กระบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในการผลักดันนโยบาย เกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศไทย พ.ศ. 2557-2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างโอกาสทางการเมืองที่เอื้อให้เกิดนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน กระบวนการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งศึกษาตัวแสดงต่าง ๆ และปฏิสัมพันธ์ในการกำหนดนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2564 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างโอกาสทางการเมืองที่เอื้อให้เกิดนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2564 เกิดจากอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และในฐานะนายกรัฐมนตรีคนเดียว ประกอบกับโครงสร้างของสภาที่สมาชิกวุฒิสภา 250 คน ที่ส่งผลให้รัฐบาลมีเสถียรภาพสูงมากขึ้นในกระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืน ตัวแสดงที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบไปด้วยตัวแสดงนอกภาครัฐ คือ สำนักงานโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) และตัวแสดงฝ่ายรัฐ คือ คณะรัฐมนตรีในฐานะรัฐบาล โดยความสัมพันธ์ในการกำหนดนโยบายระหว่างตัวแสดงดังกล่าว เป็นไปในรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริบทเชิงโครงสร้างทางการเมืองและบริบทเชิงโครงสร้างทางกฎหมาย
ที่จะต้องจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงยังเป็นไปในลักษณะของการเรียกร้อง การกดดัน และยอมตามข้อเรียกร้อง และเมื่อยุทธศาสตร์ชาติมีผลใช้บังคับแล้วจะต้องมีการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติด้วยการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำไปปฏิบัติด้วยการจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการด้านเกษตรกรรมยั่งยืนไปปฏิบัติทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในแผนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์. (2560). พลวัตกรอบความคิดและการเคลื่อนไหวของขบวนการแพทย์ชนบท: ความขัดแย้งและการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดชา ศิริภัทร. (2551). เส้นทางเกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. เชียงใหม่: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์. (2555). การเมืองของกระบวนการกำหนดนโยบายโฉนดชุมชน (วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2544). กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย: บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ. 2475-2530. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
วิเชียร เส้นทอง. (2557). ศึกษากลุ่มอำนาจ กลุ่มการเมือง กลุ่มกดดัน กลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์: กรณีศึกษาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการเลือกตั้ง. วารสารสารสนเทศ, 13(2),39-53.
สมคิด พุทธศรี. (2565). ตั้งหลักใหม่ภาคเกษตรไทย: เกษตรกรไทยพร้อมปรับตัวมากกว่าที่รัฐคิด-วิษณุ อรรถวานิช. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2566, จาก https://www.the101.world/witsanu-attavanich-the-great-reset-interview/
สมชัย ภัทรธนานันท์. (2559). ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง. นนทบุรี: อินทนิล.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (ม.ป.ป.). เกษตรกรรม ทางเลือก ทางรอด. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/agriculture-alternative-way-of-survival
สุรพงษ์ ปราบปราม และโชติ บดีรัฐ. (2565). การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย. Journal of Modern Learning Development, 7 (11), 529-537.
สุรพล ราชภัณฑารักษ์. (2539). พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ (Political Parties and Interest Groups) (PS 215). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อนุสรณ์ อุณโณ. (2546). ขบวนการเกษตรกรรมยั่งยืนในสังคมไทยและการเมืองของงานเขียนเกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ฝ่ายสนับสนุนและประสานงานวิจัยมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย).
เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์. (2556). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ขบวนการและขบวนการโต้กลับ: งานวิชาการตามจารีตการศึกษาแบบขบวนการทางสังคมและการเมืองในระดับสากล. วารสารทางสังคมศาสตร์, 9(2), 7-60.