นวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านอาหาร จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพรรณนาบริบทการจัดการเชิงกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร จังหวัดเพชรบุรี 2)เพื่อระบุปัญหาการจัดการเชิงกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร จังหวัดเพชรบุรี 3)เพื่อเสนอรูปแบบนวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ ตัวแทนชุมชน และนักท่องเที่ยว การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัยพบว่า 1)บริบทการจัดการเชิงกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร จังหวัดเพชรบุรี มีอาหารท้องถิ่นมีเอกลักษณ์ มีมรดกทางวัฒนธรรมอาหาร จึงเป็นการสร้างโอกาสให้กับการค้าและการท่องเที่ยวของจังหวัด 2)ปัญหาการจัดการเชิงกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร จังหวัดเพชรบุรี พบว่าขาดการสร้างความร่วมมือของหน่วยงาน ข้อมูลด้านสารสนเทศ การสร้างการรับรู้ รวมถึงการประเมินผลและการติดตามผลการดำเนินงาน 3)รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ประกอบด้วย (1)มีกลยุทธ์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหาร (2)การบูรณาการของหน่วยงานแต่ละภาคส่วน และ (3)การสนับสนุนจากรัฐ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา.(2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
พฤฒิยาพร มณีรัตน์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2565). ปัจจัยด้านคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวในชุมชนย่านเมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 687–703.
ลภัสรดา สหัสสพาศน์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์จังหวัดเพชรบุรีตามบริบทสังคมประเทศไทย 4.0. วารสาร Veridien E-journal. 11(2) , 1056-107
ภูริ ชุณห์ขจร. (2560). ยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสeหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ.
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 321- 332.
วัันเพ็็ญ มัังศรี. (2565). เพชรบุุรีีเครืือข่่ายเมืืองสร้้างสรรค์์ของยููเนสโก.วารสารรััฏฐาภิิรัักษ์, 64(1), 85-99
วิภาดา มุกดา,ราเชนทร์ บุญลอยสง และสรินยา สมบุญ . (2563).การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวชายแดนของจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 14(1), 75-91.
สำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์, (2563). แผนปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2563 – 2565. จาก https://www.cea.or.th/storage/app/media/.pdf
สาโรช เผือกบัวขาว , เฉลียว บุรีภักดี .(2561). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน อำเภอ
ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.วารสาร Veridien E-journal. 11(2) , 1672- 1684
สุปรียา ภูผาลา และ จารุวรรณ แดงบุบผา. (2565). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยชุมชนในประเทศไทย.วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 8(1), 286–304
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน. (2565). เส้นทางกว่าจะเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (The UNESCO Creative Cities Network-UCCN) ขององค์การยูเนสโก. จาก https://www.dasta.or.th/th/article/732.
Khonkumkard, R. (2013). Strategic management for hospitality business of frontier tourism at Nakhon Phanom provience in ASEAN Economic Community (AEC) context for sustainable tourism development. Master’s dissertation, Khon KaenUniversity, Khon Kaen, Thailand.
Perce, A. John and Robinson, Richard, B, Jr. (2009.) Formulation, Implementation, and Control of Competitive Strategy. 11th ed. New York: McGraw-Hill
Pitts, Robert A. and Lei, David. (2000). Strategic Management: Building and Sustaining Competitive Advantage. 2nd U.S.A.: South-Western Publishing