การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันองค์การแห่งการเรียนรู้ในแบบปกติใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Main Article Content

รัฐจักรพล สามทองก่ำ
ทนง ทองภูเบศร์
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ในแบบปรกติใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบชั้นภูมิ จำแนกตามมหาวิทยาลัย และสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า1) องค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ในแบบปรกติใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้หรือพลวัตการเรียนรู้ ภาวะผู้นำของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และวัฒนธรรมองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ในแบบปรกติใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ค่าไค-สแควร์ (χ2)=146.852ค่าองศาอิสระ(df)=131 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value)=0.163ค่าดัชนีวัความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์(CFI)=0.999ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง(GFI)=0.970ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว(AGFI)=0.938ค่าดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ(RMR)=0.011และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์(RMSEA)เท่ากับ 0.017

Article Details

How to Cite
สามทองก่ำ ร., ทองภูเบศร์ ท. ., & พัฒนกุลชัย ว. . (2024). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันองค์การแห่งการเรียนรู้ในแบบปกติใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล . วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 6(2), 205–220. https://doi.org/10.14456/jappm.2024.35
บท
บทความวิจัย

References

ธีรพันธ์ เชิญรัมย์. (2563). องค์การแห่งการเรียนรู้: การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. วารสารวิจัยวิชาการ, 3(1), 185-196.

นฤมล จิตรเอื้อ. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศิลปากร. 10(2). 1738-1754.

ภัททิยา โสมภีร์. (2562). การพัฒนาบุคลากรกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารการ

บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1). 511-524.

วรพล วรพันธ์. (2560). แนวทางการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้. http://www.dsdw2016.dsdw.go.th.

Alonazi, Wadi B. (2021). Building learning organizational culture during COVID-19 outbreak: A national study. BMC Health Services

Research, 21, Article 422.

Ekambaram, A., Sorensen, A. O., Bull-Berg, H., Olssen, N. O. E. (2018). The Role of Big Data and Knowledge Management in Improving

Projects and Project-Based Organizations. Procedia Computer Science, 138, 851-858.

Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: Mastering the 5 elements for corporate learning. Davies-Black

Ni, Z-J., Rong, L., Wang, N., Cao, S. (2019). Knowledge Model for Emergency Response Based on Contingency Planning System of China.

International Journal of Information Management, 46, 10-22

Ranf, D. E., & Gorski, H. (2019). Macroeconomic analysis of military organizations. Revista Economica, 71(3), 84-90.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. Doubleday.