คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมนำเข้าเคมีอาหารในพื้นที่บางบอน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)เปรียบเทียบประสิทธิภาพของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2)คุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมนำเข้าเคมีอาหารในพื้นที่บางบอน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานขนส่งและโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมนำเข้าเคมีอาหารพื้นที่บางบอน กรุงเทพมหานคร จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test , F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า1)เปรียบเทียบประสิทธิภาพของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีปัจจัยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและประสบการณ์การทำงานด้านขนส่งต่างกัน มีประสิทธิภาพของพนักงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานที่มีปัจจัยด้านอายุและระดับการศึกษาต่างกัน มีประสิทธิภาพของพนักงานที่ไม่แตกต่างกัน และ 2)คุณภาพการให้บริการมีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมนำเข้าเคมีอาหารในพื้นที่บางบอน กรุงเทพมหานคร เรียงตามลำดับดังนี้ ความน่าเชื่อถือ (=0.266) การตอบสนองความต้องการ (=0.261) ความมั่นใจ (=0.199) และความดูแลเอาใจใส่ (=0.195) ร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพของพนักงานธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมนำเข้าเคมีอาหารในพื้นที่บางบอน กรุงเทพมหานคร โดยมีค่าพยากรณ์ร้อยละ 48.30 (R Square=0.483)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนาคารออมสิน. (2566). อุตสาหกรรมโลจิสติกส์.จาก. https://www.gsbresearch.or.th.
นวรัตน์ เพชรพรหม. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บัญชา อุดง, พิชัย ลัทธศักดิ์ศิริ, อนิรุทธ์ ผ่องแผ้ว, พิชัย ทรัพย์เกิด และทรงพล ลพนานุสรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริการในเชิงพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(43), 304-314.
ปุณิกา มโนรมย์ และธัญนันท์ บุญอยู่. (2564). การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 16(1), 125-138.
ภักดี มะนะเวศ. (2563). ปัจจัยส่วนบุคคล ความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(1), 17-28.
สาวิตรา สุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เสาวลักษณ์ ดีมั่น. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
อภิทิพย์ เรืองพรวิสุทธ์. (2562). อิทธิพลของตัวแปรกำกับและตัวแปรคั่นกลางที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ในเขตอ่าวประจวบ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อุตสาหกรรมนำเข้าเคมีอาหารในพื้นที่บางบอน กรุงเทพมหานคร. (2566). จำนวนทรัพยากรบุคคลประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: ฝ่ายทรัพยากรบุคคล.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Cronbach, L. J., & Meehl, P. E. (1955). Construct validity in psychological tests. Psychological Bulletin, 52(4), 281-302.
Jarah, B. A. F., Zaqeeba, N., Mefleh, M. F., Badarin, A. M., & Almatarneh, Z. (2023). The mediating effect of the internal control system on the relationship between the accounting information system and employee performance in Jordan Islamic Banks. Economies, 77(11), 1-18.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 1-55.
Nair, G. (2016). Impact of service quality on business performance in hospitality industries: An empirical study. Journal of Tourism, Hospitality and Sports, 17(1), 10-28.
Ojo, A. A. (2021). Role of service quality on organizational performance among telecommunication employees in Southwestern states in Nigeria. Psychocentrum Review, 3(2), 198-205.
Ramanus, S., & Boonyoo, T. (2020). The structural influence of factors affecting the success of Thailand transportation and logistics business. Academy of Strategic Management Journal, 19(6), 1-9.
Singh, K. (2016). Influence of internal service quality on job performance: A case study of royal police department. Social and Behavioral Sciences, 224(15), 28-34.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.