เครื่องมือทางการคลังกับการจัดการสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน

Main Article Content

สุรสีห์ บัวจันทร์
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการศึกษาเครื่องมือทางการคลังที่ใช้ในสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินภายใต้กรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องในบริบทของประเทศไทย และศึกษาการใช้เครื่องมือทางการคลัง ผ่านกรณีศึกษาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ทั้งนี้ การจัดการสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการจัดการจำนวนมาก ดังนั้น เครื่องมือทางการคลังจึงเป็นหัวใจสำคัญของรัฐบาล ซึ่งภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดเครื่องมือทางการคลังที่ใช้ในสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน 4 ประการ ได้แก่ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพิ่มติม พระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณ และพระราชกำหนดกู้เงิน โดยเครื่องมือแต่ละประการมีลักษณะเฉพาะที่ถูกนำมาใช้ในระยะของการบริหารจัดการสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เป็นการฉายภาพการใช้เครื่องมือทางการคลังภายใต้สถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินของประเทศที่เกิดขึ้นจริง โดยรัฐบาลใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางและงบประมาณเงินกู้เป็นเครื่องมือหลัก ซึ่งมีโครงสร้าง กลไก และกระบวนการตัดสินใจที่มีลักษณะเป็นสายบังคับบัญชาและรวมศูนย์ ทั้งนี้ บทความได้ฉายภาพสะท้อนปัจจัยแห่งความสำเร็จและข้อจำกัดที่เกิดขึ้น และนำไปสู่ข้อเสนอในการพัฒนาการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือทางการคลังให้พร้อมและสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562, 29 กุมภาพันธ์). ประกาศกระทรวง เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563.

คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2565). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2564 – 2570. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2563 เรื่อง กำรจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 69 ง หน้า 6-9.

ทวิดา กมลเวชช. (2564). รัฐ ท้องถิ่น ต้นทางแห่งอำนาจและปลายทางของศักยภาพ การจัดการวิกฤตพื้นที่เสี่ยงภัย. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548. (2548, 2 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนที่ 12 ก หน้า 1-19.

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2548, 16 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนที่ 58 ก หน้า 1-9.

พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟููเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรััสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563. (2563, 19 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 30 ก หน้า 1-5.

พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรััสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564. (2564, 25 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนที่ 34 ก หน้า 1-4.

พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550. (2550, 7 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 52 ก หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. (2561, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 92 ก หน้า 1-18.

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. (2561, 17 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 71 ก หน้า 1-177.

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. (2563, 26 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 15 ก หน้า 1-166.

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. (2563, 7 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 82 ก หน้า 1-195.

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. (2564, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนที่ 62 ก หน้า 1-207.

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. (2565, 19 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนที่ 57 ก หน้า 1-265.

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561. (2561, 19 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 27 ก หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561. (2561, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 92 ก หน้า 1-18.

พระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563. (2563, 20 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 57 ก หน้า 1-88.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1-90.

วรพงษ์ แพรม่วง. (2564). งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น. [Online]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566 จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript-rr2564-jan1.

สำนักงบประมาณ. (2562, 25 กันยายน). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินจำเป็น พ.ศ. 2562. [Online]. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/ita/20230410-Regulations-expenditures-2562.pdf.

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2565, มกราคม). การติดตามการอนุมัติโครงการภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา Covid-19. [Online]. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2566 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=1089.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). อินโฟกราฟิก เรื่อง กระบวนการตราพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. [Online].https://library.parliament.go.th/th/infographic/2020-07-01-02.

อังสุมาลี ผลภาค และคณะ. (2566). การเงินการคลังสุขภาพเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในประเทศไทย. [Online].https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2023/05/Financing-Covid19_Single.pdf.

iLaw. (2563, 19 เมษายน). พ.ร.ก. กู้เงินฯ: ช่องทางหาเงินพิเศษของรัฐบาลที่ต้องจับตา. [Online]. https://ilaw.or.th/node/5614.

iLaw. (2564, 9 กรกฎาคม). “ศบค.” คืออะไร? เปิดโครงสร้างและรายชื่อบุคคลเบื้องหลัง. https://www.ilaw.or.th/node/5908.

Drabek, Thomas E. (1996). The Social Dimensions of Disaster (FEMA Emergency Management Higher Education Project College Course Instructor Guide). Emmitsburg, MD: Emergency Management Institute.

Dykstra, Eelco H. (2003). Toward an International System Model in Emergency Management. www.riskinstitute.org.

Federal Emergency Management Agency. (2017). National Incident Management System. https://www.fema.gov/emergency-managers/nims.

Haddow, George D. and Bullock, Jane A. (2003). Introduction to Emergency Management. New York: Butterworth Heinemann.

McLoughlin, David. (1985). A Framework for Integrated Emergency Management. Public Administration Review, Special Issue, 165-172.

Petak, William J. (1985). Emergency Management: A Challenge for Public Administration. Public Administration Review, Special Issue,

-7.

Porfiriev, Boris N. (1995). Disaster and Disaster Areas: Methodological Issues of Definition and Delineation. International Journal of Mass Emergencies and Disasters, 3 (November), 285-304.

Pursiainen, Christer. (2018). The Crisis Management Cycle. New York: Routledge.