การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วณิชยา นุ่มน้อย
รังรอง สมมิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวคิดพหุสัมผัสเพื่อส่งเสริมความสามารถในด้านการอ่านและเขียนสำหรับเด็กและเพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดพหุสัมผัสก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนจิตรลดากรุงเทพมหานครจำนวน 28 คน ศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ดำเนินกิจกรรมโดยใช้แผนกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 16 แผน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสามารถในด้านการอ่านและเขียนของเด็ก แบบสังเกตความสามารถในด้านการอ่านและเขียนสำหรับเด็กและชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กโดยใช้แนวคิดพหุสัมผัส วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำในการทดสอบเพื่อวิเคราะห์ตัวแปรความสามารถในด้านการอ่านและเขียน
ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวคิดพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถในด้านการอ่านและการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถในด้านการอ่านและการเขียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ความสามารถในด้านการอ่านและการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แนวคิดพหุสัมผัส พบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถในด้านการอ่านและการเขียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
นุ่มน้อย ว. ., & สมมิตร ร. . (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดพหุสัมผัส เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 221–235. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.36
บท
บทความวิจัย

References

คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน. (2564). คู่มือพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยการ อ่าน หนังสือฝึกอ่านตามระดับความสามารถและหนังสือ

ภาพสำหรับเด็ก. แปลน พริ้นท์ติ้ง.

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐธยาน์ เชาว์เฉลิมกุล. (2554). การศึกษาความสามารถเขียนพยัญชนะไทย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความพบพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย จากการสอนที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านร่วมกับการใช้สีเป็นรหัส. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). เพราะอะไรจึงไม่ควรส่งเด็กไปเรียนหนังสือก่อน 7 ขวบ. https://thepotential.org/knowledge/ef-education01

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. แม็ค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

ประเทศไทย.

อารี สัณหฉวี. (2550). สอนภาษาไทยแนวสมดุลภาษา (ชั้นอนุบาล 1-ประถมปีที่ 6). สมาคมเพื่อการศึกษาเด็ก.

Davis, Judy. (2001). A sensory approach to the curriculum: For pupils with profound and multiple learning difficulties. David Fulton.

Educational Playcare. (2016, August 22). Why sensory play is important for development.

https://www.educationalplaycare.com/blog/sensory-play-important-development/

Vukelich, Carol, & Christie, James. (2004). Building a foundation for preschool literacy: Effective instruction for children's reading and writing development. International Reading Association.