การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ปุญชรัสมิ์ โตสัมพันธ์
ทนง ทองภูเบศร์
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดคุณลักษณะผู้บริหารอันพึงประสงค์ การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารอันพึงประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายในการพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยในสังกัด ด้านบุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ ความรู้ความสามารถทางการบริหาร และ คุณธรรมและจริยธรรม เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร จำนวน 415 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบชั้นภูมิ จำแนกตามมหาวิทยาลัย ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสถิติความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21  ประกอบด้วย บุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ ความรู้ความสามารถทางการบริหาร และคุณธรรมและจริยธรรม และ 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบของตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ค่าไค - แสควร์ (χ2) = 125.825 ค่าองศาอิสระ (df) = 102 ค่านัยสำคัญทางสถิติ  (P-value) = 0.055 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 0.994 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) = 0.971 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.940 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.024

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพวรรณ ล้วนปสิทธิ์สกุล. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับเป้าหมาย การศึกษาของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. [มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย].

บุญมา แพ่งศรีสาร. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 2(2), 131-141

พรทิพย์ สุขเอียด. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562.http://www.ratchakitcha.soc.go.th

วันทิตา โพธิสาร. (2563). การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(1).127-138

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 .www.casjournal.cas.ac.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Horth, D., & Buchner, D. (2014). Innovation leadership: How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results. BNCC.