มูลค่าทางเศรษฐกิจและการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนให้อนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเขาหน่อ – เขาแก้ว ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาท่องเที่ยวเขาหน่อ-เขาแก้ว ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้และไม่ใช้ของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเขาหน่อ-เขาแก้ว ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อประเมินผลการสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเขาหน่อ-เขาแก้ว ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน และกลุ่มผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบและวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและวิธีประมาณการตามตัวแบบโลจิตและโพบิตรวมถึงการวิเคราะห์ความเต็มใจที่จะจ่าย
ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ด้วยวิธีต้นทุนการเดินทางที่ใช้สำหรับการประมาณการผลประโยชน์ของการท่องเที่ยวรอบบริเวณเขาหน่อ-เขาแก้ว อยู่ที่ประมาณ 8,910,000 บาทต่อปี และการวิเคราะห์ด้วยวิธีวิธีการประเมินค่าโดยการสัมภาษณ์ชุมชนโดยตรง ซึ่งใช้สำหรับการประเมินมูลค่าการใช้และไม่ใช้ทรัพยากรรอบบริเวณแหล่งท่องเที่ยวเขาหน่อ-เขาแก้ว มีมูลค่าประมาณ 1,480,000 บาทและ 127 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นมูลค่ารวมของเศรษฐกิจของพื้นที่รอบแหล่งท่องเที่ยวเขาหน่อ-เขาแก้ว เป็น 129,160,000 บาทต่อปี เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่าผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน โดยได้คะแนนเพิ่มขึ้นระหว่าง 3.00 – 8.00 แสดงให้เห็นว่าการอบรมครั้งนี้ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเขาหน่อ – เขาแก้ว ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจ/มีความสนใจและตระหนักถึงคุณค่าและหวงแหนทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปิยะพงศ์ ภูมิประพันธ์. (2552). การประเมินความเต็มใจจะจ่ายโครงการแก้มลิงทุ่งทะเลหลวง จังหวัดสุโขทัย [การค้นคว้าแบบอิสระ]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทรกันย์ นาคะวรพันธุ์. (2556). การประเมินมูลค่าแนวปะการังบริเวณเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วนิดา รัตนพันธุ์, โสมสกาว เพชรานนท์ และสุวรรณา ประณีตวตกุล. (2547). การประเมินมูลค่าประโยชน์ด้านนันทนาการของพื้นที่ถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(1-2), 49-59.
วนิดา รัตนพันธุ์, โสมสกาว เพชรานนท์ และสุวรรณา ประณีตวตกุล. (2547). การประเมินมูลค่าประโยชน์ด้านนันทนาการของพื้นที่ถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(1-2), 49-59.
สำนักทะเบียนราษฎ์จังหวัดนครสวรรค์. (2560). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนครสวรรค์ กระทรวงสาธารณสุข. http://bie.moph.go.th/bie/region3/contents/download/72
สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านแดน.(2559). ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเขาหน่อ-เขาแก้ว. http://www.ban- dan.go.th/home
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2551). การประเมินมูลค่าสิ่งแวดล้อม: คืออะไร ทําอย่างไร และทําเพื่อ ใคร. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์. 16(4). 55-58.
อุดมศกัดิ์ ศีลประชาวงศ์. (2556). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรสิ่งแวดลอ้ม.พี. เอ.ลีฟวิ่ง.