล จตุพร, และวสุ สุวรรณวิหคม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลตอหนี้สิน

ครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี. Journal of Modern Learning Development, 5(5), 309-320.

โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, ณรงค์ฤทธิ์ อดุลย์ฐานานุศักดิ์, อัจจนา ล่ำซำ, ลัทธพร รัตนวรารักษ์, บุญ

ธิดา เสงี่ยมเนตร และชนกานต์ ฤทธินนท์. (2563). ครัวเรือนเกษตรกรไทยใน วิกฤติโควิด-19.

สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จากhttps://www.pier.or.th/wpcontent/uploads/2020/05/

aBRIDGEd_2020_011.pdf.

อารีวรรณ คูสันเทียะ. (2562). หนี้สินเกษตรกร ควรแก้จากจุดไหน วินัยทางการเงินหรือปัญหา

เชิงโครงสร้าง. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565, จาก https://www.landactionthai.org/menu-debt/item/ 2380-2019-06-09-06-31-51.html

Bag, S., & Pretorius, J. H. C. (2020). Relationships between industries 4.0, sustainable

manufacturing and circular economy: proposal of a research framework. International Journal of Organizational Analysis.

Del Giudice, M., Chierici, R., Mazzucchelli, A., & Fiano, F. (2020). Supply chain management in the

era of circular economy: the moderating effect of big data. The International Journal of Logistics Management.

Zeng, H., Chen, X., Xiao, X. and Zhou, Z. (2017), “Institutional pressures, sustainable

supply chain management, and circular economy capability: empirical evidence from Chinese eco-industrial park firms”, Journal of Cleaner Production, 155, 54-65.